ชี้แจงแนวทางPP Fee Schedule KTB

0 0
Read Time:1 Minute, 18 Second

ชี้แจงแนวทางการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบบโปรแกรม Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

กำหนดการ

  • นโยบายการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการบันทึกและการประมวลผลจ่ายผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) โดย ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • แนวทางการจ่ายชดเชยค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่จ่ายตามรายการบริการ (PP FS) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ โดย ผู้แทนจากฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • การพิสูจน์ตัวตนก่อนการเข้ารับบริการผ่านโปรแกรม KTB (Authentication) โดย ทีม KTB
  • การเข้าใช้งานโปรแกรม การบันทึกผลงานบริการ และการประมวลผลจ่ายผ่านโปรแกรม KTB โดย ทีม KTB
  • อภิปรายและซักถาม

วันที่ 3 เมย.66_สำหรับ_โรงพยาบาล

วันที่ 4-5 เมย.66_สำหรับ_รพสต-คลินิก

วันที่ 5 เมย.66_สำหรับ_ร้านยา เท่านั้น

VDO แนะนำการใช้งานระบบ Krungthai Digital Health Platform

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงแนวทางเบิกจ่ายสำหรับรพ.สต.ถ่ายโอน

1 0
Read Time:2 Minute, 42 Second

การประชุมชี้แจงการเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการ รพ.สต./ สอน.ที่ถ่ายโอนภารกิจไปยัง อบจ. ในเขตพื้นที่ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 25666 เวลา 08.30 – 16.30 น.ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และทิศทางนโยบายการบริหารจัดการกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย นายแพทย์ดุสิต ขำชัยภูมิ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น
ภาพรวมการจัดการกองทุน สปสช. การเชื่อมโยง ระบบบริการปฐมภูมิ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ รพ.สต. การจัดทำ MOU โดย นายวีระศักดิ์ ชนะมาร ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม

ชี้แจงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ตามผลงานการบริการบริการแพทย์แผนไทย, บริการ PP Fee schedule โดย คุณภาคภูมิ คนรู้ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ คุณธัญญ์นิธิ วีรพัฒน์โสภณ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

งบค่าบริการทางแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าเสื่อม) โดย คุณพชระ น้อยสมบัติ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว OP PP, บริการผู้ป่วยนอกเหตุสมควร (OP Anywhere) , บริการผู้ป่วยนอกอุบัติเหตุฉุกเฉินข้ามจังหวัด , สิทธิการรักษา อปท. โดย คุณนาฏญา สังขวัฒน์ ผู้จัดการกลุ่มภารกิจ และคุณนุจรินทร์ เนื่องสมศรี นักบริหารกองทุน

การยืนยันตัวตนในการเข้ารับบริการ ระบบ Authen โดย คุณพชระ น้อยสมบัติ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การขอเข้าใช้โปรแกรม Username password โดย คุณณัฐพล ชัยศิริถาวรกุล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

โปรแกรม Moph Claim โดย คุณภาวิกา ภัทรธิชาสกุล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การส่งข้อมูลเบิกชดเชยค่าบริการ eClaim ออนไลน์ โดย คุณสุฑารัตน์ สัตตะวุธ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การจัดทำข้อมูลยามาตรฐาน Drug catalogue โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

โปรแกรม KTB โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

ระบบการตรวจสอบ audit โปรแกรม Audit PP โดย ภญ.ญาศินี ตั้งวงษ์ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

การตรวจสอบการได้รับงบประมาณ รายงานการโอนงบประมาณ Smart Money Transfer , รายงาน Statement ,การส่งใบเสร็จ โดย คุณสุฑารัตน์ สัตตะวุธ นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ

ระบบ Monitor ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แนะนำองค์กรและการประสานงาน โดย คุณอภิศักดิ์ เข็มพิลา ผู้จัดการกลุ่มภารกิจ

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ปี2566

0 0
Read Time:54 Second

คู่มือผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับประชาชน ปี 2566

  • คุณสมบัติของผู้มีสิทธิบัตรทอง
  • ตรวจสอบสิทธิด้วยตนเอง
  • ช่องทางลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ
  • เอกสารที่ใช้ลงทะเบียนเลือกหนว่ยบริการประจำ
  • หน่วยบริการ คืออะไร
  • การใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข
  • การบริการที่คุ้มครอง ครอบคลุมบริการที่จำป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
  • ช่องทางติดต่อสอบถามมีปัญหา
  • ใช้สิทธิบัตรทอง ร้องเรียน ร้องทุกข์
  • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค*
  • การรักษาพยาบาล โรคเรื้อรังและโรคค่าใช้จ่ายสูง
  • บริการสาธารณสุขรูปแบบใหม่
  • 4 นโยบายยกระดับบัตรทองสู่หลักประกันสุขภาพยุคใหม่
  • สปสช. ดูแลสุขภาพผู้สูงวัย
  • สิทธิการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
  • รู้จัก…กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.)
  • ใครบ้างมีสิทธิขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.)
  • แผนที่แสดงการจัดพื้นที่ในความรับผิดชอบของ สปสช. เขต 1-13
  • ที่อยู่และการติดต่อสปสช. เขต 1-13
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารชี้แจงการชดเชย กรณีบริการถุงยางอนามัย

0 0
Read Time:1 Minute, 1 Second

การประชุมชี้แจงแนวทางการขอรับการชดเชย กรณีบริการถุงยางอนามัยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2566
ผ่านระบบโปรแกรม Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)
วันจันทร์ ที่ 30 มกราคม 2566 เวลา 13.30 น. – 16.30 น.
ผ่านระบบห้องประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Zoom meeting)
และผ่านระบบ Facebook lives สปสช.

  • เปิดการประชุม โดย ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • การบริหารจัดการและการขอรับการชดเชยถุงยางอนามัยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย คุณธวัชชัย เรืองโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • แนวทางการขอรับค่าใช้จ่าย กรณีบริการถุงยางอนามัยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย คุณโยธิน ถนอมวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • แนวทางการกระจายและจัดสรรถุงยางอนามัยผ่านระบบ Pool PO โดย คุณจิโรจน์ นาคไพจิตร ผู้จัดการกอง ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
  • การพิสูจน์ตัวตนก่อนการเข้ารับบริการผ่านโปรแกรม KTB (Authentication) การเข้าใช้งานโปรแกรม การบันทึกผลงานบริการ และการประมวลผลจ่ายผ่านโปรแกรม KTB โดย ทีม KTB
  • อภิปรายและซักถาม
  • ปิดการประชุม
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

คู่มือการบันทึกข้อมูล IMC IP

0 0
Read Time:12 Second

การบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายผ่านระบบโปรแกรม e-Claim
กรณีให้บริการดูแลผู้ป่วยระยะกลางแบบผู้ป่วยใน
ในลักษณะ Intermediate care ward หรือ Intermediate care bed
ปีงบประมาณ 2566

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ชี้แจงการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

0 0
Read Time:1 Minute, 20 Second

ประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายผ่านโปรแกรม e-Claim ร่วมกับการใช้โปรแกรมรายงานข้อมูลติดตามสุขภาพประจำวัน (โปรแกรม AMED) กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ 2566

วาระประชุม

  • ๑๓.๐๐ – ๑๓.๑๕ น. – ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และกล่าวเปิดการประชุม โดย นายธวัชชัย เรืองโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • ๑๓.๑๕ – ๑๓.๓๐ น. – หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ ขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน โดย นางสาวมนัสนีย์ รัตนเมธีนนท์ นักบริหารงาน ฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • ๑๓.๓๐ – ๑๔.๐๐ น. – แนวทางการตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ กรณีบริการดูแลแบบ ผู้ป่วยในที่บ้าน โดย ฝ่ายตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ
  • ๑๔.๐๐ – ๑๔.๒๐ น. – การบันทึกข้อมูลผ่านระบบ e-Claim เพื่อขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการดูแลแบบผู้ป่วย ในที่บ้าน โดย นางเดือนเพ็ญ คำมา ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
  • ๑๔.๒๐ – ๑๕.๓๐ น. – การใช้งานระบบบริการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่บ้าน (DMS Home ward) โดย ดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ และทีม รก.ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยนวัตกรรมไร้สายและความมั่นคง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
  • ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. – อภิปราย ซักถาม และปิดการประชุม

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รายการบริการและอัตราจ่าย Fee schedule

0 0
Read Time:56 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ประกาศเพิ่มเติมรายการยา รายการบริการและอัตราจ่าย Fee schedule ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยจ่ายตามรายการที่กำหนด (Fee Schedule) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประชุมชี้แจงรายการบริการและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ผ่าน Facebook Live หน้าเพจ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

รายการยา รายการบริการและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมติคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการกองทุน ครั้งที่ 8/2565 วันที่ 22 กันยายน 2565

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)

0 0
Read Time:2 Minute, 26 Second

การปฏิรูประบบสุขภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีการจัดทำพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ โดยสาระสำคัญที่ประชาชนจะได้รับ คือ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ การเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเป็นธรรม ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าไม่ถึงการรักษาโดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน/ ติดเตียง ผู้พิการ เป็นต้น ประกอบกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เตียงรองรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีจำนวนไม่เพียงพอ กรมการแพทย์จึงมีนโยบายสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Personal–based Medical Services) เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดี ลดจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัวโดยเฉพาะผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน (Inpatient)

แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)

การดำเนินการให้บริการในรูปแบบผู้ป่วยในที่บ้าน หรือ การดูแลเสมือนโรงพยาบาลที่บ้าน (Hospital care at home) เป็นการให้บริการการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน ที่ใช้บ้านเป็นหอผู้ป่วย ซึ่งมีมาตรฐานการดูแลเทียบเคียงผู้ป่วยในของโรงพยาบาล (IPD) ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพ รวมถึงได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลรักษา
กรมการแพทย์ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดทำ “แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)” โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลและหน่วยบริการทุกระดับสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษา มีสภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสมดั่งปณิธานของกรมการแพทย์ “ทำดีที่สุด เพื่อทุกชีวิต”

สารบัญ

  • บทที่ 1 บทนำ
    • คำนิยาม
    • วัตถุประสงค์
    • รูปแบบการให้บริการ
    • การเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาล
    • การประเมินความพร้อมของผู้ป่วย ผู้ดูแล และที่พักอาศัยระหว่างการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน
    • เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้ป่วยเข้าระบบการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน
  • บทที่ 2 การประเมินความพร้อมของ ผู้ป่วย ครอบครัว สภาพที่พักอาศัย และทีมดูแลที่บ้าน
    • ขั้นตอนดำเนินการ
    • แนวทางปฏิบัติในการให้การบริการ home ward
    • องค์ประกอบของทีมดูแลต่อเนื่อง
  • บทที่ 3 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ ในระบบทางเดินปัสสาวะ แบบ Home ward
  • บทที่ 4 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบ แบบ Home ward
  • บทที่ 5 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยแผลกดทับ (pressure ulcer management) แบบ Home ward
  • บทที่ 6 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยหลังการผ่าตัดไส้ติ่ง แบบผ่าตัดวันเดียวกลับ แบบ Home ward
  • บทที่ 7 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่บ้าน
  • บทที่ 8 การดูแลภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
  • บทที่ 9 แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการ ผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation
Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

CPG-Intermediate Careด้านแพทย์แผนไทย

0 0
Read Time:1 Minute, 43 Second

คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ด้วยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนให้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และชมรมหัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้เห็นความสำคัญและโอกาสในการที่จะนำการแพทย์แผนไทย เข้ามามีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ซึ่งเป็นอาการที่การแพทย์แผนไทย มีศักยภาพสามารถดำเนินการได้อย่างโดดเด่น โดยในระยะเริ่มต้นมีแนวคิดที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น มุมปากตก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ฯลฯ จึงได้ร่วมกันจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่มีสภาวะของโรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้แพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ ใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนการบูรณาการเชื่อมโยงบริการแพทย์แผนไทยกับสหวิชาชีพในการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีสภาวะของโรค อาการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กในสถานพยาบาลและในชุมชน มีการเชื่อมโยงการให้บริการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่โรงพยาบาลจนถึงชุมชน สามารถให้คำปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลาในเครือข่าย รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดบริการแพทย์แผนไทยในชุมชนแก่ทีมสุขภาพอื่น ๆ เช่น ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุข หมอพื้นบ้าน เป็นต้น
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป้วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและใช้เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การบันทึกข้อมูลผ่านระบบหมอพร้อม (MOPH Claim)

0 0
Read Time:1 Minute, 42 Second

การประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลผลงานเพื่อการเบิกจ่ายค่าบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผ่านระบบหมอพร้อม (MOPH Claim) ในวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 4 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ชั้น 4 อาคาร 4 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและผ่านระบบ Cisco Webex Meeting

  • 13.30 – 13.45 น. เปิดการประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลผลงานเพื่อการเบิกจ่ายค่าบริการในระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผ่านระบบหมอพร้อม (MOPH Claim) โดย นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข
  • 13.45 – 14.45 น. ระบบการเบิกจ่ายบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และขั้นตอนการบันทึกข้อมูลผลงานเพื่อการเบิกจ่ายค่าบริการฯ ผ่านระบบหมอพร้อม (MOPH Claim) โดย นพ.สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และทีมพัฒนาระบบ MOPH Claim (บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย)
    • – ค่าบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยเบาหวาน /ความดันโลหิตสูง
    • – ค่าบริการวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT) ในผู้ใหญ่
    • – ค่าบริการฉีดวัคซีนพื้นฐานตามกำหนดการให้วัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (EPI)
  • 14.45 – 15.15 น. การตรวจสอบและประมวลผลการจ่ายเงินค่าบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผ่านระบบหมอพร้อม โดย ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • 15.15 – 15.45 น. ตัวอย่างระบบการบันทึกข้อมูลผลงานเพื่อการเบิกจ่ายค่าบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 บนระบบสารสนเทศ JHCIS โดย คุณสัมฤทธิ์ สุขทวี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ
  • 15.45 – 16.15 น. ระบบสนับสนุนการบันทึกข้อมูลผลงานเพื่อการเบิกจ่ายค่าบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 บนระบบ MOPH Claim โดย คุณชัยพร สุรเตมีย์กุล กรรมการผู้จัดการบริษัท บางกอก เมดิคอล ซอฟต์แวร์ จำกัด

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
4 100 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version