การบริหารจัดการแผนงาน/โครงการ ตามยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
การบริหารจัดการแผนงาน/โครงการ ตามยุทธศาสตร์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ปีงบ 2568
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง สป.สธ.2565-69
หลักการสำคัญในการจัดทำกรอบอัตรากำลัง ปี พ.ศ. 2565 – 2569 จึงมีการปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับภาระงานที่จะเกิดขึ้นในปี 2569 ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน และชมรมวิชาชีพต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วนร่วมในการจัดทำภาระงานและวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง ปี พ.ศ. 2565 – 2569 มีการใช้เกณฑ์บุคลากรต่อประชากรตามพระราชบัญญัติปฐมภูมิ เพื่อมุ่งเน้นเป้าหมายรองรับความต้องการบริการที่สูงขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้บริการปฐมภูมิและการมุ่งการพัฒนาบริการที่เป็นเลิศ และเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาของ Service plan ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงาน Service Plan โดยพิจารณาจากจำนวนบุคลากรที่มีอยู่เมื่อเทียบกับกรอบอัตรากำลังเดิม (ปี 2560-2564) และความสามารถในการผลิตบุคลากร (production capadty) จึงได้ผลการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง ปี พ.ศ.2565 – 2569 จัดสรรให้เขตสุขภาพได้บริหารจัดการในภาพรวมของเขตสุขภาพ
ความท้าทายในการจัดทำกรอบอัตรากำลังปี พ.ศ. 2565 – 2569
- ความต้องการด้านสุขภาพที่สูงขึ้น (Increase health need) จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากรไทยและการเปลี่ยนแปลงบริบทอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนและการจัดระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธาธารณสุข
- การสร้างความเข้มแข็งของระบบริการปฐมภูมิ (Primary care strengthening) ให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ
- การสร้างความเข้มแข็งสู่ระบบริการที่เป็นเลิศ (Excellent services) โดยการพัฒนา Service plan เพื่อสู่การเป็น excellent center ร่วมกับการใช้การแพทย์ทางไกล ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการใช้ดีจิทัลทางการแพทย์
การใช้งานระบบ Health Wallet
ประชุมชี้แจงการใช้งานระบบ Health Wallet
ในวันที่ 10 เมษายน 2568 เวลา 13.30 – 16.30 น.
ผ่านระบบออนไลน์ Webex Meeting
สปสช.เขต ชี้แจง Home Ward 68
การประชุมชี้แจงและทบทวนหลักเกณฑ์แนวทาง การประมวลผลข้อมูล
เงื่อนไขการเรียกเวชระเบียนเพื่อตรวจสอบหลังการจ่ายชดเชย
กรณีบริการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน
วันที่ 9 เมษายน 2568 เวลา 13.30-16.30 น.
ประกาศบริการแพทย์แผนไทย68
ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีบริการการแพทย์แผนไทยและการแพย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๘
ข้อ ๖ การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกต้องเป็นการให้บริการ ดังต่อไปนี้
- (๑) บริการการแพทย์แผนไทย ได้แก่
- (ก) บริการนวด
- (ข) บริการประคบ
- (ค) บริการนวดและประคบ
- (ง) บริการอบสมุนไพร
- (จ) บริการพอกเข่า
- (ฉ) การฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอด ตามแนวเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทย
- (ช) การใช้ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
- (๒) บริการการแพทย์ทางเลือก ได้แก่ บริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้าในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
แนวทางการปฏิบัติงาน (Guidelines) ด้านห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขของหน่วยบริการปฐมภูมิ
แนวทางการปฏิบัติงาน (Guidelines) ด้านห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขของหน่วยบริการปฐมภูมิฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการให้บริการด้านห้องปฏิบัติการในหน่วยบริการปฐมภูมิทั่วประเทศ โดยมุ่งเน้นให้หน่วยบริการสามารถดำเนินงานสอดคล้องกับ คูมือมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2568-2570 ซึ่งเป็นกรอบแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขระดับปรมภูมิของประเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวทางการปฏิบัตินี้จะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกระดับในการพัฒนาระบบห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขของหน่วยบริการปฐมภูมิและช่วยส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนใด้อย่างยืน
คู่มือมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิ พ.ศ.2568-70
คุณภาพการให้บริการเป็นการตอบสนองความต้องการ บนพื้นฐานความคาดหวังของผู้รับบริการอันประกอบไปด้วยเกณฑ์ต่างๆ หลายประการ อาทิ ความเชื่อมันไว้วางใจ การเข้าถึงบริการ การสื่อสารอย่างมิตรไมตรี ความมั่นคงปลอดภัย เป็นต้น การให้บริการสุขภาพปรมภูมิ มีความเชื่อมโยงกับการดูแลสุขภาพเป็นองค์รวม ต่อเนื่อง ผสมผสาน มุ่งเน้นการป้องกัน ส่งเสริม การสร้างองค์ความรู้ในการสร้างสุขภาวะทั้งของบุคคล ครอบครัว ชุมชน และผู้ป่วย โดยอาศัยพื้นฐานหรือบริบทเดิมแห่งการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมพื้นถิ่น การให้บริการสุขภาพปฐมภูมิจึงมีความละเอียดอ่อนที่มีมิติแห่งการดูแลสุขภาพมากกว่าการรักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียว
เกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นเครื่องมือหรือแนวทางที่กำหนดไว้เพื่อให้หน่วยบริการปฐมภูมิทุกสังกัด นำไปปรับใช้ในการพัฒนาการให้บริการของหน่วยบริการให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงมีหน้าที่จัดทำแผนงานในการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ ที่สอดคล้องกับลักษณะของผู้รับบริการที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการปฐมภูมิทกสังกัดนั้น โดยระบไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิและคุณภาพ มาตาตรฐานของหน่วยบริการฯ ในที่สุด
คู่มือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการอ้างอิงตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2555 และหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 รวมถึงหนังสือเวียนต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง
กรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยงานกลางในการเบิกจ่ายเงินของแผ่นดิน ซึ่งมีอีกภารกิจที่สาคัญคือ การดูแลบุคลากรภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานราชการที่เป็นกำลังสาคัญในการขับเคลื่อนระบบราชการให้มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับฐานะ ไม่เดือดร้อนจากการรับราชการ มีความมั่นคงในชีวิต และหากเจ็บป่วย ทางราชการก็สามารถให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ โดยกรมบัญชีกลางได้กำหนดกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องไว้
กรณีข้าราชการและลูกจ้างประจำที่จะเป็นผู้มีสิทธินั้น จะต้องเป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งได้รับเงินเดือน หรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน และค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม (ปัจจุบัน คือ งบบุคลากร) โดยข้าราชการซึ่งได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ประกอบด้วย
- ข้าราชการพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
- ข้าราชการครู ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
- ข้าราชการฝ่ายอัยการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
- ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
- ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
- ข้าราชการตารวจ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตารวจ
- ข้าราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
- ข้าราชการการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
จะเห็นได้ว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์กรของรัฐ พนักงานราชการจึงมิใช่ผู้มีสิทธิตาม พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 กรณีของลูกจ้างประจำนั้น จะเป็นผู้มีสิทธิก็ต่อเมื่อได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำเท่านั้น ลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างจากเงินประเภทอื่น ๆ ลูกจ้างที่ได้รับเงินจากเงินนอกงบประมาณไม่ใช่ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553
กรณีลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งจะเป็นผู้มีสิทธิได้ก็ต่อเมื่อผ่านเงื่อนไข 2 ข้อ คือ
- ค่าจ้างได้รับจากเงินงบประมาณรายจ่าย
- สัญญาจ้างมิได้ระบุเกี่ยวกับการช่วยเหลือในด้านการรักษาพยาบาลไว้
ดังนั้น หากลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย แต่ในสัญญาจ้างระบุว่าให้ได้รับการช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลจากการทาประกัน ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553