ชี้แจงการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

0 0
Read Time:1 Minute, 20 Second

ประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายผ่านโปรแกรม e-Claim ร่วมกับการใช้โปรแกรมรายงานข้อมูลติดตามสุขภาพประจำวัน (โปรแกรม AMED) กรณีการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ปีงบประมาณ 2566

วาระประชุม

  • ๑๓.๐๐ – ๑๓.๑๕ น. – ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และกล่าวเปิดการประชุม โดย นายธวัชชัย เรืองโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • ๑๓.๑๕ – ๑๓.๓๐ น. – หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ ขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน โดย นางสาวมนัสนีย์ รัตนเมธีนนท์ นักบริหารงาน ฝ่ายบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ
  • ๑๓.๓๐ – ๑๔.๐๐ น. – แนวทางการตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ กรณีบริการดูแลแบบ ผู้ป่วยในที่บ้าน โดย ฝ่ายตรวจสอบการจ่ายชดเชยและคุณภาพบริการ
  • ๑๔.๐๐ – ๑๔.๒๐ น. – การบันทึกข้อมูลผ่านระบบ e-Claim เพื่อขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการดูแลแบบผู้ป่วย ในที่บ้าน โดย นางเดือนเพ็ญ คำมา ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศการเบิกจ่ายกองทุน
  • ๑๔.๒๐ – ๑๕.๓๐ น. – การใช้งานระบบบริการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่บ้าน (DMS Home ward) โดย ดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ และทีม รก.ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยนวัตกรรมไร้สายและความมั่นคง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
  • ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. – อภิปราย ซักถาม และปิดการประชุม

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รายการบริการและอัตราจ่าย Fee schedule

0 0
Read Time:56 Second

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ประกาศเพิ่มเติมรายการยา รายการบริการและอัตราจ่าย Fee schedule ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยจ่ายตามรายการที่กำหนด (Fee Schedule) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประชุมชี้แจงรายการบริการและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ผ่าน Facebook Live หน้าเพจ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

รายการยา รายการบริการและอัตราจ่ายแบบ Fee schedule ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมติคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการบริหารจัดการกองทุน ครั้งที่ 8/2565 วันที่ 22 กันยายน 2565

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)

0 0
Read Time:2 Minute, 26 Second

การปฏิรูประบบสุขภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีการจัดทำพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ โดยสาระสำคัญที่ประชาชนจะได้รับ คือ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ การเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเป็นธรรม ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าไม่ถึงการรักษาโดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน/ ติดเตียง ผู้พิการ เป็นต้น ประกอบกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้เตียงรองรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลมีจำนวนไม่เพียงพอ กรมการแพทย์จึงมีนโยบายสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Personal–based Medical Services) เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดี ลดจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและครอบครัวโดยเฉพาะผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน (Inpatient)

แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)

การดำเนินการให้บริการในรูปแบบผู้ป่วยในที่บ้าน หรือ การดูแลเสมือนโรงพยาบาลที่บ้าน (Hospital care at home) เป็นการให้บริการการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน ที่ใช้บ้านเป็นหอผู้ป่วย ซึ่งมีมาตรฐานการดูแลเทียบเคียงผู้ป่วยในของโรงพยาบาล (IPD) ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพ รวมถึงได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลรักษา
กรมการแพทย์ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดทำ “แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward)” โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลและหน่วยบริการทุกระดับสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษา มีสภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสมดั่งปณิธานของกรมการแพทย์ “ทำดีที่สุด เพื่อทุกชีวิต”

สารบัญ

  • บทที่ 1 บทนำ
    • คำนิยาม
    • วัตถุประสงค์
    • รูปแบบการให้บริการ
    • การเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาล
    • การประเมินความพร้อมของผู้ป่วย ผู้ดูแล และที่พักอาศัยระหว่างการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน
    • เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้ป่วยเข้าระบบการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน
  • บทที่ 2 การประเมินความพร้อมของ ผู้ป่วย ครอบครัว สภาพที่พักอาศัย และทีมดูแลที่บ้าน
    • ขั้นตอนดำเนินการ
    • แนวทางปฏิบัติในการให้การบริการ home ward
    • องค์ประกอบของทีมดูแลต่อเนื่อง
  • บทที่ 3 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ ในระบบทางเดินปัสสาวะ แบบ Home ward
  • บทที่ 4 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบ แบบ Home ward
  • บทที่ 5 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยแผลกดทับ (pressure ulcer management) แบบ Home ward
  • บทที่ 6 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยหลังการผ่าตัดไส้ติ่ง แบบผ่าตัดวันเดียวกลับ แบบ Home ward
  • บทที่ 7 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่บ้าน
  • บทที่ 8 การดูแลภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
  • บทที่ 9 แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการ ผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation
Happy
2 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมชี้แจงแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2566 วันที่ 15พ.ย.65

0 0
Read Time:1 Minute, 30 Second

ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2566

วาระประชุม

  • เวลา 09.30 – 10.00 น. ประธานเปิดการประชุม และบรรยายภาพรวมแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2566 โดย ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 7 ขอนแก่น
  • เวลา 10.00 – 12.00 น. แนวทางการบริหารจัดการกองทุน และการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขงานบริการเฉพาะ
  • เวลา 13.00 – 14.30.00 น. งานตรวจสอบเวชระเบียนสำหรับชดเชยค่าบริการสาธารณสุขปี 2566 โดย กลุ่มภารกิจสนับสนุนและกำกับติดตามประเมินผล (M&E) กองทุนหลักประกันสุขภาพ
  • เวลา 14.30 – 16.00 น. แนวทางขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขปี 2566 กรณี PP & FS และโครงการร้านยาคุณภาพ โดย กลุ่มภารกิจสนับสนุนการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและการจัดการหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น
  • เวลา 16.00 – 16.30 น. ถาม – ตอบ อภิปรายและเสนอแนะ
  • เวลา 16.30 น. ปิดการประชุม

เอกสารประกอบการประชุม

วีดีโอการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการชี้แจงกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี2566 โดยสปสช.เขต7 ขอนแก่น

0 0
Read Time:1 Minute, 6 Second

การชี้แจงการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2566 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565

เอกสารประกอบการประชุม

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการประชุมสไลด์ชี้แจงการเบิกจ่ายกองทุนฯ ปี66

0 0
Read Time:16 Second

เอกสารประกอบการประชุม

Video ส่วนที่ 1

Video ส่วนที่ 2

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมชี้แจงplanfinและการจัดการงบกองทุนUCกรณี รพ.สต.ถ่ายโอน

0 0
Read Time:1 Minute, 27 Second

การประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนทางการเงิน (Planfin)
และสนันสนุนการบริหารจัดการงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับ รพ.สต.
ที่ถ่ายโอนไปยัง อบจ.ของหน่วยบริการสังกัด สป. ปีงบประมาณ 2566

นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้เกียรติเป็นประธาน เปิดการประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนทางการเงิน (Planfin) และสนันสนุนการบริหารจัดการงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปยัง อบจ.ของหน่วยบริการสังกัด สป. ปีงบประมาณ 2566 ผ่านทางระบบประชุมออนไลน์ Webex Meeting และ Facebook Live Fanpage ของ กศภ. ซึ่งจัดโดยกลุ่มงานพัฒนาระบบบัญชีบริหารและประสิทธิภาพการเงินหน่วยบริการ กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ นำโดยนายแพทย์ดิเรก สุดแดน ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ นางสาวปิยาภรณ์ ยิ้มศิริวัฒนะ นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบบัญชีบริหารและประสิทธิภาพการเงินหน่วยบริการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานฯ นางน้ำค้าง บวรกุลวัฒน์ นักวิชาการเงินและบัญชีเชี่ยวชาญ กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายน้อง เจริญนาค ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ พร้อมเจ้าหน้าที่ฯ และนายแพทย์อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่านทางระบบWebex ประมาณ 800 User และ ผ่านทาง Facebook ประมาณ 500 User ในการประชุมดังกล่าว โดยมีเนื้อหาการประชุม เกี่ยวกับการทำแผนการเงินการคลังหน่วยบริการ สังกัดสป.ปีงบประมาณ 2566 และการบริหารจัดการงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปยัง อบจ.ของหน่วยบริการสังกัด สป. ปีงบประมาณ 2566

เข้ารับชมที่ลิงค์นี้

https://fb.watch/g7JgJW0lJH/

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ปิดยอดประกันรายรับปี 65 และหลักการbasic payment ปี 66

0 0
Read Time:8 Second

ปิดยอดประกันรายรับปี 65 และหลักการbasic payment ปี 66

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

4 วิธีเช็คสิทธิรักษาพยาบาล ทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

0 0
Read Time:17 Second
เช็คสิทธิรักษาพยาบาลด้วยตนเอง

เช็คสิทธิรักษาพยาบาลด้วยตนเอง

  1. โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 2
  2. เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
  3. แอปพลิเคชั่น สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง
  4. ไลน์ สปสช. @nhso หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ
Happy
5 56 %
Sad
1 11 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 11 %
Surprise
2 22 %

ย้ายหน่วยบริการ ‘เกิดสิทธิทันที’

0 0
Read Time:1 Minute, 10 Second

ประชาชนสิทธิบัตรทอง 30 บาท (หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
ย้ายหน่วยบริการ ‘เกิดสิทธิทันที’

ย้ายหน่วยบริการ ‘เกิดสิทธิทันที’ ย้ายปุ๊บ ได้ปั๊บไม่ต้องรอ 15 วัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมนโยบาย “ย้ายหน่วยบริการ เกิดสิทธิทันที่”ซึ่งมีผลพร้อมกันทั่วประเทศแล้ว หากผู้ใช้สิทธิบัตรทองต้องการย้ายหน่วยบริการในอดีต จะต้องรอให้ถึงวันที่ 15 และ 28 ของเดือน จึงจะสามารถไปรับบริการที่หน่วยบริการแห่งใหม่ได้ ทว่าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564 เป็นต้นไป เมื่อยื่นเรื่องย้ายหน่วยบริการปุ๊บจะสามารถไปใช้สิทธิ ณ ที่ใหม่ได้ทันทีไม่ต้องเดินทางไปที่จุดรับลงทะเบียน โดยยื่นเรื่องผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้

  • Application สปสช. เพียงดาวน์โหลดแอป สปสช. ดาวน์โหลดฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ทั้งระบบ Android และ iOS
  • Line Official Account สปสช.” add เป็นเพื่อน… เพียงสแกน QR Code หรือพิมพ์ค้นหาใช้ช่อง ID ว่า @nhso

ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

เช็คสิทธิการรักษา
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version