ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งการขอรับค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาแบบHome Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation สำหรับผู้ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (ฉบับที่ ๕) โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ และจำหน่ายภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ให้เป็นไปตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด่วนที่สุด ที่ สธ 0๒๑๐.๐๕/ว๓๐๐๐ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เรื่องแนวปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลโรคโควิด 19 ทั้งนี้ผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบ Home Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation ที่จำหน่ายตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป ขอให้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้สำหรับรอการเบิกจ่ายจากงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำคำขอรับงบประมาณ หากได้รับงบประมาณสนับสนุนแล้ว สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะแจ้งให้ทราบต่อไป รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
หมวดหมู่: กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ
ประชุมstateless 20ธค.64
ประชุมชี้แจงแนวทางการรับส่งข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ วันที่ 20 ธันวาคม 2564
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ รับผิดชอบบริหารจัดการกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหาร จัดการงบประมาณ และตรวจสอบการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ให้กับหน่วยบริการที่ได้ให้บริการ ด้านสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิทั้งภายในและภายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และได้หารือร่วมกับสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ stateless โดยให้หน่วยบริการที่ให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิส่งข้อมูลผ่าน ทางโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตามรายการสิทธิประโยชน์ ของกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ นั้น
ในการนี้ เพื่อให้หน่วยบริการสามารถส่งข้อมูลดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข จึงได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการส่งข้อมูลเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอเรียนเชิญผู้ที่รับผิดชอบส่งข้อมูล เพื่อขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม รับฟังการชี้แจงแนวทางการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ์ ในวันจันทร์ ที ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. โดยขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้าร่วมประชุม ดังกล่าว ด้วยระบบวีดีทัศน์ทางไกล VDO Conference ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting สามารถเข้าร่วมประชุม ทาง Facebook Live ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) https://www.facebook.com/NHSO.Thailand
วาระในการประชุมประกอบไปด้วย
- นโยบายด้านการบริหารจัดการการเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ โดย ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
- บทบาทของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่าย โดย พญ.กฤติกา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สปสช.
- เงื่อนไข สิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ โดย กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ
- การรับส่งข้อมูลในระบบโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
แนวทางเบิกค่าใช้จ่ายการรักษาCovid19-คนไร้สิทธิ
เพื่อให้การขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ของหน่วยบริการหรือโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินไป ด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ที่เห็นชอบให้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และให้สถานพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาภาครัฐ สภากาชาดไทยปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว รวมทั้งฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ในฐานะหน่วยงานที่ต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและขออนุมัติเบิกจ่ายการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย (ที่ไร้สิทธิการรักษาพยาบาล) ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ที่เกิดขึ้น ของหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาล ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
นิยาม
“ผู้ป่วย” หมายถึง ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และให้หมายความรวมถึงบุคคลกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (CoronavirusDisease 2019 (COVID-19)) โดยการฉีดวัคซีนจากสถานพยาบาล ที่ภาครัฐกำหนดและเกิดอาการแพ้วัคซีน หรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีน
“ผู้ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล” หมายถึง คนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือผู้ไร้สัญชาติ หรือ ผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าวเนื่องจากสิทธิประโยชน์ไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
“โรงพยาบาล” หมายถึง หน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาภาครัฐ สภากาชาดไทย
๑. เงื่อนไขการให้การรักษาพยาบาลและการขอรับค่าใช้จ่าย
- ๑.๑ การแบ่งกลุ่มการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สำหรับผู้ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ดังนี้
- ๑.๑.๑ กลุ่มคนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือ ผู้ไร้สัญชาติ เป็นผู้ป่วยที่จำหน่าย ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ และจำหน่ายภายใน ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
- ๑.๑.๒ กลุ่มผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าว เป็นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๔ และจำหน่ายภายใน ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
- ๑.๑.๓ กลุ่มคนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือ ผู้ไร้สัญชาติ หรือกลุ่มผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าว เป็นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔
- ๑.๒ การรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ให้ดำเนินการตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
- ๑.๓ เมื่อสิ้นสุดการรักษาพยาบาลผู้ป่วยแล้ว โรงพยาบาลสามารถขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไปที่กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยมิให้เรียกเก็บจากผู้ป่วยเพิ่มเติม
- (๑) ยา Favipiravir หรือ ยา remdesivir ให้เบิกจากกระทรวงสาธารณสุข
- (๒) ค่าชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE ) หากเบิกจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว มิให้นำมาเบิกซ้ำซ้อน หากตรวจพบภายหลังจะดำเนินการเรียกเงินคืน
- ๑.๔ กรณีส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาพยาบาลยังโรงพยาบาลอื่น โรงพยาบาลต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อตามความเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยอาจส่งต่อได้ในกรณี ดังนี้
- ๑.๔.๑ โรงพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาตัวในเครือข่ายโรงพยาบาลที่จัดส่งไว้สำหรับผู้ป่วย
- ๑.๔.๒ โรงพยาบาลมีศักยภาพไม่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วย
- ๑.๔.๓ ผู้ป่วยหรือญาติมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่นกรณีโรงพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยไปรับการดูแลรักษายังโรงพยาบาลอื่นตามข้อ ๑.๔.๑ หากผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยปฏิเสธไม่ขอให้ส่งต่อ หรือ กรณีผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยประสงค์จะไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นตามข้อ ๑.๔.๓. ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง
- ๑.๕ การขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ช่วงเวลานับตั้งแต่รับผู้ป่วยตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่นให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
- ๑.๕.๑ ครอบคลุมการเข้ารับการรักษาพยาบาลทั้งประเภทผู้ป่วยนอก และประเภทผู้ป่วยใน
- ๑.๕.๒ กรณีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการระบุว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (ผลเป็นบวก) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะครอบคลุมตั้งแต่วันที่โรงพยาบาลรับเข้ามาเป็นผู้ป่วยใน จนสิ้นสุดการรักษาพยาบาลตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและให้หมายความรวมถึงกรณีที่โรงพยาบาลส่งตัวผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งอื่นด้วย ทั้งนี้ เกณฑ์การตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
- ๑.๕.๓ กรณีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการระบุว่าผู้ป่วยไม่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (กรณีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient under investigation: PUI) แต่พบว่าผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นลบ) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะครอบคลุมตั้งแต่วันที่โรงพยาบาลรับเข้ามาเป็นผู้ป่วยในเพื่อตรวจจนถึงวันที่ผู้ป่วยได้รับแจ้งผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ เกณฑ์การตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
- ๑.๖ อัตราค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเป็นไปตามบัญชี และอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ๑.๗ ข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายที่อยู่ในช่วงการรักษาเดียวกัน สามารถขอรับค่าใช้จ่ายได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และมิให้ขอรับค่าใช้จ่ายในรายการที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งอื่นแล้ว
- ๑.๘ โรงพยาบาลต้องเก็บรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไว้เป็นหลักฐานเพื่อการตรวจสอบต่อไป
๒. เอกสารประกอบการพิจารณาในการขอรับค่าใช้จ่าย
- ๒.๑ เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล (ทั้งนี้ กรณีเป็นสำเนาเอกสาร ทุกฉบับต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ) ได้แก่
- ๒.๑.๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย (Patient’s profile)
- ๒.๑.๒ ภาพถ่ายผู้ป่วย
- (๑) กรณีจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ (ถ้ามี)
- (๒) กรณีจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลภายหลังวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ (ต้องมี)
- ๒.๑.๓ สำเนาเอกสารแสดงตัวบุคคลที่ออกโดยทางราชการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น บัตรประจำตัวคนต่างด้าว หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นต้น (ถ้ามี)
- ๒.๑.๔ เอกสารผลตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) ด้วยวิธี RT-PCR หรือ วิธีอื่น ๆ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
- ๒.๑.๕ รหัสสงสัยผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (SAT CODE) (ถ้ามี)
- ๒.๑.๖ แบบสอบสวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบติดเชื้อ (Novel Coronavirus 2019) (ถ้ามี)
- ๒.๑.๗ แบบสรุปเวชระเบียนผู้ป่วย
- ๒.๒ เอกสารสรุปข้อมูลค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยรายบุคคล ให้ใช้ตามแบบใบสรุปค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย กรณีรับการรักษา COVID–19 ของผู้ป่วยที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล รายบุคคล สำหรับโรงพยาบาล ซึ่งลงนามรับรองโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล
- ๒.๓ เอกสารสรุปข้อมูลใบสรุปค่ารักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) ให้ใช้ตามแบบรายงานสรุปค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย กรณีรับการรักษา COVID–19 ของผู้ป่วยที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล รายโรงพยาบาล สำหรับโรงพยาบาล ซึ่งลงนามรับรองโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล
- ๒.๔. โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้เก็บเอกสาร/หลักฐานการให้การรักษาพยาบาลตามข้อ ๒.๑ ไว้ที่โรงพยาบาลเพื่อการตรวจสอบภายหลัง ยกเว้น การขอตรวจสอบเป็นกรณีเฉพาะราย
๓. วิธีการขอรับค่าใช้จ่าย
- ๓.๑ โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการดังนี้
- ๓.๑.๑ การส่งข้อมูลเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง สำหรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ให้ส่งในรูปแบบเอกสาร
- ๓.๑.๒ การส่งข้อมูลเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง สำหรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ให้ส่งผ่านโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์เว็บไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิhttps://state.cfo.in.th/ ตามวิธีการ และขั้นตอนการส่งข้อมูลที่กำ หนดตามเอกสารแนบ “ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนบุคคลไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (COVID-19) สำหรับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข”
- ๓.๑.๓ การเลือกส่งข้อมูล ให้เลือกส่งข้อมูลตามประเภทผู้ป่วยที่สอดคล้องกับการให้บริการที่ระบุรหัสโรค (ICD10) สอดคล้องกับการรักษา ภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ให้บริการกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) หรือ วันที่จำหน่ายผู้ป่วย (Discharge) กรณีผู้ป่วยใน (IPD) และจะสิ้นสุดการส่งข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย โดยถือวันส่งข้อมูล (Sent date) ภายในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ และจะทำการปิดรับข้อมูลในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔
- ๓.๑.๔ การตรวจสอบผลการจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีโรงพยาบาลที่ส่งข้อมูลเข้าระบบแล้ว สามารถตรวจสอบผลการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และดาวน์โหลดหนังสือแจ้งการโอนเงินทางเวบไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state.cfo.in.th/ หน้าหลัก ข้อ ๕ แจ้งผลการโอนเงินค่ารักษาพยาบาล บุคคลที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (COVID – 19)
- ๓.๑.๕ การกำหนดจ่ายค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล กำหนดจ่ายเป็นรายเดือนตามเดือนที่ส่งข้อมูล หรือเมื่องบประมาณหมดสิ้น โดยจะตัดยอดข้อมูลเพื่อประมวลผลจ่ายทุกวันสิ้นเดือน โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะดำเนินการขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน และส่งให้กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โอนเงินให้กับโรงพยาบาลต่อไป
- ๓.๒ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการดังนี้
- ๓.๒.๑ การส่งข้อมูลเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง ให้ส่งข้อมูลในรูปแบบเอกสารภายใน ๓๐ วัน หลังการจำหน่ายผู้ป่วยแล้ว ไปยังกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตำบล ตลาดขวัญ อำเภอ เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โดยแบ่งข้อมูลดำเนินการเป็น ๒ ช่วงเวลา ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้
- (๑) ผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
- (๒) ผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
- ๓.๒.๒ การดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และสรุปค่าใช้จ่าย เมื่อกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพได้รับข้อมูลจากโรงพยาบาลถูกต้อง ครบถ้วนตามที่กำหนดแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง สรุปค่าใช้จ่าย และขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน และส่งให้กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โอนเงินให้กับโรงพยาบาลต่อไป ภายในระยะเวลา ๑๕ วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ เวลา ที่ได้รับข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน ตามที่กำหนด
- ๓.๒.๑ การส่งข้อมูลเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง ให้ส่งข้อมูลในรูปแบบเอกสารภายใน ๓๐ วัน หลังการจำหน่ายผู้ป่วยแล้ว ไปยังกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตำบล ตลาดขวัญ อำเภอ เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โดยแบ่งข้อมูลดำเนินการเป็น ๒ ช่วงเวลา ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้
๔. การขอทบทวนผลการพิจารณาการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย หรือเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้โรงพยาบาลดำเนินการดังนี้
- ๔.๑ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สามารถขอทบทวน เป็นหนังสือภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการโอนเงิน
- ๔.๒ หน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถขอทบทวนเข้ามาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากทราบผลการพิจารณาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใน ๕ วันทำการ
ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นที่สุด
การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลCOVID-19ของชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล
ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค .๔๐๒.๕/ว๑๐๘๑๖ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง ขอตกลงการเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อโควิด – 19 (COVID-19) และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ที่เห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนต่อไปด้วย
เพื่อให้การเบิกจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลของชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประเภทผู้ป่วยใน (IPD) มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดทำหลักเกณฑ์และแนวทางการเบิกจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลของชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประเภทผู้ป่วยใน (IPD) ประกอบด้วยรายละเอียด ดังต่อไปนี้
กลุ่มเป้าหมาย
ชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ได้แก่ บุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน หมายถึง บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแต่ไม่มีรายการในทะเบียนบ้าน หรือเอกสารการทะเบียนราษฎรอื่นที่มีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก หรือบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยเดินทางมาทำงานในประเทศไทย ประกอบด้วยสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม บุคคลไร้สัญชาติ หรือบุคคลสัญชาติอื่นที่เป็นผู้ป่วยและตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน (IPD)
หน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง
หน่วยบริการภาครัฐที่ให้บริการด้านสาธารณสุขแก่คนต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นการรักษาที่รับไว้ในโรงพยาบาลหรือเป็นประเภทผู้ป่วยใน (IPD)
หลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาล
จ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลให้กับหน่วยบริการที่ได้ให้บริการแก่ชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))เป็นการรักษาที่รับไว้ในโรงพยาบาล หรือเป็นประเภทผู้ป่วยใน (IPD) ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
หน่วยบริการที่ได้ให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมาย ขอให้เก็บเอกสาร/หลักฐานการให้บริการทางแพทย์ไว้ที่หน่วยบริการสำหรับการตรวจสอบภายหลัง ยกเว้น การขอตรวจสอบเป็นกรณีเฉพาะราย และส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกชดเชยค่ารักษาพยาบาล ไปยังกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทางโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state. cfo.in.th/ ตามวิธีการและขั้นตอนการส่งข้อมูลที่กำหนด โดยเลือกรหัสรายการ (Claim Code) IPDCOVID – 19 รายการผู้ป่วยในกรณีรับการรักษา COVID – 19 สำหรับขอค่ารักษาพยาบาล
แนวทางการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
ให้หน่วยบริการที่ได้ให้การรักษาแก่กลุ่มเป้าหมายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นการรักษาที่รับไว้ในโรงพยาบาล หรือเป็นประเภทผู้ป่วยใน (IPD) ส่งข้อมูลขอเบิกชดเชยค่ารักษาพยาบาลคนต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ทางโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ข้อมูลการรักษาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ที่ระบุรหัสโรค (ICD10) สอดคล้องกับการรักษา ภายใน ๓0 วัน นับจากวันที่จำหน่ายผู้ป่วย (Discharge) และจะสิ้นสุดการส่งข้อมูลเรียกเก็บโดยถือ วันส่งข้อมูล (Sent date) ภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และจะทำการปิดรับข้อมูลในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ โดยจะจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาลรายเดือนตามเดือนที่ส่งข้อมูล หรือเมื่องบประมาณหมดสิ้น ข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายที่อยู่ในช่วงการรักษาเดียวกันส่งเบิกได้เพียงครั้งเดียว
กรณีหน่วยบริการได้รับการจ่ายหรือได้รับการสนับสนุนค่ารักษาพยาบาล ยา favipiravir สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 20 19 (COVID-19))และชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) จากงบประมาณของรัฐแล้ว ไม่ให้นำข้อมูลมาเบิกซ้ำซ้อน หากตรวจสอบพบว่า มีการเบิกซ้ำซ้อนจะดำเนินการเรียกเงินคืน
ผังขั้นตอนการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลคนต่างชาติที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีรับการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ประเภทผู้ป่วยใน (IPD)
การตรวจสอบผลการจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาล
หน่วยบริการที่ส่งข้อมูลเข้าระบบแล้วสามารถตรวจสอบผลการจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ และดาวน์โหลดหนังสือแจ้งการโอนเงินทางไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state.cfo.in.th/ หน้าหลัก ข้อ ๕ แจ้งผลการโอนเงินค่ารักษาพยาบาล กรณีชาวต่างชาติ ที่ไม่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (COVID – 19)
หนังสือและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
การขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิstateless
- บุคคลแจ้งความประสงค์ขอลงทะเบียนผู้มีสิทธิในกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ณ หน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลชุมชน ตามทะเบียนบ้านในอำเภอหรือจังหวัดที่อาศัยอยู่จริง สำหรับในจังหวัดกรุงเทพมหานคร สามารถลงทะเบียนได้ ณ หน่วยบริการสังกัดกรมการแพทย์ ๓ แห่ง คือ ๑) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ๒) โรงพยาบาลเลิดสิน ๓) โรงพยาบาลราชวิถี
- โดยหน่วยบริการที่มีกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่มีความประสงค์ขออนุมัติสิทธิบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ส่งเอกสาร/หลักฐานทางเว็บไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state.cfo.in.th ตามเงื่อนไข วิธีการและขั้นตอนการส่งเอกสารเอกสารหลักฐานเข้าระบบกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ
- ผู้มีสิทธิในกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ หมายถึง ผู้ที่ได้รับการอนุมัติสิทธิจากกองเศรษฐกิจสุขภาพหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และได้ลงทะเบียนในกองประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิแล้วเท่านั้น
- กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะแจ้งผลการตรวจสอบเอกสารหลักฐานทางระบบที่หน่วยบริการส่งเอกสารหลักฐาน หากตรวจสอบพบว่า มีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน จะแจ้งให้หน่วยบริการส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในช่องทางเดิมที่ส่งเอกสารหลักฐานเพื่อขออนุมัติสิทธิ โดยส่งเอกสารที่เคยส่งครั้งแรกและเอกสารเพิ่มเติมด้วย และป ระสานแจ้งทางโทรศัพท์ ๐- ๒๕๙. ๑๕๗๗ หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ dhes.stateless@gmail.com โดยไม่ต้องแนบเอกสารหลักฐาน ให้กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาฬ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทราบเพื่อทำการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่อไป
- หากได้รับการอนุมัติ ให้ทำการขึ้นทะเบียนสิทธิบุคคลต่อไป
กลุ่มเป้าหมายผู้มีสิทธิ stateless
- มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓ ประกอบด้วยบุคคล
- ๑) กลุ่มที่คณะรัฐมนตรีรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร ได้แก่
- ๑.๑) ผู้ที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข ๓ และ ๔ ที่เข้าเมืองโดยชอบได้สิทธิอาศัยถาวร ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประเภททะเบียนราษฎร์ ท..๑๔
- ๑.๒) กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข ๕ และ ๘ เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิอาศัยถาวร ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.๑๔
- ๒). กลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการแก้ปัญหา
- ๒.๑) กลุ่มที่มีปัญหาการส่งกลับซึ่งได้รับการสำรวจทำทะเบียนประวัติและบัตรสี/บัตรประจำตัวผู้ไม่ใช่สัญชาติไทยเพื่อการควบคุมและอยู่ระหว่างการแก้ปัญหา
- (๑) กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข ๖ เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราว ตามมาตรา ๑๒,๑๓,๓๔,๓๕ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ และคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๑๗ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.๑๓
- (๒) กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข ๗ เป็นบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราวที่เกิดในประเทศไทย ตามมาตรา ๑๒,๑๓,๓๔,๓๕ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ และบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดใน ประเทศไทย ตามมาตรา ๑๗ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร. ๑๓
- ๒.๒) กลุ่มที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล เฉพาะกลุ่มต่อไปนี้
- (๑) กลุ่มนักเรียนในสถานศึกษาที่รับสวัสดิการจากรัฐบาลด้านการศึกษา มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข – ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.๓๘ ก
- (๒) กลุ่มไร้รากเหง้า มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลข ประเภททะเบียนราษฎร ท.ร.๓๘ ก
- (๓) กลุ่มคนที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศ มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคลเป็นเลขประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.๓๘ ก
- ๒.๑) กลุ่มที่มีปัญหาการส่งกลับซึ่งได้รับการสำรวจทำทะเบียนประวัติและบัตรสี/บัตรประจำตัวผู้ไม่ใช่สัญชาติไทยเพื่อการควบคุมและอยู่ระหว่างการแก้ปัญหา
- ๑) กลุ่มที่คณะรัฐมนตรีรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร ได้แก่
- มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ ประกอบด้วยบุคคล
- ๑) กลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการแก้ปัญหา
- ๑.๑) กลุ่มที่ได้รับการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ตามแบบสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (แบบ ๘๙) ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ซึ่งประกอบด้วย
- (๑) ชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งเป็นบุคคลเป้าหมายกลุ่มที่ ๑ ของยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล
- (๒) บุตรของบุคคลตามกลุ่มเป้าหมายของยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล
- (๓) บุคคลกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลในโครงการเฉพาะ เช่น บุคคลที่ขึ้นทะเบียนไว้ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษาฯ
- ๑.๑) กลุ่มที่ได้รับการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ตามแบบสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (แบบ ๘๙) ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ซึ่งประกอบด้วย
- ๑) กลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการแก้ปัญหา
- มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ ประกอบด้วยบุคคลกลุ่มคนดั้งเดิมที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร ได้แก่ คนต่างด้าว (เฉพาะสัญชาติจีน, เวียดนาม, เมียนมา, เนปาล, ลาว, กัมพูชา) ที่มีเลขประจำตัว ๑๓ หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข ๓ และ ๔ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๓ ประกอบด้วยบุคคลที่กระทรวงมหาดไทยได้ขึ้นทะเบียนมีเลขประจำตัว ๑๓ หลัก เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 0 หลักที่ ๖ และ ๗ เป็น 00
แนวทางการดำเนินงานกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ(stateless)
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓ วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ และวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๓ เรื่อง การให้สิทธิ (คืนสิทธิ ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีมีปัญหาสถานะและสิทธิ
- กลุ่มเป้าหมายผู้มีสิทธิ
- เงื่อนไขการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ
- การตรวจสอบสิทธิผู้มีสิทธิ
- การเปลี่ยนหน่วยบริการ
- กรณียุบหน่วยบริการ
- การหมดสิทธิประกันสุขภาพในกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ
- บริการด้านสาธารณสุข
- ระบการส่งต่อ
- ขั้นตอนการส่งข้อมูลเพื่อขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์
- การติดตามผลการจ่ายชดเชย
- การส่งใบเสร็จรับเงิน
- หลักเกณฑ์การบริหารงบประมาณและการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์
- การจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว
- จัดสรค่าบริการทางการแพทย์ให้กับส่วนกลาง
- กำหนดระยะเวลาการส่งข้อมูล
- กำหนดระยะเวลาการจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์
- รายการเบิกจ่ายชดเชยกรณีบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
- ผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉิน (OPAE) นอกจังหวัด
- ผู้ป่วยนอกรับการตรวจวินิจฉัย (Investigate)
- ผู้ป่วยในกรณีปกติ (IP Normal)
- ผู้ป่วยในกรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉิน (IP AE)
- ผู้ป่วยในกรณีส่งต่อ (IP Refer)
- การให้เคมีบำบัดและหรือรังสีรักษา (Chemotherapy, Radiotherapy) สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
- การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง
- การให้ยารักษาผู้ติดเชื้อเอซไอวี และผู้ป่วยเอดส์
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab) สำหรับผู้ติดเชื้อเอซไอวี
- รายการยา จ๒
- ยากำพร้า ยาต้านพิษ
- กรณีใช้อุปกรณ์และ/หรืออวัยวะเทียม (Instruments)
- ค่าพาหนะในการส่งต่อ
- กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (Universal Coverage for Emergency Patient: UCEP)
- กรณีผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19
- (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
- รายการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์
- รายการที่เป็นอุปกรณ์/อวัยวะเทียมในการบำบัดโรค
- รายการยา ARV
- กำหนดเลขประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
- ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
รู้จัก “กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ” ให้มากขึ้น
สืบเมื่องจาก พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งก็คือโครงการ30บาทรักษาทุกโรค สำหรับประชาชนคนไทยที่มีสัญชาติไทยทุกคน ต่อมารัฐบาลได้บูรณาการการจัดการแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ จดทะเบียนแรงงานและประกันสุขภาพ ซึ่งการประกันสุขภาพนี้เป็นบทบาทของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ประกันสุขภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้าวดังกล่าว เพื่อให้แรงงานและผู้ติดตามได้รับการรักษาพยาบาลจากหน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐและมีงบประมาณสำหรับส่งเสริมสุขภาพและควบคุมโรคโดยไม่เป็นภาระของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จนเกินไปนัก
ซึ่งจากการดำเนินการทั้งสองโครงการนี้ ทำให้กลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างบุคคล2สองกลุ่มนี้ คืออาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยหรือรอการได้รับสัญชาติไทย ทั่วประเทศมีบุคคลกลุ่มนี้กว่า 600,000 คน กลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพใดๆของรัฐเลย ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2553 จึงมีมติเรื่องการให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ เพื่อให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพและการควบคุมป้องกันโรค โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 เมษายน 2553 เป็นต้นมา โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบไปด้วย
- กลุ่มปัญหาสถานะและสิทธิที่คณะรัฐมนตรีรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร ได้แก่
- กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 3 และ 4 ที่เข้าเมืองโดยชอบ ได้สิทธิอาศัยถาวร (พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2552) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.14
- กลุ่มที่เลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 5 และ 8 เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิอาศัยถาวร ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.14
- กลุ่มปัญหาสถานะและสิทธิที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อกระบวนการแก้ปัญหา
- กลุ่มปัญหาสถานะและสิทธิที่มีปัญหาการส่งกลับซึ่งได้รับการสำรวจทำทะเบียนประวัติและบัตรสี / บัตรประจำตัวผู้ไม่ใช่สัญชาติไทยเพื่อการควบคุมและอยู่ระหว่างการแก้ปัญหา
- กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 6 เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราว (ม.12 13, 34, 35 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2552) และคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ม.17 พ.ร.บ.ตนเข้าเมือง พ.ศ.2522) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.13
- กลุ่มที่มีเลขขึ้นต้นในบัตรประจำตัวบุคคล เลข 7 เป็นบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายในลักษณะชั่วคราวที่เกิดในประเทศไทย (ม.12, 13, 34, 35 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522) และบุตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในประเทศไทย (ม.17 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522) ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.13
- กลุ่มปัญหาสถานะและสิทธิที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล เฉพาะกลุ่มต่อไปนี้
- กลุ่มนักเรียนในสถานศึกษาที่รับสวัสดิการจากรัฐบาลด้านการศึกษา มีเลขขึ้นต้นด้วยเลข 0 ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.38 ก
- กลุ่มไร้รากเหง้า มีเลขขึ้นต้นบัตรประชาชน เลข 0 ประเภททะเบียนราษฏร์ ท.ร.38 ก
- กลุ่มคนที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศ มีเลขขึ้นต้นในบัตรประชาชน เลข 0 ประเภททะเบียนราษฎร์ ท.ร.38 ก
- กลุ่มปัญหาสถานะและสิทธิที่มีปัญหาการส่งกลับซึ่งได้รับการสำรวจทำทะเบียนประวัติและบัตรสี / บัตรประจำตัวผู้ไม่ใช่สัญชาติไทยเพื่อการควบคุมและอยู่ระหว่างการแก้ปัญหา