CPG COVID-19 อัพเดต2พ.ย.64

0 0
Read Time:1 Minute, 17 Second

แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สําหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 19 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564

โดยความร่วมมือของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างานในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ได้ทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศ และต่างประเทศ
การปรับแนวทางเวชปฏิบัติฯ ฉบับนี้ มีประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

  1. เพิ่มรายละเอียดคำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยด้วย antigen test kit (ATK)
  2. ตัด lopinavir/ritonavir ออกจากรายการยาที่แนะนำให้ใช้
  3. ปรับข้อบ่งชี้การใช้ remdesivir ให้ใกล้เคียงกับคำแนะนำของ the United States National Institute of Health (NIH) และ Infectious Disease Society of America (IDSA)
  4. เพิ่มรายละเอียดคำแนะนำการใช้ยาต้านไวรัสในหญิงตั้งครรภ์
  5. เพิ่มการให้ IVIG ในผู้ป่วย กรณี MIS-C
  6. ลดระยะเวลาการกักตัว (isolation) ลงจาก 14 วัน และ 21 วัน สำหรับผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ลงเหลือ 10 วัน และ 20 วันตามลำดับ รวมทั้งน้นเรื่องการไม่ตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการใด ๆ ซ้ำอีกในระยะเวลาสามเดือนหลังจากได้รับการวินิจฉัย
  7. แนะนำให้ทำการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ได้มาตรฐาน สำหรับยาที่ยังไม่มีผลการวิจัยสนับสนุนว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโควิด-19
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมstateless 20ธค.64

0 0
Read Time:2 Minute, 2 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางการรับส่งข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ วันที่ 20 ธันวาคม 2564

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ รับผิดชอบบริหารจัดการกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหาร จัดการงบประมาณ และตรวจสอบการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ให้กับหน่วยบริการที่ได้ให้บริการ ด้านสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิทั้งภายในและภายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และได้หารือร่วมกับสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ stateless โดยให้หน่วยบริการที่ให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิส่งข้อมูลผ่าน ทางโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตามรายการสิทธิประโยชน์ ของกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ นั้น
ในการนี้ เพื่อให้หน่วยบริการสามารถส่งข้อมูลดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข จึงได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการส่งข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอเรียนเชิญผู้ที่รับผิดชอบส่งข้อมูล เพื่อขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม รับฟังการชี้แจงแนวทางการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ ในวันจันทร์ ที ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. โดยขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้าร่วมประชุม ดังกล่าว ด้วยระบบวีดีทัศน์ทางไกล VDO Conference ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting สามารถเข้าร่วมประชุม ทาง Facebook Live ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

วาระในการประชุมประกอบไปด้วย

  • นโยบายด้านการบริหารจัดการการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ โดย ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
  • บทบาทของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่าย โดย พญ.กฤติกา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สปสช.
  • เงื่อนไข สิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ โดย กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
  • การรับส่งข้อมูลในระบบโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

โปรแกรม e-Claim ปีงบประมาณ 2565

0 0
Read Time:47 Second

การประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การขอรับค่าใช้จ่ายฯ กรณีผู้ป่วยนอกและกรณีส่งเสริมสุขภาพและห้องกันโรค ผ่านโปรแกรม e-Claim ปีงบประมาณ 2565 วันที่ 13 ธันวาคม 2564 13.00 – 16.30 น. วาระประกอบไปด้วย

  • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการผู้ป่วยนอก
  • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  • แนวทางการตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ
  • ระบบตรวจสอบและยืนยันการเข้ารับบริการ (Authen code)
  • วิธีการรับ-ส่งข้อมูลโปรแกรม e-Claim
  • โปรแกรมบริหารจัดการรหัสยามาตรฐาน (Drug Catalogue)

ลิงค์เฟซบุ๊ก https://fb.watch/9SBEZeKCOx/

Happy
11 61 %
Sad
3 17 %
Excited
2 11 %
Sleepy
0 0 %
Angry
2 11 %
Surprise
0 0 %

รวมแนวทางการเบิกจ่ายCovid อัพเดต

0 0
Read Time:7 Minute, 7 Second

แนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2565 อัพเดตวันที่ 1 เมษายน 2565

ลำดับเลขที่หนังสือเรื่อง
1สปสช.2.57/ว.2014
23 มีนาคม 2564
แนวทางขอรับค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ฉบับแก้ไขและเพิ่มเติม)
2 สปสช.2.57/ว.2583
23 เมษายน 2654
ขอความร่วมมือในการบริการผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19
1) การขยายอายุของหนังสือส่งต่อผู้มีสิทธิทั้งกรณีผู้ป่วย และผู้ป่วยใน
2) พิจารณาการจัดบริการด้านยา และเวชภัณฑ์ โดยจัดส่งยา และเวชภัณฑ์ทางไปรษณีย์
3สปสช.2.57/ว.2679
3 พฤษภาคม 2564
แนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่าย(เพิ่มเติม) สำหรับการกักกันโรคกรณีผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง ตามที่หน่วยบริการจัดให้ ซักซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขฯ กรณีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในบริการผู้ป่วยใน
4สปสช.2.57/ว.2760
6 พฤษภาคม 2564
การปรับอัตราการจ่ายค่าตรวจเชื้อไวรัส Antigen
1) การตรวจเชิงรุกนอกสถานบริการ หรือนอกสถานที่ของหน่วยบริการภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานบริการอื่น
2) การตรวจในหน่วยบริการภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานบริการอื่น
5สปสช.2.57/ว.2841
13 พฤษภาคม 2564
ซักซ้อมความเข้าใจการบันทึกข้อมูลการขอรับค่าใช้จ่าย กรณีการตรวจคัดกรอง COVID-19 สำหรับสถานบริการเอกชน
6สปสช.2.57/ว.3004
21 พฤษภาคม 2564
ซักซ้อมความเข้าใจกรณีรับผู้ป่วยโควิด-19 ไว้ในโรงพยาบาล/โรงพยาบาลสนาม/Hospitel จากการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก (Active Case finding) สำหรับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
7สปสช.2.57/ว.3876
28 มิถุนายน 2564
แนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564 (เพิ่มเติม) การดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (HI)และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (CI)
8สปสช.2.57/ว.4035
2 กรกฎาคม 2564      
ซักซ้อมความเข้าใจแนวทาง COVID -19 กรณีค่าพาหนะการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยกลับภูมิลำเนา
9สปสช.2.57/ว.4168
7 กรกฎาคม 2564  
บริการตรวจหาเชื้อโรคโควิด -19 ผู้ให้กับประชาชนไทยทุกคนเข้ารับการกักกันใน Alternative Quarantine (AQ) 
10สปสช.6.70/ว.4320
9 กรกฎาคม 2564                                
แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข (เพิ่มเติม) ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ค่าบริการกรณีเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนค่ายาสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร และยาจากผงฟ้าทะลายโจร  
11สปสช.6.70/ว.4322
11 กรกฎาคม 2564
แนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19
1) การตรวจคัดกรองวิธี Antigen Test kit (ATK)
2) การดูแลแบบ HI และ CI ลักษณะบริการแบบผู้ป่วยนอก
12สปสช.6.70/ว.4608
22 กรกฎาคม 2564
ซักซ้อมความเข้าใจการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขสำหรับโรคติดเชื้อโควิด-19
1) กรณีดูแลใน HI/CI การขอ Authen และการส่งข้อมูลใน e-claim 2) แจ้งการปรับปรุงราคา RT-PCR,  Antigen , ค่าบริการดูแลผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และค่าพาหนะรับส่งต่อโดยใช้รถโดยสารขนาดใหญ่
13สปสช.6.70/ว.4615
23 กรกฎาคม 2564
ปรับวิธีการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 กรณีดูแลใน HI/CI ในงวดแรกแบบเหมาจ่าย 3,000 บาท เมื่อหน่วยบริการ Authencode
14สปสช.6.70/ว.4759
27 กรกฎาคม 2564
ซักซ้อมการตรวจคัดกรอง COVID-19 โดยใช้ ATK
15สปสช.6.70/ว.4760
27 กรกฎาคม 2564
การรับดูแลรักษาแบบ HI ผ่านระบบ PI Portal ของหน่วยบริการในพื้นที่ สปสช.เขต 13
16สปสช.6.70/ว.16689   
6 สิงหาคม 2564
แนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคโควิด-19 ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพิ่มเติม
1) ปรับแนวทางการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 2) หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายฯ โควิด-19 เพิ่มเติม    ค่าออกซิเจน ค่าป้องกันการแพร่เชื้อการจัดการศพ ค่าห้อง ค่า PPEหรืออุปกรณ์ป้องกันฯ วิธีการขอรับค่าใช้จ่ายฯ HI/CI  
17สปสช.6.70/ว.5305 
23 สิงหาคม 2564
แจ้งปรับอัตราการจ่ายค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วยโควิด 19 สำหรับการดูแบรักษาแบบ HI/CI ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน  จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 600 บาทต่อวัน (ไม่รวมค่าอาหาร 3 มื้อ) จำนวนไม่เกิน 14 วันค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน รวมค่าอาหาร 3 มื้อ  จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อวัน จำนวนไม่เกิน 14 วัน   
18สปสช.6.70/ว.5731 ลว
8 กันยายน 2564
ขอความร่วมมือในการบริการผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 1) การขยายอายุของหนังสือส่งต่อผู้มีสิทธิทั้งกรณีผู้ป่วย และผู้ป่วยใน 2) พิจารณาการจัดบริการด้านยา และเวชภัณฑ์ โดยจัดส่งยา และเวชภัณฑ์ทางไปรษณีย์
19สปสช.6.70/ว.6006ลว
20 กันยายน 2564
แจ้งหลักเกณฑ์ การจ่ายชุดตรวจ ATK สำหรับประชาชนตรวจเอง
20สปสช.6.70/ว.6597 ลว
18 ตุลาคม 2564
แจ้งการโอนเงินล่าช้า เนื่องจากรองบประมาณ
21สปสช.6.70/ว.6857 ลว
1 พฤศจิกายน 2564
การขยายเวลา Authen กรณี HI-CI เป็น 5 วัน
22สปสช.6.70/ว.7151 ลว
11 พฤศจิกายน 2564
แจ้งซักซ้อมการให้บริการผู้ป่วยโควิด 19     ลดระยะเวลาการกักตัว (isolation) ลงจาก 14 และ 21 วัน สำหรับผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือเป็นผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ลงเหลือ 10 วันและ 20 วันตามลำดับ
23สปสช  6.70 / ว.7625 
29 พฤศจิกายน 2564                                  
แจ้งปรับปรุงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราจ่ายการให้บริการโรคโควิด 19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565
24 สปสช. 6.70 / ว.8383 27 ธันวาคม 2564แจ้งหลักเกณฑ์และซักซ้อมแนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2565 ที่มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติ
๑. หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควรฯ
๒. หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีการคัดกรองธาลัสซีเมียและการคัดกรองซิฟิลิสในสามีหรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์
๓. รายการโรคและหัตถการ สำหรับบริการ ODS, MIS (เพิ่มเติมรายการ)
๔. รายการเบิกจ่ายที่ขอ Authentication code (ปรับแก้ไข)
25สปสช. 6.70 / ว.8344
24 ธันวาคม 2564
ขอความร่วมมือในการบริการผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด 19
Happy
3 75 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 25 %

ราคาค่าบริการกรณีCovid-19

0 0
Read Time:17 Second

อัตราค่าบริการ Covid-19 ปรับใหม่ เริ่ม 1 ธันวาคม 2564 ตามหนังสือเวียนสปสช. ที่ 6.70-ว.7625_ลว.29 พฤศจิกายน 2564

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยกองทุนย่อย 9 ธ.ค.64

0 0
Read Time:1 Minute, 28 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ให้กับหน่วยบริการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ จึงขอผู้รับผิดชอบงานเข้าร่วมประชุมฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น https://www.facebook.com/nhso7kkn ในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ครับ วาระประกอบไปด้วย

  • ชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ สำหรับรายการใหม่หรือรายการที่มีการเปลี่ยนแปลง
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ
    • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
    • บริการการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
    • บริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
    • บริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสําหรับการบริการระดับปฐมภูมิ

ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย

  • ข้อมูลประกอบการประชุมชี้แจงกองทุนUCปี65 ที่จำเป็นต้องทราบมีดังนี้นะครับ
  • ประกาศกองทุนฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ http://www.uckkpho.com/uc-fund-65/
  • แนวทางการปรับเกลี่ยรายรับเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ http://www.uckkpho.com/uc-fund-2565-adjust/
  • เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายฯที่เปลี่ยนแปลงในปี65 http://www.uckkpho.com/uc/1600/
  • รายการเบิกจ่ายที่ต้องขอ Authen code http://www.uckkpho.com/uc/1608/
  • คู่มือการขอAuthen Codeใหม่ http://www.uckkpho.com/download/1594/
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการสรุปโรคและหัตถการ ปี 2565

0 0
Read Time:19 Second

การอบรมแนวทางการสรุปโรคและหัตถการเพื่อการเบิกจ่ายชดเชยผู้ป่วยในตามระบบ DRGs ปี 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

การอบรมแนวทางการสรุปโรคและหัตถการเพื่อการเบิกจ่ายชดเชยผู้ป่วยในตามระบบ DRGs ปี 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยนายณัฐพงศ์ อนุวัตรยรรยง ฝ่ายตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 100 %

การเปลี่ยนหน่วยบริการ “สิทธิบัตรทอง” ด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน

0 0
Read Time:40 Second

ขั้นตอนและวิธีการเปลี่ยนหน่วยบริการ “สิทธิบัตรทอง” ด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช.
ดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน สปสช. ดาวน์โหลดฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ทั้งระบบ Android และ iOS

เงื่อนไขการลงทะเบียน เปลี่ยนหน่วยบริการ สิทธิบัตรทอง ผ่านมือถือ บนแอปพลิเคชัน สปสช.

  1. ผู้ใช้งานต้องมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิว่าง
  2. อายุ 15 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
  3. ลงทะเบียนด้วยตนเองเท่านั้น ยังไม่สามารถลงทะเบียนแทนบุคคลในครอบครัวได้ (ณ ปัจจุบัน)

สอบถามเพิ่มเติม โทร สายด่วน สปสช. 1330 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชม.

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การขอรับค่าบริการฯปี65

0 0
Read Time:30 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการขอรับค่าบริการฯปี65

ประชุมชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชา ติและเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 (สำหรับหน่วยบริการ และ สสจ.)

Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารชี้แจงกองทุนปี65

0 0
Read Time:38 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๗ ขอนแก่น จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ให้กับหน่วยบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อรับทราบนโยบาย ประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลง และหลักเกณฑ์การดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ผ่านระบบออนไลน์ Facebook live เอกสารประกอบการประชุมดังนี้

Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version