เอกสารประกอบการประชุมการให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิด-ถุงยางอนามัย ปีงบประมาณ 2565

0 0
Read Time:3 Minute, 24 Second

การประชุมชี้แจง แนวทางการดำเนินงาน คลินิกพยาบาลและการผดุงครรภ์ และร้านยา ในการให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิด – ถุงยางอนามัย ปีงบประมาณ 2565
วันที่ 14 มกราคม 2565 เวลา 9.00-16.00 น.
ประชุมผ่าน Zoom Meeting รวมทั้งถ่ายทอดสดผ่าน Facebook สปสช. www.facebook.com/NHSO.Thailand/

  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกล่าวเปิดการประชุม โดย นพ.จักรกริช โง้วศิริ รองเลขาธิการ สปสช.
  • แนวทางการสนับสนุนคลินิกพยาบาลและการผดุงครรภ์ และ ร้านยา เข้าร่วมจัดบริการ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย รศ. ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล และ รศ.ภญ สุณี เลิศสินอุดม ประธานอนุกรรมการพัฒนางานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ผู้แทนสภาเภสัชกรรม
  • แนวทางการจัดบริการสำหรับคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดย คุณบำรุง ชลอเดช ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
  • แนวทางการจัดบริการยาเม็ดคุมกำเนิด และถุงยางอนามัยปีงบประมาณ 2565 โดย คุณศศิธร ไชยสิทธิพร ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
  • การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ สำหรับ คลินิกพยาบาลฯ ร้านยา และสถานบริการอื่นที่จะให้บริการยาเม็ดคุมกำเนิด-ถุงยางอนามัย โดย คุณปานใจ ตันติภูษานนท์
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การชดเชยค่าบริการ การบันทึกโปรแกรม และการพิสูจน์ตัวตนสำหรับ การให้บริการของคลินิกพยาบาล โดย คุณมานพ โยเฮียง / คุณเดือนเพ็ญ คำมา ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การชดเชยค่าบริการ การบันทึกโปรแกรม และการพิสูจน์ตัวตน สำหรับการให้บริการ “ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน” โดย ทีม KTB คุณทนงเกียรติ พาดี / สุภัค ไชยวานิช / ณัฏฐณิชา วิทยาศิริกุล
  • หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การชดเชยค่าบริการ การบันทึกโปรแกรม และการพิสูจน์ตัวตน สำหรับการให้บริการ “ถุงยางอนามัยในหน่วยบริการที่สมัครใจร่วมให้บริการ” โดย คุณรัตน์ระพี เกษกาญจนานุช/ คุณอัครรัฐ อย่างไพบูลย์ /คุณสุวัชชัย ชื่นเมือง ผู้จัดการกอง ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
  • ระบบการจัดส่งถุงยางอนามัย สำหรับหน่วยบริการที่สมัครใจร่วมให้บริการ โดย คุณกฤชชัย พัฒนจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญ สปสช.
  • ประเด็นซักถาม และปิดการประชุม

กลุ่มเป้าหมาย :

  1. หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(ที่ไม่ได้รับงบเหมาจ่าย) หน่วยใหม่ และหน่วยเก่า ได้แก่
    • หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรม (ร้านยา)
    • หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (คลินิกพยาบาลและการผดุงครรภ์)
    • หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน (คลินิกพยาบาลฯ PP /รพ.เอกชน PP)
    • หน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเวชกรรม (คลินิกเวชกรรม)
    • หน่วยบริการปฐมภูมิใน กทม. (คลินิกชุมชนอบอุ่น)
  2. นักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง สปสช.ส่วนกลาง และ สปสช.เขต 1-13
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การเบิกค่าใช้จ่ายกรณี COVID 19 และการแก้ไขข้อมูล วันที่3ก.พ.65

0 0
Read Time:1 Minute, 12 Second

ขอเชิญประชุมชี้แจงแนวทางการเบิกค่าใช้จ่ายกรณีบริการโรค COVID 19 และการแก้ไขซ้อมูลที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ

เชิญเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมรับฟังการชี้แจงแนวทางการเบิกค่าใช้จ่ายกรณีบริการโรค COVID 19 และการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ผ่านการตรวจสอบในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.00-16.00 น. โดยประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom meeting และ ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook live ของ สปสช. โดยผ่านลิงค์ http://www.facebook.com/NHSO.Thailand

กำหนดการแนวทางการเบิกค่าใช้จ่ายกรณีบริการโรค COVID 19 และการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ (หน่วยบริการภาครัฐ)

  • กล่าวเปิดประชุมโดย นายแพทย์การุณย์ คุณติรานนท์ ที่ปรึกษาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • แนวทางและขั้นตอนการเบิกจ่ายกรณีบริการโรคโควิด 19 ข้อมูลไม่ผ่านการตรวจสอบหรือปฏิเสธการจ่ายและแนวทางการแก้ไขข้อมูล (ข้อมูล C: cancel ,ข้อมูล D: deny) โดย ฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
  • แนวทางแก้ไขข้อมูลที่ไม่ผ่านการ Verify (ข้อมูล V: verify) โดย ฝ่ายตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ
  • อภิปราย ซักถาม ปิดการประชุม
Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารชี้แจงกรณีฟอกไต

0 0
Read Time:15 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข กรณีบำบัดทดแทนไต ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2565

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.00 – 16.30 น.

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการประชุมการใช้ระบบ A-MED ในการดูแลแบบ HI

0 0
Read Time:1 Minute, 28 Second

เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้ระบบ A-MED ในการดูแลแบบผู้ป่วยโควิดใน Home Isolation จากการประชุม เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2565 ผ่านวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ไปยังหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่นทุกแห่ง

วันที่ 17 มกราคม 2565 เวลา13.30 -16.30 น. นายแพทย์ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้โปรแกรม Home Isolation. By A-MED โดยนายแพทย์วิโรจน์ เลิศพงศ์พิพัฒน์ ประธานCMจังหวัดฯ ร่วมประชุม ทั้งนี้คณะวิทยากร ผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องร่วมonline ผ่านWebex วัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยบริการนำใช้ติดตามดูแลรักษาโควิด-19 ที่แยกกักตัวที่บ้านและชุมชน(HI CI) นำข้อมูลมาวางแผน จัดการทรัพยากร รายงานการรักษาใช้เป็นหลักฐานเบิกจ่าย สป.สช ได้และสสจ.ขก สามารถติดตามสถานการณ์ รายโรงพยาบาลได้ การนี้มีโรงพยาบาลในสังกัด นอกสังกัด สมัครเข้าใช้ A-MED จำนวน 25 แห่ง สรุปให้หน่วยบริการทำความเข้าใจplatfrom เครื่องมือ และนำไปใช้ จริง ข้อตกลงว่าCUP ละ 1 admin แล้วให้แต่ละที่ออกแบบทีม บทบาทหน้าที่ ขั้นตอนให้บริการ การออกรายงานตามในส่วนที่เพิ่มเติมให้ต่อไป

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การขอรับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation สำหรับผู้ไร้สิทธิ

0 0
Read Time:1 Minute, 19 Second

ตามหนังสือที่ ขก ขก0032/ว 1916 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เรื่อง การขอรับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation สำหรับผู้ไร้สิทธิค่ารักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งการขอรับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาแบบHome Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation สำหรับผู้ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (ฉบับที่ ๕) โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ และจำหน่ายภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ให้เป็นไปตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด่วนที่สุด ที่ สธ 0๒๑๐.๐๕/ว๓๐๐๐ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เรื่องแนวปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลโรคโควิด 19 ทั้งนี้ผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบ Home Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation ที่จำหน่ายตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป ขอให้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้สำหรับรอการเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำคำขอรับงบประมาณ หากได้รับงบประมาณสนับสนุนแล้ว สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะแจ้งให้ทราบต่อไป รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุม Audit กรณี OP OPAE OPLG ปี65

0 0
Read Time:45 Second

ประชุมแนวทางในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ กรณี OP OPAE OPLG ปีงบประมาณ 2565 วันที่ 14 มกราคม 2565

  • แนวทางการจัดเตรียมเวชระเบียนเพื่อรับการตรวจสอบ
  • ประเด็นที่พบจากการส่งเวชระเบียนเพื่อตรวจสอบไม่ครบ
    โดย นางสาวรุ่งจิต ลีลางามวงศา ตำแหน่ง นักวิชาการฝ่ายตรวจสอบการจ่ายชดเชยฯ
  • แนวทางการตรวจสอบหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณี OPD
  • ประเด็นหน่วยบริการการเบิกจ่ายไม่ถูกต้องที่พบจากการตรวจสอบ
  • ประเด็นปัญหาที่พบจากการอุทธรณ์ผลการตรวจสอบของหน่วยบริการ
    โดย นายแพทย์ปริญญา ชมวงษ์ ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
    นางสาวรุ่งจิต สีลางามวงศา ตำแหน่ง นักวิชาการฝ่ายตรวจสอบการจ่ายชดเชยฯ

แนวทางการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขร่วม ๓ กองทุน

กรณีผู้ป่วยนอก

ประเด็นสำคัญในการตรวจสอบเวชระเบียน ผป.นอก
1.หลักฐานประกอบการตรวจสอบเวชระเบียน
2.แนวทางการตรวจเอกสารหลักฐาน
3.แนวทางการขออุทธรณ์

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
1 50 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 50 %

กรณีการเบิกค่ารักษาโควิด-19ในรพ.เอกชน

0 0
Read Time:57 Second

เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการเตียง โดยให้ครอบคลุมถึงกรณีสถานพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ณ ที่พำนักของผู้ป่วย ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเพื่อการแก้ไขอัตราค่าใช้จ่ายบางรายการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนเพื่อเพิ่มรายการที่มีความจำเป็นต้องใช้กับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ทั้งนี้ เพื่อการดูแลรักษาพยาบาลและเพื่อการช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้อย่างทันท่วงที

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเคลม HI CI วันที่7ม.ค.65

0 0
Read Time:1 Minute, 27 Second

การชี้แจงหลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด และการดูแลแบบ Home – Community Isolation ที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางเฟซบุ๊กไลฟ์ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand วันศุกร์ที่ 7มกราคม 2565 เวลา 13:00-16:00 น. วาระประกอบไปด้วย

  • กล่าวเปิดการประชุม โดย นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช.
  • Update สถานการณ์การตรวจคัดกรองและการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19 โดย ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข
  • หลักเกณฑ์การจ่ายชดเชยค่าบริการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 และการดูแลแบบ Home – Community Isolation ที่มีการเปลี่ยนแปลง โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • แนวทางการจัดทำข้อมูลการเบิกจ่ายให้บริการ Home – Community Isolation เพื่อให้ได้รับการโอนเงินรวดเร็ว โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • ส่งเบิกข้อมูลการบริการโควิดอย่างไรไม่ให้ข้อมูลติด C และแนวทางการแก้ไข โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • การบันทึกบัญชีกรณีรับเงินค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคโควิด 19 กรณี Home – Community Isolation และระบบรายงานการโอนเงินผ่าน HNSO Budget โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • อภิปราย ซักถาม ปิดการประชุม
Happy
7 78 %
Sad
1 11 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 11 %

พิจารณาวงเงิน Fixed cost สสอ.

0 0
Read Time:1 Minute, 3 Second

สรุปมติการประชุมคณะทำงานพิจารณาวงเงิน Fixed cost ให้แก่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเพิ่มเติม จากเงินบำรุงของโรงพยาบาล
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เวลา 13:30 – 16:30น. ณ ห้องประชุมก่องข้าว ชั้น3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มงานประกันสุขภาพ จัดการประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น เพื่อหารือแนวทางบริหารจัดการงบประมาณที่โรงพยาบาล (CUP) ต้องสนับสนุนงบค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เพื่อใช้ในการดำเนินงานกำกับติดตามประเมินผล และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการบริการสาธารณสุข ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ตามนโยบายและตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 14 ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา 13.3๐-๑6.๓๐ น. ณ ห้องประชุมก่องข้าว (ห้องประชุม VDO Conference ตึกใหม่ ชั้น 3) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
1 100 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID19

0 0
Read Time:36 Second

แจ้งแนวทางการจัดสรรเงินค่าบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2565 จังหวัดขอนแก่น

  • ๑. ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังหักต้นทุนในการดำเนินการร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือจัดสรรให้โรงพยาบาล และเครือข่ายหน่วยบริการในอัตรา 50 : 50
  • ๒. ค่าบริการเก็บสิ่งส่งตรวจหาเชื้อ COVID-19 ให้บริหารจัดการโดย CUP เนื่องจากแต่ละ CUP มีการบริหารจัดการแตกต่างกัน โดยขอให้ส่งแนวทางและผลการจัดสรรให้จังหวัดทราบด้วย
  • ๓. ค่ากระจายชุดตรวจ ATK Home Use อัตรา 10 บาพ/ชุด จัดสรรให้โรงพยาบาล/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ดำเนินการกระจายชุดตรวจให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยตรง
Happy
1 50 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
1 50 %
Exit mobile version