Read Time:23 Second
อบรมกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการบริหารวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์
Read Time:23 Second
โดย นายพิทักษ์ชัย จิตรมั่น เจ้าพนักงานเวชสถิติชานาญงาน หัวหน้ากลุ่มงานประกันสุขภาพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป่าหมายได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บรายได้ หน่วยบริการทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 7
กำหนดการ
เอกสารประกอบการประชุม
ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ ให้ถือปฏิบัติการจัดทำและนำเสนอรายงานงบการเงินที่จัดทำตามหลักบัญชีเกณฑ์คงค้าง โดยรับรู้รายการที่เกี่ยวข้องในงวดบัญชีที่เกิดรายการ นั้น
จากการตรวจสอบงบทดลองหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ พบว่าหน่วยบริการรับรู้รายได้ไม่ตรงงวดบัญชี ได้แก่ บัญชีรายได้ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-OP/P จากสปสช. ในปังบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นการรับโอนเงินค่าบริการจากผลการดำเนินงานปีก่อน ทั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด 19 เพื่อรองรับการเป็นโรคประจำถิ่น มีผลตั้งแต่การให้บริการวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เพื่อให้หน่วยบริการปฏิบัติตามแนวทางบัญชีเกณฑ์คงค้างสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ จึงเห็นควรแจ้งเป็นแนวทางให้หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขปฏิบัติดังนี้
รัฐบาลจัดให้มี “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการดูแลรักษาสุขภาพและเป็นค่าบริการสาธารณสุขช่วยให้คนไทย ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะสามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ และการดำรงชีวิตตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ทำหน้าที่บริหารกองทุนตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการฯ
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณ์สุข กระทรวงสาธารณสุข
กองสาธารณสุขท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๘ กำหนดให้รัฐต้องมีการกระจายอำนาจทางปกครองไปให้ท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และแบ่งเบาภาร กิจของส่วนกลาง รวมทั้งให้อำนาจแก่ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น โดยในปัจจุบันได้มีการกำหนดให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการด้านสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น โดยมีกฎหมายที่กำหนดบทบาทของท้องถิ่นในด้านสาธารณสุขไว้ เช่น พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นต้น
กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต) โดยกำหนดจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เกิดการบูรณาการการดำเนินงานทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค รักษา ฟื้นฟูสุขภาพ และคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่หรือท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดความซ้ำซ้อนและช่องว่างในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่และเพื่อส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขขอขอบคุณผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่มีส่วนร่วมในการจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ฯ ฉบับนี้ ให้มีความสมบูรณ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวทางการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ฯ ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. และเทศบาล) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ต่อไป