แผนงานโครงการและตัวชี้วัด สธ. ปี 2568

0 0
Read Time:2 Minute, 37 Second

KPI Template 68

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางปฏิบัติ/การปรับปรุง รายการบัญชีรายได้ค่าบริการรักษาโควิด

0 0
Read Time:1 Minute, 33 Second

แนวปฏิบัติทางบัญชีเกณฑ์คงค้าง กรณีหน่วยบริการได้รับโอนเงินค่าบริการทางการแพทย์ ผู้ป่วยโรคโควิด 19 ของปีงบประมาณก่อน

ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ ให้ถือปฏิบัติการจัดทำและนำเสนอรายงานงบการเงินที่จัดทำตามหลักบัญชีเกณฑ์คงค้าง โดยรับรู้รายการที่เกี่ยวข้องในงวดบัญชีที่เกิดรายการ นั้น
จากการตรวจสอบงบทดลองหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ พบว่าหน่วยบริการรับรู้รายได้ไม่ตรงงวดบัญชี ได้แก่ บัญชีรายได้ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-OP/P จากสปสช. ในปังบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นการรับโอนเงินค่าบริการจากผลการดำเนินงานปีก่อน ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด 19 เพื่อรองรับการเป็นโรคประจำถิ่น มีผลตั้งแต่การให้บริการวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เพื่อให้หน่วยบริการปฏิบัติตามแนวทางบัญชีเกณฑ์คงค้างสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ จึงเห็นควรแจ้งเป็นแนวทางให้หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขปฏิบัติดังนี้

  • ๑. ปรับปรุงบัญชีรายได้ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-OP/IP จากสปสช. (๔๓๐๑๐๒๐๑๑๕.๒๖๗ /.๒๖๘ และบัญชีส่วนต่างค่ารักษาที่สูง(ต่ำ)กว่าข้อตกลงในการจ่ายตาม DRG-COVID-19 IP จาก สปสช. (๔๓๐๑๐๒๐๑๐๕.๒๖๙/.๒๗๐) เข้าบัญชีผลสะสมจากการแก้ไขข้อผิดพลาด-รายได้ (ต๑0๒๐๑๐๑๐๒.๑๐๒) กรณีได้รับโอนเงินเป็นของการดำเนินงานปีก่อน ณ วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๖
  • ๒. หน่วยบริการบันทึกรายการทางบัญชี กรณีให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด 19 เป็นลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิหลักในระบบปกติ ตั้งแต่วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป (รายละเอียดปรากฏตาม QR Code ท้ายเอกสารนี้)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่

0 0
Read Time:1 Minute, 36 Second

แนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่
ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล)และกระทรวงสาธารณสุข (รพ.สต.)

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณ์สุข กระทรวงสาธารณสุข
กองสาธารณสุขท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๘ กำหนดให้รัฐต้องมีการกระจายอำนาจทางปกครองไปให้ท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และแบ่งเบาภาร กิจของส่วนกลาง รวมทั้งให้อำนาจแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น โดยในปัจจุบันได้มีการกำหนดให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการด้านสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น โดยมีกฎหมายที่กำหนดบทบาทของท้องถิ่นในด้านสาธารณสุขไว้ เช่น พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้น

กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต) โดยกำหนดจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เกิดการบูรณาการการดำเนินงานทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค รักษา ฟื้นฟูสุขภาพ และคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่หรือท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดความซ้ำซ้อนและช่องว่างในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่และเพื่อส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขขอขอบคุณผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีส่วนร่วมในการจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ฯ ฉบับนี้ ให้มีความสมบูรณ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ฯ ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. และเทศบาล) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ต่อไป
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

มอบอำนาจให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพ

0 0
Read Time:20 Second

๑. สำเนาคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๙๗ /๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตสุขภาพ

๒. สำเนาคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๒๒๔ /๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพ ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ

0 0
Read Time:1 Minute, 6 Second

การตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ

การตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ มีหลายระบบแตกต่างกันเช่น ระบบกราวิเมตริก (Gravimetric) ระบบเบต้า เร (Beta Ray) ระบบเทบเปอ อิลิเม้น ออสชิเลติ้ง ไม่โครบาลานซ์ (Tapered Element Oscillating Microbalance) และระบบได้โคโตมัส (Dichotomous) เป็นต้น แต่ระบบที่ง่ายในการหาความเข้มข้น ของฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (Total Suspended Particulate Matter, TSP) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (Particulate Matter with an aerodynamic diameter less than or equal to a nominal 10 micrometers; PM10) คือระบบกราวิเมตริก ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศชนิดไฮโวลุม (High Volume Air Sampler)

คู่มือการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ

คู่มือการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ เล่มนี้ ได้รวบรวมเทคนิควิธีการ เครื่องมือและอุปกรณ์ ในการตรวจวัด TSP และ PM, ด้วยระบบกราวิเมตริก โดยเรียบเรียงอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เข้าใจง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศที่ถูกต้อง สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น เอกชน ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป ให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการติดตามตรวจสอบ เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองในบรรยากาศได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศของประเทศ ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ

0 0
Read Time:1 Minute, 21 Second

หน่วยบริการปฐมภูมิ หรือ สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม้จะเป็นหน่วยบริการเล็กๆ หรืออาจจะเล็กที่สุดในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ไม่ว่าจะเป็นความเล็กของสถานที่ ของทรัพยากรบุคคล หรือแม้แต่เครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับหน่วยบริการระดับโรงพยาบาล แต่เป็นหน่วยบริการที่สำคัญมีคุณค่ายิ่งนัก เป็นฟันเฟืองที่สำคัญของการพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ มีความใกล้ชิด มีความผูกพัน มีความเข้าใจสภาพของชุมชน

และประชาชนในพื้นที่ได้อย่างดีที่สุด ในบางพื้นที่อาจจะจัดได้ว่าเป็นจุดเล็กๆที่มีพลังมากที่สุดในเครือข่ายบริการปฐมภูมิก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นที่ที่ประชาชน และชุมชนให้ความรัก ความศรัทธาเป็นอย่างมาก หน่วยบริการปฐมภูมิหรือจะเรียกว่าสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจึงถือได้ว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการจัดบริการปฐมภูมิ ขอเพียงแต่หน่วยบริการเล็กๆเหล่านี้มีความเข้มแข็ง มีกำลังใจ มีความมุ่งมั่น และความตั้งใจที่จะให้บริการสุขภาพที่ตอบสนองสภาพปัญหา ความต้องการของประชาชนและซุมชน เชื่อว่า สุขภาวะที่ดีของประชาชนและชุมชนคงเกิดได้ไม่ยากนัก “เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ” จึงได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยบริการปฐมภูมินำไปใช้ในการประเมินหรือทบทวนตนเองบนความคาดหวังว่า “เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ” นี้จะช่วยให้หน่วยบริการปฐมภูมิมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพที่มีความจำเพาะ และมีความพิเศษสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมินั้นๆ เป็นสำคัญ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ

0 0
Read Time:4 Minute, 17 Second

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)

ความเป็นมา

จากการที่ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายที่จะพัฒนาสาธารณสุขส่วนภูมิภาคในระดับอำเภอให้มีประสิทธิภาพเพื่อรองรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้สั่งให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) วัตถุประสงค์ให้องค์กรดังกล่าวรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับ การประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ประสานการปฏิบัติงาน รวมทั้งช่วยติดตามและประเมินผลงานสาธารณสุขระดับอำเภอ แต่เนื่องจากมีการ”ปรับเปลี่ยนระบบการดูแลสุขภาพ ก่อให้เกิดการจัดบริการสุขภาพ ในรูปแบบ ศูนย์สุขภาพชุมชน รวมทั้งการจัดงบประมาณต่อหัวประชากรลงสู่คู่สัญญาการให้บริการระดับปฐมภูมิ (Contracting Unit for Primary Care: CUP) ที่ผ่านมาการบริหารจัดการในรูปแบบเครือข่ายบริการระดับปฐมภูมิ ยังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งการขาดความชัดเจนในรูปแบบการดำเนินการในเครือข่าย ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาสาธารณสุข ตามแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพอย่างมาก

ดังนั้น จึงได้หาแนวทางแก้ปัญหาโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยเชิญผู้แทนจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ เข้าร่วมประชุมหารูปแบบที่เหมาะสม มติที่ประชุมได้ตกลงให้มี คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ( คปสอ.) เช่นเดิม แต่ปรับบทบาทภารกิจของคณะกรรมการฯ ให้มีแนวทางดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการเครือข่ายบริการทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ รวมทั้งการประสานงานที่ดีระหว่าง โรงพยาบาล, สถานีอนามัย, สาธารณสุขอำเภอและหน่วยที่จัดบริการด้านสุขภาพระดับต่างๆ รูปแบบการบริหารและพัฒนาเครือข่ายบริการทั้ง 3 ระดับนี้ จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้เป็นจริงยิ่งขึ้น

โครงสร้างองค์กร

ชื่อองค์กร คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)
ชื่อภาษาอังกฤษ District Health Coordinating Committee คำย่อ DHCC

องค์ประกอบหลักของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ จำนวน 10-20 คน ประกอบด้วย

  1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
  2. สาธารณสุขอำเภอ
  3. ผู้แทนส่วนโรงพยาบาล
    • กลุ่มงานเวชกรรมสังคม/กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว
    • กลุ่มงานการพยาบาล
    • กลุ่มงานทันตกรรม
    • กลุ่มงานเภสัชกรรม
    • กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก/กลุ่มงานชันสูตร
    • อื่นๆตามเหมาะสม
  4. ผู้แทนหัวหน้าสถานีอนามัย/พยาบาลวิชาชีพในเครือข่าย
  5. ผู้แทนส่วนสาธารณสุขอำเภอหรือนักวิชาการสาธารณสุขอำเภอ
  6. ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
    • เทศบาล
    • โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม
    • โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    • โรงพยาบาลในสังกัดรัฐวิสาหกิจ
    • โรงพยาบาลเอกชน
    • โรงพยาบาลองค์กรอิสระในกำกับของรัฐ
  7. อื่นๆตามเหมาะสม

ประธาน กำหนดให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้พิจารณา โดยความเห็นชอบของผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต และเสนอให้ผู้ว่าราชการแต่งตั้ง
เลขานุการ เลือกจากผู้เป็นกรรมการในที่ประชุม โดยความเห็นชอบของประธาน
การประชุม กำหนดให้ต้องมีการประชุมทุกเดือน
คณะกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ( คปสอ.) ซึ่งคัดเลือกจากองค์ประกอบในส่วนโรงพยาบาลและสาธารณสุขอำเภอฝ่ายละเท่าๆ กัน และคัดเลือกผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยละ 1 คน และให้คณะกรรมการฯ มีวาระ 1 ปี สำหรับประธานคณะกรรมการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้พิจารณา และเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง พร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ( คปสอ.) ให้กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

กรอบอำนาจหน้าที่ และบทบาทของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) มีดังนี้

  1. กำหนดแนวทาง เป้าหมายและการดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบ โดยต้องเป็นไปตามสภาพของพื้นที่ กรอบ แผน นโยบายด้านสาธารณสุข ของอำเภอ จังหวัด เขต และประเทศ
  2. จัดทำแผนปฏิบัติการในการพัฒนาสุขภาพในพื้นที่เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ตามแนวทางการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
  3. กำหนดหลักเกณฑ์และจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพ ให้แก่สถานบริการสาธารณสุขตามกรอบนโยบายที่กำหนด
  4. กำหนดกระบวนการทำงานของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ให้มีรูปแบบชัดเจน
  5. สนับสนุนการพัฒนาหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ(ศูนย์สุขภาพชุมชน) ทุติยภูมิ ตติยภูมิให้ได้มาตรฐาน เพื่อเตรียมการรับรองการประเมินมาตรฐานของหน่วยบริการ
  6. กำกับ ดูแล ติดตาม ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไข การดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่
  7. กำหนด ข้อตกลงร่วมในเครื่อข่าย ควบคุม ดูแล รวมถึงการให้อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลให้การปฏิบัติงานทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ดำเนินการหรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
  8. กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันของหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชน
  9. ประสานงานระหว่างเครือข่ายกรณีมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่รับผิดชอบในสัญญา
  10. กำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากร ในเครือข่ายทุกระดับ ให้มีความรู้ความสามารถทักษะในการบริหาร บริการ
  11. ให้มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดูแลระบบบริการระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ตามความเหมาะสม และแต่งตั้งคณะทำงานอื่นๆได้ตามความจำเป็น เช่น
    • คณะทำงานรับเรื่องราวร้องทุกข์
    • คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูล
    • คณะทำงานพัฒนาระบบการเงินและงบประมาณ ฯลฯ

เป้าหมายสูงสุดในการดูแลสุขภาพ ของ คณะกรรมการประสานการพัฒนาสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ.) คือ “ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่ดี” โดยเชื่อมโยงกับโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงเป็นผู้บริหารจัดการโครงการประกันสุขภาพในระดับเครือข่ายปฐมภูมิ และเชื่อมต่อกับระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการให้บริการด้านสุขภาพ และสามารถบริหารจัดการในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นการ วางแผนคน แผนเงิน และแผนงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารและการบริการดีขึ้น และเกิดประโยชน์กับราชการอย่างแท้จริงต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

นโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

0 0
Read Time:3 Minute, 36 Second

ประกาศสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น เรื่อง นโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔’๖ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ก.พ. รวมทั้งให้สอดคล้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrtty and Transparency Assessment : ITA) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงกำหนดนโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดังนี้

  • ๑. ด้านนโยบาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดซอนแก่น เป็นองค์กรธรรมาภิบาล มุ่งเน้นในการบริหารหรัพยากรบุคคลที่ก่อให้เกิดการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความโปรงใส มีความเป็นธรรม ใช่ดุลยพินิจส่วนตัวให้น้อยที่สุด มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมจริยธรรมและรักษาวินัยของบุคลากรในองค์กร ให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้
  • ๒. ด้านการสรรหา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวางแผนกำลังคน สรรหา และเลือกสรรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้ได้คนดีคนเก่ง ที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามภารกิจของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดซอนแก่น แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๒.๑ จัดทำแผนอัตรากำลัง เพื่อใช้ในการวางแผนกำลังคนให้เหมาะสม มุ่งสรรหาบุคลากรด้วยระบบการคัดเลือกที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ คุณลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และยึดประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ
    • ๒.๒ การรับสมัครคัดเลือกเพื่อสรรหา และเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ต้องประกาศเผยแพร่
    • ๒.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการในการสรรหาและเลือกสรร เพื่อให้สามารถเลือกสรรผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนดี สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
  • ๓. ด้านการพัฒนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวางแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นข้าราชการที่ดี ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและความก้าวหน้าของบุคลากร ให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถที่สูงขึ้น แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๓.๑ จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรประจำปี ให้สอดคล้องตามความจำเป็นและความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน
    • ๓.๒ ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการอบรม พัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ ความสามารถทักษะในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมกับหน่วยงานภายในหรือหน่วยงานภายนอก
    • ๓.๓ ส่งเสริมการจัดทำเส้นทางและวางแผนพัฒนาความก้าวหนัวัทั้งสมรรถนะและผลงานเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาของบุคลากรในแต่ละคำแหน่ง
    • ๓.๔ ส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของผู้นำทุกระดับในหน่วยงาน
  • ๔.ด้านการรักษาไว้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชอนแก่น ต้องวางแผนกลยุทร์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ส่งเสริมการพัฒนาให้มีความรู้ มีแผนสืบทอดตำแหน่งทางการบริหาร มีการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลบุคลากรให้เป็น ให้เป็นปัจจุบัน มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ยกย่องและชมเชยคนดี คนเก่ง เพื่อให้เกิดความผูกพันต่อหน่วยงาน แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๔.๑ พัฒนาระบบเพื่อส่งเสริมการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ให้สอดคล้องกับผลงานแสะสมรรถนะของหน่วยงาน
    • ๔.๒ พัฒนาระบบแรงจูงใจตามผลงาน ทั้งในระดับองค์กระบุคคล และเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้และปรับปรุงผลงานอย่างต่อเนื่อง
    • ๔.๓ เสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน รวมถึงอาชีวอนามัยของหน่วยงานให้มีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
    • ๔.๔ สนับสนุนให้มีกิจกรรมการยกย่องเชิดชูบุคลากรที่มีความประพฤติดีสมควรแก่การเป็นแบบอย่างที่ดี
  • ๕. ด้านการใช้ประโยชน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชอนแก่น ยึดหลักความโปร่งไม่เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและมีจิตสาธารณะ โดยมีการสื่อสารให้บุคลากรรับทราบนโยบาย กฎระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร ทรัพยากรบุคคล มีช่องทางให้บุคลากรเข้าถึงข้อมูลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งผู้บริหารมีการสื่อสาร มอบหมายงาน พัฒนางาน ตลอดจนควบคุม กำกับ ดูแลให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แนวทางปฏิบัติ ดังนี้
    • ๕.๑ จัดให้มีระบบการมอบหมายหน้าที่ ภารกิจ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นธรรม และควบคุม กำกับ ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
    • ๕.๒ จัดให้มีการปรับปรงระบบและวิธีการทำงานให้ทันสมัย การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สะดวกรวดเร็ว และตอบสนองต่อความต้องการของผู้มารับบริการ

จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน

บระกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ w.ศ. 2566

0 0
Read Time:1 Minute, 35 Second

คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ w.ศ. 2566

การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care service)มีความสำคัญกับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมมากขึ้นรวมทั้งสามารถลดความแออัดในโรงพยาบาลลงได้ ประเทศไทยมีนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการกำหนดสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 ช (5) ให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสารารณสุขที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย และกำหนดให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม ปัจจุบันพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิพุทธศักราช 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562

เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ จึงได้จัดทำคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดสุขภาวะแก่ประชาชน ผ่านกระบวนการพัฒนาและประเมินคุณภาพ มีแนวปฏิบัติในการดำเนินงานและจัดการคุณภาพบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ตลอดจนส่งผลให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้รับบริการได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีคุณภาพต่อไป

เอกสารจากงานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 23 วันที่ 15มีนาคม2566 : ห้องปฐมภูมิ Sapphire 105-107 A3-105 มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิประเทศไทย นำเสนอโดย อ.หมอนิ่ม : พญ.ณภัทร สิทธิศักดิ์ (รพ.เซกา จ.บึงกาฬ)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

หนังสือชุด “ประสบการณ์คนทำงานด้านการบริหารจัดการบริการปฐมภูมิ”

0 0
Read Time:2 Minute, 21 Second

หนังสือชุด “ประสบการณ์คนทำงานด้านการบริหารจัดการบริการปฐมภูมิ” ประกอบด้วย

เล่ม 1 “การบริหารจัดการเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (CUP Management)”

หน่วยบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิซึ่งเดิมเป็นบทบาทที่ใช้ในนามของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) ฐานะที่เป็นองค์กรบริหารจัดการและพัฒนาระบบสาธารณสุขอำเภอ ซึ่งปัจจุบันมีการใช้คำใหม่ในความหมายของหน่วยคู่สัญญาที่ทำหน้าที่รับจัดบริการสุขภาพด้านปฐมภูมิตามเงื่อนไขของการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่าเป็น Contracted unit of primary care (CUP) ซึ่งสามารถขึ้นทะเบียนได้ทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับกระทรวงสาธารณสุขที่มีโครงสร้างหน่วยงานภายใต้ระบบราชการอยู่แล้ว CUP จึงเป็นกลไกที่เกิดขึ้นท่ามกลางโครงสร้างงาน วัฒนธรรมการทำงานการบริหารจัดการที่มีอยู่เดิม และด้วยข้อจำกัดมากมาย การบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในพื้นที่จึงเป็นความท้าทายและความพยายามในการพัฒนาของผู้เกี่ยวข้อง

เล่ม 2 “ประสบการณ์การบริหารจัดการหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (PCU Management)”

ประสบการณ์และบทเรียนที่เกิดขึ้นเรื่อง การบริหารจัดการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ(Primary Care Unit: PCU) หรือ สถานีอนามัย หรือ ศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นผลที่มาจากการแลกเปลี่ยนระหว่างคนทำงานที่PCU เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานว่าตรงไหนทำแล้วว่าดี ทำแล้วสำเร็จ ทำแล้วเห็นผล ไม่เฉพาะเรื่องบริการ แต่เป็นเรื่องการทำงานเป็นทีมที่ดี ทำงานบริการกับประชากรเป้าหมายได้ดีทำงานไปแล้วมีผลลัพธ์ มีการติดตามและเกิดผลที่ดีด้วย นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังเป็นสื่อที่สะท้อนการทบทวนตนเองของคนทำงาน เรื่องกระบวนการทำงานที่เป็นจุดเด่นและอยากถ่ายทอด อยากแลกเปลี่ยนด้วยความภาคภูมิใจ ส่วนแรกของหนังสือเป็นรายละเอียดของความคิด รูปธรรม นวตกรรมการบริการและ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชนจากมุมมองจากคนทำงานปฐมภูมิในบริบทการทำงานที่หลากหลาย ทั้งนี้ได้มาจากการประชุม “การจัดการความรู้การบริหารจัดการระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ” ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน(สพช.) และส่วนที่สองเป็นตัวอย่างเรื่องเล่าการทำงานจากคนทำงานที่PCU ซึ่งเข้าร่วมกระบวนการประชุมและได้เขียนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวบางส่วนของงานที่ทำ

เล่ม 3 “ประสบการณ์การบริหารจัดการเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (CUP) ในเขตเมือง”

สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) ได้จัดเวทีจัดการความรู้ในเรื่อง “การบริหารจัดการระดับ CUP ในบริบทโรงพยาบาลใหญ่ เขตเมือง และ PCU ในเครือข่าย” โดยมีผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหรือวางระบบกลไกของ CUP และเครือข่าย PCU ในเขตเมืองจาก 14 พื้นที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้ถอดบทเรียนของการแลกเปลี่ยนจัดการความรู้อย่างน่าสนใจ ซึ่งควรค่าแก่การถ่ายทอดประสบการณ์ในการบริหารจัดการเพื่อเป็นกรณีศึกษาแก่ CUP ต่างๆ ได้นำไปปรับประยุกต์ใช้ต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version