การตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ

การตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ มีหลายระบบแตกต่างกันเช่น ระบบกราวิเมตริก (Gravimetric) ระบบเบต้า เร (Beta Ray) ระบบเทบเปอ อิลิเม้น ออสชิเลติ้ง ไม่โครบาลานซ์ (Tapered Element Oscillating Microbalance) และระบบได้โคโตมัส (Dichotomous) เป็นต้น แต่ระบบที่ง่ายในการหาความเข้มข้น ของฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (Total Suspended Particulate Matter, TSP) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (Particulate Matter with an aerodynamic diameter less than or equal to a nominal 10 micrometers; PM10) คือระบบกราวิเมตริก ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศชนิดไฮโวลุม (High Volume Air Sampler)

คู่มือการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ

คู่มือการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ เล่มนี้ ได้รวบรวมเทคนิควิธีการ เครื่องมือและอุปกรณ์ ในการตรวจวัด TSP และ PM, ด้วยระบบกราวิเมตริก โดยเรียบเรียงอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เข้าใจง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศที่ถูกต้อง สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น เอกชน ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป ให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการติดตามตรวจสอบ เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองในบรรยากาศได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศของประเทศ ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Previous post เครื่องมือทบทวนและพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ
Next post ชี้แจงแนวทางPP Fee Schedule KTB