โครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง สป.สธ.2565-69

0 0
Read Time:1 Minute, 18 Second

หลักการสำคัญในการจัดทำกรอบอัตรากำลัง ปี พ.ศ. 2565 – 2569 จึงมีการปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับภาระงานที่จะเกิดขึ้นในปี 2569 ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน และชมรมวิชาชีพต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วนร่วมในการจัดทำภาระงานและวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง ปี พ.ศ. 2565 – 2569 มีการใช้เกณฑ์บุคลากรต่อประชากรตามพระราชบัญญัติปฐมภูมิ เพื่อมุ่งเน้นเป้าหมายรองรับความต้องการบริการที่สูงขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้บริการปฐมภูมิและการมุ่งการพัฒนาบริการที่เป็นเลิศ และเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาของ Service plan ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงาน Service Plan โดยพิจารณาจากจำนวนบุคลากรที่มีอยู่เมื่อเทียบกับกรอบอัตรากำลังเดิม (ปี 2560-2564) และความสามารถในการผลิตบุคลากร (production capadty) จึงได้ผลการวิเคราะห์กรอบอัตรากำลัง ปี พ.ศ.2565 – 2569 จัดสรรให้เขตสุขภาพได้บริหารจัดการในภาพรวมของเขตสุขภาพ

ความท้าทายในการจัดทำกรอบอัตรากำลังปี พ.ศ. 2565 – 2569

  1. ความต้องการด้านสุขภาพที่สูงขึ้น (Increase health need) จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากรไทยและการเปลี่ยนแปลงบริบทอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนและการจัดระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธาธารณสุข
  2. การสร้างความเข้มแข็งของระบบริการปฐมภูมิ (Primary care strengthening) ให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ
  3. การสร้างความเข้มแข็งสู่ระบบริการที่เป็นเลิศ (Excellent services) โดยการพัฒนา Service plan เพื่อสู่การเป็น excellent center ร่วมกับการใช้การแพทย์ทางไกล ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการใช้ดีจิทัลทางการแพทย์
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
1 100 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพ

0 0
Read Time:2 Minute, 1 Second

คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้หลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ปี พ.ศ. 2561 ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 คณะทำงานเตรียมการกลั่นกรองการเปิด การยกฐานะและการขยายหน่วยบริการสุขภาพ จึงได้มีการทบทวนและปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องทันต่อสถานการณ์และแนวโน้มทิศทางการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) ตามกรอบแนวทางการดำเนินงานของแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan)โดยได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรอง การเปิด การยกฐานะ และการขยายหน่วยบริการสุขภาพ

กองบริหารการสาธารณสุข โดยกลุ่มงานพัฒนาประสิทธิภาพบริการจึงได้จัดทำ คู่มือหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพปี พ.ศ. 2565 เพื่อให้หน่วยบริการสุขภาพในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขนำไปใช้เป็นแนวทางประกอบคำขอการจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ ต่อไป

กลุ่มงานพัฒนาประสิทธิภาพบริการ กองบริหารการสาธารณสุข สป.สธ.

เกณฑ์การจัดตั้งหน่วยบริการสุขภาพ

  • เกณฑ์การจัดตั้งสถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.)
  • เกณฑ์การจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง (ศสม.)
  • เกณฑ์การจัดตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
  • เกณฑ์การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F3

เกณฑ์การปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ

  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F2
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F1
  • กณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย ระดับ M2
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ระดับ M1
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ ระดับ S
  • เกณฑ์การปรับระดับเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ระดับ A

หลักเกณฑ์การขยายเตียงของหน่วยบริการสุขภาพ

หลักเกณฑ์การย้ายหน่วยบริการสุขภาพ

หลักเกณฑ์การปิดหรือขอยุบหน่วยบริการสุขภาพ

ข้อแนะนำการจัดตั้งหน่วยบริการสุขภาพ

  • การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F2
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชน ระดับ F1
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย ระดับ M2
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ระดับ M1
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ ระดับ S
  • การจัดตั้งโรงพยาบาลศูนย์ ระดับ A

แนวทางปฏิบัติการพิจารณารายการคำขอ

ขั้นตอนดำเนินการหลังปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 100 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version