แจ้งเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดให้หน่วยบริการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) เพื่อรับค่าใช้จ่ายในระบบ e-Claim และ NPRP นั้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลและการประมวลผลในการจ่ายค่าใช้จ่ายฯดังกล่าว สปสช.จึงได้มีการพัฒนาระบบเพื่อรองรับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่มีการจ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) จำนวน ๑๖ รายการผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB)

เพื่อให้การรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ สปสช. จึงขอแจ้งกำหนดการเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกรณีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จ่ายตามรายการบริการ (PP Fee Schedule) ผ่านระบu Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

  • ให้หน่วยบริการเร่งรัดส่งข้อมูลการให้บริการก่อนวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ e-Claim/NPRP ภายในวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๖
  • ๒) ข้อมูลการบริการตั้งแต่วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๖ และข้อมูลที่ให้บริการก่อนวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ แต่ไม่สามารถส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ e-Claim/NPRP (ตามข้อ ๑) ได้ทันเวลาที่กำหนด สามารถส่งข้อมูลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายผ่านระบบ KTB

ทั้งนี้ ได้มีการประชุมชี้แจงแนวทางการรับค่าใช้จ่ายฯ กรณีดังกล่าวให้แก่หน่วยบริการเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้เปิดให้มีการทดสอบระบบบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมดังกล่าว โดยหน่วยบริการสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานโปรแกรม Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ได้ที่ http://eclaim.nhso.go.th หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Provider center หมายเลขโทรศัพท์ 02-554-0505

รายการบริการ PP FS ที่บิกผ่านระบบ Krungthai Digital Health Platform (KDHP/KTB) ตั้งแต่วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

  • ๑.บริการฝากครรภ์
  • ๒.บริการการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์
  • ๓.บริการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์
  • ๔.บริการการคัดกรองธาลัสซีเมียและการคัดกรองซิฟิลิสในสามีหรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์
  • ๕.การทดสอบการตั้งครรภ์
  • ๖.การตรวจหลังคลอด
  • ๗.บริการคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งและมะเร็งช่องปาก (CA Oral Screening)
  • ๘.บริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • ๙.บริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง (Fit test)
  • ๑๐.บริการเคลือบฟลูออไรด์ (กลุ่มสี่ยง)
  • ๑๑.บริการคัดกรองโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ๑๒.บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก
  • ๑๓.บริการวางแผนครอบครัวและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
  • ๑๔.บริการป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
  • ๑๕.บริการคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกาย/สุขภาพจิต
  • ๑๖.บริการแว่นตาเด็กที่มีสายตาผิดปกติ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Previous post VDO แนะนำการใช้งานระบบ Krungthai Digital Health Platform
Next post มอบอำนาจให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพ