เอกสารประกอบการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามสถานการณ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 7 ขอนแก่น (อาจจะมีไฟล์ที่ซ้ำกับประชุมรอบที่แล้ว)
หมวดหมู่: ดาวน์โหลด
เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงฯ วันที่9ก.ค.64
ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2564 (เพิ่มเติม) โดย กลุ่มงานบริหารกองทุน สปสช. เขต ๗ ขอนแก่น วันที่ 9 ก.ค. 2564 ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ วาระประกอบด้วย
- แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ (เพิ่มเติม)
- แนวทางการบันทึกข้อมูล ผ่านโปรแกรม e-claim
ข้อมูลการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ข้อมูลการจ่าย 9 เมษายน 2563 ถึง 27 มิถุนายน 2564)
หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
การบันทึกเบิกจ่ายในโปรแกรม e-Claim กรณี COVID-19
การบันทึกเบิกกรณี COVID กรณีแรงงานต่างด้าว สิทธิประกันสังคม
ซักซ้อมความเข้าใจในการจัดทำแผนเงินบำรุง
สืบเนื่อง จากผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขกรณีปกติ รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 เขตสุขภาพที่ 7 ประเด็นที่ 6 ระบบธรรมภิบาล การตรวจสอบภายในและระบบการเงินการคลัง มีประเด็นทักทวงเกี่ยวกับการจัดทำแผนเงินบำรุง คณะกรรมการ CFO เขตสุขภาพที่ 7 จึงมีมติเห็นควรให้กำหนดจัดประชุมซักซ้อมความเข้าใจในการจัดทำแผนเงินบำรุง ให้มีความเข้าใจในการจัดทำแผนเงินบำรุงอย่างถูกต้อง ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานเข้าร่วมประชุมเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.00-16.30 น. โดยประชุมผ่านระบบ VDO Con. ด้วยระบบ Cisco Webex Meeting วาระประกอบไปด้วย
- แจ้งวัตถุประสงค์ และข้อทักท้วงการจัดทำแผนเงินบำรุง โดย นางสาวชวัลลักษณ์ ทองบ่อ นักวิซาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
- แนวทางการจัดทำแผนเงินบำรุง โดย นายแพทย์ชุมพล นุชผ่อง รองผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
- กระบวนการจัดทำแผนเงินบำรุงโรงพยาบาลขอนแก่น โดย นางธนิษฐา ศุภวิชย์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลขอนแก่น
เอกสารแนวทางเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิษัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกในจังหวัดขอนแก่น (เพิ่มเติม)
ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ 0032.005/ว2112 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 เรื่องแนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิษัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกในจังหวัดขอนแก่น (เพิ่มเติม) และสิ่งที่ส่งมาด้วยซึ่งประกอบไปด้วย
- สำเนาประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งซาติ เรื่อง กำหนดกรณีที่มีเหตุสมควรและอัตราค่าใช้จ่ายที่หน่วยบริการมีสิทธิ์ได้รับ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๔
- สำเนาหนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.๒.๕๗/ว ๓๐๕๘ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขประเภทบริการผู้ป่วยนอก กรณีที่มีเหตุสมควรในพื้นที่เขตภาคอีสานฯ
- แนวทางการเรียกเก็บ/ชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติประเภทผู้ป่วยนอก ที่เข้ารับบริการที่หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ
- อัตราจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยนอก ในจังหวัดขอนแก่น
แนวทางขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ (ฉบับแก้ไขและเพิ่มเติม) โดยได้กำหนดค่าใช้จ่ายกรณีพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วยระหว่างหน่วยบริการ รับส่งต่อผู้ป่วยระหว่างบ้าน ด่านท่าอากาศยาน ด่านพรมแดน ด่านท่าเรือ สถานที่กักกันโรคโรงพยาบาลสนาม และหน่วยบริการ ตามรายละเอียดที่ทราบแล้วนั้นจากสถานการณ์ของโรคติดเชื้อโควิด-19 มีการแพร่ระบาดจำนวนมากในพื้นที่ต่างๆ มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีความจำเป็นต้องไปรักษาในภูมิลำเนา หรือต่างพื้นที่ โดยมีหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับผู้ป่วยรักษาต่อแบบผู้ป่วยใน สปสช.ขอเรียนว่าหน่วยบริการที่ดำเนินการจัดให้มีรถพยาบาล หรือพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วยมารักษาต่อ สามารถขอรับค่าใช้จ่ายมายัง สปสช.ได้ รายละเอียดดังไฟล์แนบ
แนวทาง Home Isolation
ประกาศ !! แนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขฯ ปีงประมาณ 2564 (เพิ่มเติม) สำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation)
สปสช.ขอแจ้งแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ฯ ปีงบประมาณ 2564 (ฉบับเพิ่มเติม)
- ค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย)
- ค่าใช้จ่ายสำหรับบริการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray) เพื่อการคัดแยกระดับความรุนแรงของโรค และภาวะปอดอักเสบของผู้ป่วยโควิด-19 ครอบคลุมสำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) และก่อนเข้ารับไว้รักษาในหน่วยบริการ
ดาวน์โหลดแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขฯ ปีงประมาณ ๒๕๖๔ (เพิ่มเติม) สำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation)
ดาวน์โหลดเอกสารประชุมชี้แจงวันที่ 29 มิถุนายน 2564
แนวทางการดำเนินงานปฐมภูมิไปที่ไหนก็ได้
กำหนดการประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการสาธารณสุขประเภทบริการผู้ป่วยนอก กรณีเหตุสมควรในพื้นที่เขตภาคอีสาน ปีงบประมาณ 2564 วันที่ 23 มิถุนายน 2564 (ผ่านระบบ ZOOM Cloud Meetings)
- นโยบาย บริการผู้ป่วยนอก กรณีเหตุสมควรในพื้นที่เขตภาคอีสาน ปีงบประมาณ 2564 โดย ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต ๗ ขอนแก่น
- แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการสาธารณสุขประเภทบริการผู้ป่วยนอก กรณีเหตุสมควรในพื้นที่เขตภาคอีสาน โดย กลุ่มงานบริหารกองทุน สปสช. เขต ๗ ขอนแก่น
- แนวทางการบันทึกข้อมูล ผ่านโปรแกรม e-claim โดย กลุ่มงานบริหารกองทุน สปสช. เขต ๗ ขอนแก่น
- การพิสูจน์ตัวตนเพื่อยืนยันเข้ารับบริการ (Authentication Code) โดย กลุ่มงานบริหารกองทุน สปสช. เขต ๗ ขอนแก่น
เอกสารคำแนะนำในการให้รหัส COVID
สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย เครือสถาบันของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาเครื่องมือจ่ายชดเชยด้วยระบบ CaseMix โดยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับ 6.3 กับการให้รหัส กรณี COVID-19 และวัคซีน COVID-19 รายละเอียดประกอบไปด้วย
- ก. รายละเอียดของแต่ละรหัส (ตาม ICD-10 Version: 2019 จาก Web site ของ WHO)
- ข. การรองรับรหัส ICD-10 ในกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับที่มีการใช้ในปัจจุบัน
- ค. ข้อแนะนำการให้รหัส ICD-10 เพื่อให้ไม่เกิดการจัดกลุ่มไม่ได้ (Ungroupable)
*หมายเหตุ : เอกสารฉบับนี้เป็นการใช้ชั่วคราวหากมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง จะแจ้งให้ทราบต่อไป
คู่มือการใช้งานโปรแกรมเบิกค่ารถส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบเบิกจ่ายตรง
โปรแกรมเบิกค่ารถส่งต่อผู้ป่วย เป็นโปรแกรมที่ใช้บันทึกเบิกค่ารถส่งต่อ ผู้ที่ขอเบิกจะต้องเป็นสถานพยาบาลต้นทาง หรือปลายทางเท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “แนวทางปฏิบัติในการเบิกค่ารถส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบเบิกจ่ายตรง” และหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค.0422.2/ว32 ลงวันที่ 31 มกราคม 2555 และกค.0422.2/ว76 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555