Read Time:2 Second
ผู้เขียน: UC@kkpho
แผนงานโครงการและตัวชี้วัด สธ. ปี 2568
Read Time:2 Minute, 37 Second
KPI Template 68
ประกาศกองทุนปี68
Read Time:1 Minute, 43 Second
ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การดำเนินงานและการบริหารจัดการ
กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
และค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานและองค์กรที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปิ๊งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อให้ผู้รับบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ มาตรา ๑๘ (๔) และ (๑๔) มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๖ วรรคหนึ่งและมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๗/๒๕๕๙ เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ คำสั่งหังหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๑/๒๕๖๐ เรื่อง การบริหารจัดการยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอปกรณ์ทางการแพทย์ตามโครงการพิเศษของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๘/๒๕๕๙ เรื่อง การรับบริการสาธารณสุของคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ลงวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสังหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๕/๒๕๖๐ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๘/๒๕๕๕๙ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๗ และมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๗ และในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๒๕๖๗ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๗ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติอุปกรณ์ใช้เก็บของเสีย
Read Time:30 Second
การประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และ แนวปฏิบัติในการเลือกใช้วัสดุ/อุปกรณ์ใช้เก็บของเสียในผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม(Colostomy bag) ผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมไทยภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วันจันทร์ที่ 11 เดือน กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.30 12.00 น.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สถานการณ์เรียกเก็บรายได้รพ.สต.2566
Read Time:22 Second
สถานการณ์การเรียกเก็บเงินรายได้ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น สังกัด อบจ.ขอนแก่น ปี 2566 ประกอบการประชุมร่วมระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ตัวแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่ข่าย ตัวแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น
ประกาศ Home Ward 2566
Read Time:50 Second
ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้านพ.ศ. ๒๕๖๖
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้ผู้ป่วยในที่ บ้านได้รับบริการสาธารณสุขที่ มีมาตรฐานและครอบคลุมกลุ่มโรคหรือกลุ่มอาการที่จำเป็นมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ และข้อ ๒๐.๑๐.๘ แห่งประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
แนวปฏิบัติในการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในการทำงาน
Read Time:1 Minute, 18 Second
แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กระทรวงสาธารณสุข
การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ทำงานในเรื่องชีวิตทางเพศและสิทธิในการทำงานที่บุคคลควรได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งยังขัดขวางโอกาสต่าง ๆ ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยมีสาเหตุสำคัญ คือ การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ แม้ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้กฎหมายที่มุ่งส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และกำหนดโทษ สำหรับผู้กระทำการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศหลายฉบับแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ของการล่วงละเมิด หรือคุกคามทางเพศยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานของบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงสาธารณสุข จัดทำแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓ ที่เห็นชอบการปรับปรุงมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะส่งผลให้บุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกคน ได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี ปราศจากการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน มีความตระหนักและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน ตลอดจนกำหนดมาตรการป้องกันและจัดการกับปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานที่เกิดขึ้นให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางส่งคืนเงินยืมราชการ
Read Time:1 Minute, 23 Second
- ให้งานการเงิน กลุ่มงานบริหารทั่วไป เร่งรัต ติดตาม ทวงถามผู้ยืมเงินให้ส่งหลักฐานการจ่ายและ/หรือเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) เป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านหัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป ก่อนครบกำหนด ๓ วันทำการ ให้ผู้ยืมลงนามรับทราบและดำเนินการส่งคืนตามกำหนดในสัญญาการยืมเงิน
- ให้งานการเงิน กลุ่มงานบริหารทั่วไป ตรวจสอบหลักฐานการจ่ายให้ครบถ้วน ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย และข้อบังคับของทางราชการ และเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายเงิน
- ๒.๑ กรณีเดินทางไปราชการ (ภายในประเทศ ให้ส่งคืนภายใน ๑๕ วัน นับจากกวันที่กลับมาปฏิบัติราชการ
- ๒.๒ กรณียืมเงินเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่รับเงินยืม
- เจ้าหน้าที่การเงิน กลุ่มงานบริหารทั่วไป ผู้รับผิดชอบรับหลักฐานการจ่ายและ/หรือเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) จากผู้ยืมเงินตามกำหนดในสัญญาการยืมเงิน โดยออกใบรับใบสำคัญ (กรณีเป็นหลักฐานการจ่าย) และใบเสร็จรับเงิน (กรณีมีเงินเหลือจ่าย) ให้แก่ผู้ยืมเงิน และหากมีเงินเหลือจ่ายเกินร้อยละ ๑0 ของวงเงินยืม ผู้ยืมเงินต้องขี้แจงเหตุผลประกอบอย่างชัดเจน
- หากผู้ยืมเงินไม่ส่งหลักฐานการจ่าย เพื่อชดใช้เงินยืมและ/หรือเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) ตามกำหนดในสัญญาการยืมเงิน ให้งานการเงิน กลุ่มงานบริหารทั่วไป รายงานผู้บริหารสูงสุด และดำเนินการหักเงินเดือนหรือเงินอื่นที่พึ่งได้รับจากราชการชำระคืนสัญญายืม
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงขอแจ้งแนวทางในการส่งคืนเงินยืมราชการ ดังนี้
ประชุมเครือข่ายศูนย์บริการหลักประกันปี66
Read Time:1 Minute, 39 Second
ประชุมเครือข่ายศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ
ในวันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 9.30-13.00 น.
วาระประชุม
- ๑.ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย รศ.ดร.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการ สปสช.
- ๒. สถานกรณ์ การดำเนินงานร่วมกัน ระหว่าง สปสช.และศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ โดย นางสาวดวงนภา พิเชษฐ์กุล ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. และนางกรรณิการ์ ปัญญาอมรวัฒน์ ประธานคณะทำงานพัฒนาและกำกับติดตามการดำเนินการของหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน
- ๓. คุณูปการ คุณค่า ของศูนย์บริการฯในหน่วยบริการทบทวนบทบาทหน้าที่ของศูนย์บริการฯในหน่วยบริการ ควรดำเนินงานต่ออย่างไร โดย ผู้แทนผู้ดำเนินงาน ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ
- ๑) นางอันธิกา คะระวานิช โรงพยาบาลตราด จ.ตราด
- ๒) นางสิริวิภา โรจนรัตนางกูร โรงพยาบาลเชียงยืน จ.มหาสารคาม
- ดำเนินรายการโดย นางสาวเครื่อออน มานิตยกูล นักวิชาการหลักประกันสุขภาพ สปสช.เขต ๑ เชียงใหม่
- ๔. สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ (ผลสำรวจ google form) /ทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน
- ๕. แลกเปลี่ยน รับฟังข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการดำเนินงานศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ ร่วมกับ สปสช. โดย นางชนทิพย์ มารมย์ ผู้อำนวยการกอง ฝ่ายสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ
- ๖. สรุปผลการประชุมหารือและแจ้งกำหนดการดำเนินงานร่วมกันในระยะต่อไป โดย นางจารุภา คชบก นักวิชาการ ฝ่ายสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ
CPGเบาหวาน-2566
Read Time:1 Minute, 22 Second
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน2566
Clinical Practice Guideline for Diabetes 2023
โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (non-communication diseases, NCDs) ที่พบบ่อยและเป็นภาระต่อระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศทั่วโลก เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศมติหมายเลขที่ 66/2 จากที่ประชุมสมัชชาฯ ด้วยนัยทางการเมือง (Political Declaration of High-level Meeting ให้แต่ละประเทศสมาชิก มีการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดนโยบายการป้องกันและควบคุมกลุ่มโรคไม่ติดต่ออย่างจริงจัง โดยมีองค์การอนามัยโลกทำหน้าที่กำกับ กระตุ้น และติดตามการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นเป้าหมายแรกที่ต้องเร่งดำเนินการ
โรคเบาหวานต้องรับการดูแลรักษาต่อเนื่อง การรักษามีจุดประสงค์และเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกันให้บริการดูแลรักษา เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค วิธีการรักษา การสร้างทักษะการกินการอยู่ที่ถูกต้อง โน้มน้าวสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยปฏิบัติได้จริง กิจกรรมเหล่านี้นอกจากได้ประโยชน์ในการรักษาโรคเบาหวานแล้ว ยังเกิดประโยชน์ในการป้องกันโรคเบาหวานและการส่งเสริมสุขภาพด้วย
การคัดกรอง ค้นหา ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคและผู้ที่เป็นโรคเบาหวานในระยะเริ่มแรก มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้การป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน และกลุ่มที่เป็นโรคได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมและทันกาล มีโอกาสให้โรคเบาหวานเข้าสู่ระยะสงบ (diabetes remission) หวังว่าแนวทางเวชปฏิบัตินี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดการโรคเบาหวานสำหรับทีมดูแลรักษาโรคเบาหวานทุกระดับ