มาตรฐานแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 6 Second

มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ผสมผสาน (รพ.สส.พท.)
Thai Traditional Medicine & Integrative Medicine
Promoting Hospital Standard (TIPhS)

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยสถาบันการแพทย์แผนไทย ได้จัดทำมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ในระดับโรงพยาบาลและสถานีอนามัย มาตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๔๗ และปรับปรุงให้มีความเหมาะสมในปีงบประมาณ ๒๕๕๕๕๑ เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐใช้เป็นแนวทางในการจัดบริการการแพทย์แผนไทยที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับบริการการแพทย์แผนไทยที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประเมินหน่วยบริการภายในจังหวัดของตนเอง ๒ ปี/ครั้ง และได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานจากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพย์ทางเลือก และเพื่อให้มาตรฐานมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการปรับปรุงอีกครั้งในปลายปีงบประมาณ ๒๕๕๕ และต่อเนื่องในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ เพื่อให้มาตรฐานเป็นเครื่องมือในการตอบสนองตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องกับกรมพัฒนากาการแพย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก คือ ร้อยละของผู้ป่วยนอกได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐาน (ร้อยละ ๑๔) ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารงานสาธารณสุของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ประดิษธ สินธวณรงค์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธาธารณสุขนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่าภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน ดังนั้นกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงได้จัดทำมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมมสาน (รพ.สส.ww.) Thai Traditional Medicine & Integrative Medicine Promoting Hospital Standard (TIPhS) เพื่อให้หน่วยบริการในส่วนภูมิภาคสามารถจัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอขอบคุณผู้บริหารกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก คณะกรรมการพัฒนามาตรธานงานบริการการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ผู้รับผิดขอบงานการแพทย์แผนไทยในส่วนภูมิภาคทุกระดับและเครือข่ายมหาวิทยาลัยทางด้านการแพทย์แผนไทย ที่กรุณาให้ความคิดเห็นในการจัดทำมาตรฐานฯ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และขอขอบคุณผู้รับผิดขอบงานแพทย์แผนไทยของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของจังหวัดอ่างทองและสระบุรี ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการทดสอบมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน และหวังว่าหนังสือมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องในการนำไปปฏิบัติบัติได้อย่างถูกต้อง และสามารถพัฒนางานบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานให้ให้ได้มาตฐาน เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายสามารถคุ้มครองผู้บริโภคที่มารับบริการให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยอย่างทั่วถึวถึงและเท่าเทียมกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสผสมสมผสาน และการแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนโดยรวมต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

กปท68-การดําเนินงานกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กปท.) ปี 2568

0 0
Read Time:49 Second

กําหนดการประชุมเพื่อซักซ้อมการแนวทางการดําเนินงานกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กปท.)

กำหนดการ

  • ความสำคัญงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และกองทุนการดูแลระยะยาวบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง
  • นโยบายทิศทางการดำเนินงานของกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น(กปท.) ปึงบประมาณ 2568 ก้าวสู่ปีงบประมาณ 2569
  • แนวทางการปฏิบัติกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นและกองทุนบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพึ่งพิง
  • แจ้งการดำเนินงานของกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น(กปท.) ปีงบประมาณ 2568 ประกอบด้วย 3 กองทุน
    • กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
    • กองทุนการดูแลระยะยาวการบริการด้านสาธารณสุขสำหรับบุคคลผู้มีภาวะพึ่งพิง
    • กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ระดับจังหวัด

วีดีโอชี้แจงกปท68

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงแนวทางฯสิทธิ UC และสิทธิอื่น ปีงบ ๖๘

0 0
Read Time:35 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสิทธิอื่น สิ่งที่เปลี่ยนแปลง ปีงบประมาณ 2568 (สำหรับหน่วยบริการ)

Video ชี้แจงผ่าน FB

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศกองทุนปี68

1 0
Read Time:1 Minute, 43 Second

ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การดำเนินงานและการบริหารจัดการ
กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
และค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานและองค์กรที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปิ๊งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อให้ผู้รับบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ มาตรา ๑๘ (๔) และ (๑๔) มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งและมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๗/๒๕๕๙ เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ คำสั่งหังหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๑/๒๕๖๐ เรื่อง การบริหารจัดการยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอปกรณ์ทางการแพทย์ตามโครงการพิเศษของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๘/๒๕๕๙ เรื่อง การรับบริการสาธารณสุของคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ลงวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสังหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๕/๒๕๖๐ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๘/๒๕๕๕๙ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๗ และมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๗ และในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๗ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

Happy
1 50 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 50 %

หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติอุปกรณ์ใช้เก็บของเสีย

0 0
Read Time:30 Second

การประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และ แนวปฏิบัติในการเลือกใช้วัสดุ/อุปกรณ์ใช้เก็บของเสียในผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม(Colostomy bag) ผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมไทยภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วันจันทร์ที่ 11 เดือน กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.30 12.00 น.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศ Home Ward 2566

0 0
Read Time:50 Second

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้านพ.ศ. ๒๕๖๖

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้ผู้ป่วยในที่ บ้านได้รับบริการสาธารณสุขที่ มีมาตรฐานและครอบคลุมกลุ่มโรคหรือกลุ่มอาการที่จำเป็นมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ และข้อ ๒๐.๑๐.๘ แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมเครือข่ายศูนย์บริการหลักประกันปี66

0 0
Read Time:1 Minute, 39 Second

ประชุมเครือข่ายศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ
ในวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 9.30-13.00 น.

วาระประชุม

  • ๑.ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย รศ.ดร.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการ สปสช.
  • ๒. สถานกรณ์ การดำเนินงานร่วมกัน ระหว่าง สปสช.และศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ โดย นางสาวดวงนภา พิเชษฐ์กุล ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. และนางกรรณิการ์ ปัญญาอมรวัฒน์ ประธานคณะทำงานพัฒนาและกำกับติดตามการดำเนินการของหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน
  • ๓. คุณูปการ คุณค่า ของศูนย์บริการฯในหน่วยบริการทบทวนบทบาทหน้าที่ของศูนย์บริการฯในหน่วยบริการ ควรดำเนินงานต่ออย่างไร โดย ผู้แทนผู้ดำเนินงาน ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ
    • ๑) นางอันธิกา คะระวานิช โรงพยาบาลตราด จ.ตราด
    • ๒) นางสิริวิภา โรจนรัตนางกูร โรงพยาบาลเชียงยืน จ.มหาสารคาม
  • ดำเนินรายการโดย นางสาวเครื่อออน มานิตยกูล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ สปสช.เขต ๑ เชียงใหม่
  • ๔. สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ (ผลสำรวจ google form) /ทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน
  • ๕. แลกเปลี่ยน รับฟังข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการดำเนินงานศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ ร่วมกับ สปสช. โดย นางชนทิพย์ มารมย์ ผู้อำนวยการกอง ฝ่ายสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ
  • ๖. สรุปผลการประชุมหารือและแจ้งกำหนดการดำเนินงานร่วมกันในระยะต่อไป โดย นางจารุภา คชบก นักวิชาการ ฝ่ายสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประกาศเรื่อง การจ่ายค่าบริการการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๖๖

0 0
Read Time:5 Minute, 58 Second

ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมการให้บริการแก่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

อาศัยอำนาจตามความในข้อ และข้อ ๔๒ แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

  • ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณ์สุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖”
  • ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
  • ข้อ ๓ ในประกาศนี้
    • “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึงสำนักงานสาขา
    • “หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • “ผู้รับบริการ” หมายความว่า ผู้มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขที่หน่วยบริการมีสิทธิได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • ข้อ ๔ ให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รักษาการตามประกาศนี้

หมวด ๑
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

  • ข้อ ๕ การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ประกอบด้วย
  • ๕.๑ บริการการแพทย์แผนไทย
    • ๕.๑.๑ บริการนวด
    • ๕.๑.๒ บริการประคบ
    • ๕.๑.๓ บริการนวดและประคบ
    • ๕.๑.๔ บริการอบสมุนไพร
    • ๕.๑.๕ การฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอด ตามแนวเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทย
    • ๕.๑.๖ การใช้ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
  • ๕.๒ บริการฝังเข็มหรือบริการฝังเข็มร่วมกับกระตุ้นไฟฟ้า ในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) รายใหม่ ที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในระยะกลาง
  • ๕.๓ บริการน้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน ไมเกรน สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชัก และมะเร็งระยะสุดท้าย และยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของกัญชา และยาสมุนไพรอื่น ๆ ที่ได้รับการบรรจุเป็นบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร
  • ข้อ ๖ การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ตามข้อ ๕.๑ และข้อ ๕.๓ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
    • ๖.๑ เป็นการให้บริการแก่ผู้รับบริการ โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายของแต่ละรายการเป็นไปตามเอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
    • ๖.๒ หน่วยบริการที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเป็นหน่วยบริการที่มีศักยภาพในการจัดบริการการแพทย์แผนไทยได้ตามแต่ละบริการ รายละเอียดเป็นไปตามเอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
    • ๖.๓ สำนักงานจะจ่ายค่าใช้จ่ายตามรายการ ผู้รับบริการซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ หน่วยบริการ แนวทาง และอัตราตามเอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้
  • ข้อ ๗ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าบริการการแพทย์แผนทย และการแพทย์ทางเลือก ตามข้อ ๕.๒ให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีบริการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง

หมวด ๒
วิธีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

ข้อ ๘ ให้หน่วยบริการบันทึกและส่งข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐาน ผ่านระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim) หรือโครงสร้างมาตรฐานด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (๔๓ แฟัม) หรือเชื่อมต่อข้อมูลจากระบบข้อมูลของหน่วยบริการกับสำนักงาน หรือผ่านระบบโปรแกรมอื่นตามที่สำนักงานกำหนด ตามเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้

หมวด ๓
เงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข

  • ข้อ ๙ ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานเอกสารการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการจัดให้มีหรือมีข้อมูลยืนยันตัวตนของผู้รับบริการ เพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด
  • ข้อ ๑๐ สำนักงานจะดำเนินการประมวลผลและแจ้งรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการ โดยรายงานการจ่ายค่าใช้จ่ายจะแสดงสถานะข้อมูล ดังนี้
  • ๑๐.๑ กรณีรายการที่บันทึกข้อมูลผ่านระบบโปรแกรมบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ (e-Claim)
    • ๑๐.๑.๑ ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้น (ข้อมูล A: accept) สำนักงานจะจ่ายค่าใช้จ่าย ให้หน่วยบริการตามที่ประมวลผลได้
    • ๑๐.๑.๒ ข้อมูลที่ไม่ผ่านจากการตรวจสอบเบื้องต้น (ข้อมูล C: cancel) หน่วยบริการสามารถแก้ไขและส่งมาในระบบของสำนักงานอีกครั้ง
    • ๑๐.๑.๓ ข้อมูลปฏิเสธการจ่าย (ข้อมูล Deny) หน่วยบริการสามารถขอทบทวนเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายตามที่สำนักงานกำหนด
  • ๑๐.๒ กรณีรายการที่บันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมอื่น
    • ๑๐.๒.๑ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลตามเงื่อนไขที่กำหนด (ข้อมูล Y) สำนักงานจะจ่ายค่าใช้จ่าย ให้หน่วยบริการตามที่ประมวลผลได้
    • ๑๐.๒.๒ ข้อมูลที่ประมวลผลไม่ผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนด: ข้อมูลปฏิเสธการจ่าย (ข้อมูล N) หน่วยบริการสามารถขอทบทวนเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายตามแนวทางที่กำหนด
  • ข้อ ๑๑ หากพบความผิดปกติอื่นใดของข้อมูลผลงานหรือการเบิกจ่ายของหน่วยบริการนั้น ๆ สำนักงานจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บคำใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ โดยตรวจสอบหลักฐานการให้บริการ และกำหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบ ตามเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้
  • ข้อ ๑๒ สำนักงานจะพิจารณาปฏิสธการจ่ายค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณสุข ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
    • ๑๒.๑ การให้บริการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณสุขตามหมวด ๑
    • ๑๒.๒ ตรวจสอบไม่พบการยืนยันตัวตนของผู้ป่วยเพื่อยืนยันการใช้สิทธิในการเข้ารับบริการตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด
    • ๑๒.๓ กรณีที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการแล้วพบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ การตรวจสอบหลักฐานการให้บริการตามเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖
จเด็จ ธรรมธัชอารี
เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ แนวทาง เงื่อนไข และรายการบริการ สำหรับบริการที่จ่ายตามจำนวนผลงานบริการและการเข้าถึงบริการของผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
เอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย การกำหนดเกณฑ์ในการตรจสอบและตรวจสอบเอกสารหลักฐานการให้บริการจากหน่วยบริการ
เอกสารหมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก พ.ศ. ๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ รหัสหัตถการการแพทย์แผนไทย
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

โภชนาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทย

0 0
Read Time:2 Minute, 19 Second

ฮิปโปเครติส ชาวกรีกผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ผู้ให้กำเนิดวิชาแพทย์” หรือ“บิดาแห่งการแพทย์” (The Father of Medicine) ได้บัญญัติไว้ในการรักษาเมื่อประมาณ2,500 ปีที่แล้วว่า “จงใช้อาหารเป็นยาในการรักษาโรค” ซึ่งกลายมาเป็นปรัชญาในการรักษาโรคในยุคต่อ ๆ มา ปัจจุบันโรคที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศส่วนใหญ่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable diseases : NCDs) เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือด เป็นต้น เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต เช่น การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง รสจัดการสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งกลุ่มโรค NCDs เหล่านี้นับเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชากรโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ประเทศไทยนับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อยู่ในภูมิประเทศที่อำนวยความสะดวกให้พืชพรรณธัญญาหารเติบโตได้อย่างดี มีคุณค่าทางโภชนาการและอาหารเหล่านี้ยังเป็นยาที่ช่วยป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำว่า“อาหารเป็นยา” จึงเป็นคำกล่าวที่ไม่อวดอ้างเกินจริง ซึ่งบรรพบุรุษของเราได้ใช้ประโยชน์จากพืชที่อยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการทำอาหาร และทำเป็นยารักษาโรคมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นองค์ความรู้ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรใฝ่รู้และหันมาให้ความสนใจอย่างจริงจัง เพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศได้เป็นอย่างดี

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรโภชนศาสตร์ผักพื้นบ้านอาหารเป็นยา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และเครือข่าย ได้เห็นความสำคัญของภูมิปัญญาไทยด้านอาหาร จึงได้จัดทำหนังสือโภชนาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทยขึ้น เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย ภูมิปัญญาไทย ในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนหันมารับประทานอาหารตามภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มากขึ้น รวมถึงเยาวชนรุ่น ใหม่ได้เรียนรู้การทำอาหารไทยที่ถูกต้อง และตระหนักรับรู้ว่าอาหารไทยมีค่าดุจตำรับยาไทย ตลอดจนเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการอาหารไทย และผลิตภัณฑ์อาหารไทย นำไปสู่การสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่งต่อไป

โดย คณะกรรมการจัดทำหลักสูตรโภชนาศาสตร์พักพื้นบ้านอาหารเป็นยา กรมการแพทย์แพนไทยและการแพทย์ทางเลือก และเครื่อข่าย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เนื้อหาประกอบด้วย

บทที่ 1 อาหารกับโบราณโรค
บทที่ 2 กินให้เป็น
บทที่ 3 อาหารไทย อาหารแห่งสายลม
บทที่ 4 การบริโภคที่เหมาะควร จากพระโอษฐ์พระศาสดา
บทที่ 5 ตำรับอาหารเป็นยา
บทที่ 6 เครื่องแนม เครื่องเคียง ศิลปะการกินของคนไทย
บทที่ 7 วิถีอาหารไทย Thai Food Wellness
บทที่ 8 หลักในการรับทานอาหารในโภชนาการไทย
บทที่ 9 น้ำพริก นวัตกรรมชะลอวัย
บทที่ 10 อาหารไทย = วัคซีน
บทที่ 11 น้ำกระสายยา = น้ำสมุนไพร

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือแนวทางการดำเนินงานบริการแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:1 Minute, 12 Second

คู่มือแนวทางการดำเนินงานบริการแพทย์แผนไทย ระดับ เขต 7 ขอนแก่น

คณะทำงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ระดับเขต 7 ขอนแก่น ได้กำหนดมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน ประกอบด้วยมาตรฐาน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากร ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการควบคุมคุณภาพ และด้านการจัดบริการ มีรายละเอียดของมาตรฐานแต่ละด้าน ทั้งนี้เนื้อหาในเอกสารนี้ประกอบด้วย

  • ขั้นตอนการเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทยในหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐ
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้านหัตถเวชกรรมไทย
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้านการประคบสมุนไพร
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้วยการอบไอน้ำสมุนไพร
  • แนวทางเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยด้วยการทับหม้อเกลือ
  • ตารางเปรียบเทียบโรคทางแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบัน (ICD 10 TM) และหัตถการแผนไทย (ด้านหัตถเวชกรรมไทย)
  • แนวทางปฏิบัติด้านการใช้ยาสมุนไพร
  • ตารางเปรียบเทียบการใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาลเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบัน
  • การคาดการณ์การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร
  • การบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์สมุนไพร
  • กระบวนการปฏิบัติงานการเบิก-จ่ายยา/เวชภัณฑ์มิใช่ยา ในคลังยาและเวชภัณฑ์ รพ.สต.
  • ขั้นตอนการกำหนดรหัสยาแผนไทย 24 หลัก
  • การค้นรหัสยาสมุนไพร 24 หลัก
  • การให้บริการในชุมชน
  • การคีย์ข้อมูลการบริการแพทย์แผนไทยในโปรแกรม HOSXP และอื่นๆ
  • การบันทึกข้อมูลโปรแกรม JHCIS สำหรับผู้มารับบริการนวด/ประคบสมุนไพร
  • วิธีการเข้าดูรายงานผลการดำเนินงานแพทย์แผนไทย ทาง OP/PP Individual สปสช.
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version