Read Time:31 Second
การบริหารการเงินการคลัง (CFO) รพ.
Read Time:31 Second
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียน (Coding Audit) ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพแพทย์ผู้สรุปวินิจฉัยโรคพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่เวชสถิติหรือผู้ให้รหัสโรค (กรณีผู้ป่วยใน ให้สามารถตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียน(Coding Audit) ในหน่วยบริการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สำนักงานเขตสุขภาพที่ ๗ จึงขอเชิญบุคลากรในสังกัดหน่วยงานของท่าน ดังนี้
เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียน (Coding Audit) ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ เขตสุขภาพที่ ๗ ในวันที่ ๑๙ – ๒0 กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ ศูนย์ประชุมสาเกต ฮอลล์ ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังเขตสุขภาพที่ ๗
ปีงบประมาณ ๒๕๖๕
ในวันที่ ๒๖ – ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
ณ ห้องประชุมสาเกต ขั้น ๗ อาคารเฉลิมพระเกียรติจุฬาภรณ์
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
หลักเกณฑ์และแนวทางการประเมิน :แบ่งระดับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan
งบประมาณ : จากเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 10 ล้านบาท
หลักเกณฑ์การประเมิน : กรอบในการประเมินมี 3 ด้าน ประกอบด้วย
สูตรการคำนวณ : คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดย
คะแนนที่ได้ = (คะแนนที่ได้ในข้อ 1 + คะแนนที่ได้ในข้อ 2 + คะแนนที่ได้ในข้อ 3)
เกณฑ์การให้คะแนน : เมื่อคำนวณคะแนนที่ได้แล้ว จะนำมาเรียงลำดับคะแนนเพื่อมอบรางวัลต่อไป
วิธีการคัดเลือก : ให้แต่ละจังหวัดคัดเลือกหน่วยบริการ เพื่อเข้ารับการประเมินตามระดับของหน่วยบริการตาม Service Plan ดังนี้
โดยเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารการเงินการคลัง (Chief Financial Officer. CFO) เขตสุขภาพที่ 7 ในเดือนมิถุนายน 2565 โดยให้หน่วยบริการนำเสนอข้อมูล แห่งละ 10 นาที และให้คณะกรรมการฯ ซักถามข้อมูลเพิ่มเติม แห่งละ 10 นาที
1. นโยบายของผู้บริหาร/แผนพัฒนา/นวัตกรรม/ซอฟแวร์ 10 คะแนน
แหล่งข้อมูล | คะแนน |
---|---|
แผนการดำเนินงานที่ระบุกิจกรรมเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งด้านเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย เป็นรายกิจกรรม และมีแผนธุรกิจ(Business Plan) | 2 คะแนน |
รายงานการประชุมคณะกรรมการ CFO อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง(ไตรมาส 4/64 – ไตรมาส 2/65) เนื้อหาต้องประกอบด้วยสถานการณ์การเงิน/ประเด็นที่เป็นปัญหา/แนวทางการแก้ไข/รายงานผลการแก้ปัญหาที่มีการติดตามในไตรมาสถัดๆไป เป็นระยะ | 2 คะแนน |
มีการใช้นวัตกรรม/ซอฟแวร์ ในการดำเนินงาน (มีการระบุกิจกรรม/เป้าหมาย/รายงานผลงานที่ชัดเจน) | 2 คะแนน |
การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ | 2 คะแนน |
การจัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์ยา | 2 คะแนน |
2.กระบวนการในการดำเนินงาน (Process Indicator) 60 คะแนน (ใช้ข้อมูลเดือนพฤษภาคม 2565 ในการประเมินผล)
รายละเอียดการประเมิน | คะแนน |
---|---|
1. การบริหารแผน Planfin | 10 คะแนน |
1.1 Planfin รายได้ +5 % ขึ้นไป | 5 คะแนน |
1.2 Planfin ค่าใช้จ่าย ไม่เกิน + 5 % | 5 คะแนน |
2. การบริหารต้นทุนบริการไม่เกินค่ากลางกลุ่มโรงพยาบาล | 20 คะแนน |
2.1 Unit Cost OP (Mean+1SD) | 5 คะแนน |
2.2 Unit Cost IP (Mean+1SD) | 5 คะแนน |
2.3 LC ค่าแรงบุคลากร (Mean) | 2.5 คะแนน |
2.4 MC ค่ายา (Mean) | 2.5 คะแนน |
2.5 MC ค่าเวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุการแพทย์ (Mean) | 2.5 คะแนน |
2.6 MC ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ (Mean) | 2.5 คะแนน |
3. การบริหารจัดการบัญชีและการเงิน | 20 คะแนน |
3.1 ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้การค้ายาและเวชภัณฑ์มิใช่ยา | 3 คะแนน |
3.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ UC | 3 คะแนน |
3.3 ระยะเวลาถั่วเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ สิทธิ CS | 3 คะแนน |
3.4 การบริหารสินค้าคงคลัง | 3 คะแนน |
3.5 คะแนนตรวจบัญชีงบทดลองเบื้องต้น | 3 คะแนน |
3.6 ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบควบคุมภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ (Electronics Internal Audit : EIA) | 5 คะแนน |
4. Productivity ที่ยอมรับได้ | 10 คะแนน |
4.1 อัตราครองเตียง มากกว่าหรือเท่ากับ 80 % หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 | 5 คะแนน |
4.2 Sum of AdjRw เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 | 5 คะแนน |
3. ผลงานในการดำเนินงาน (Outcome Indicator) 30 คะแนน
รายละเอียดการประเมิน | คะแนน |
---|---|
1. ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Operation Margin) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. | 5 คะแนน |
2. อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) เกินค่ากลางกลุ่ม รพ. | 5 คะแนน |
3. เงินทุนสำรองสุทธิ (NWC) เป็นบวก และเพิ่มขึ้น | 7.5 คะแนน |
4. ผลต่างรายได้และค่าใช้จ่าย (EBITDA) เป็นบวก และเพิ่มขึ้น | 7.5 คะแนน |
5.Cash Ratio เท่ากับหรือมากกว่า 0.8 | 5 คะแนน |
คำนิยาม หน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน หมายถึง หน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีวิกฤติทางการเงิน ตามหลักเกณฑ์การคิดวิกฤติทางการเงิน ระดับ 7 (Risk Scoring) โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน 5 รายการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน อัตราส่วนทางการเงิน 5 รายการ ประกอบด้วย
อ้างอิงจาก แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยสำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและกองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข
อัตราส่วนทางการเงินทั้ง 5 รายการข้างต้นถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สถานการณ์ ทางการเงินของหน่วยบริการโดยกำหนดเกณฑ์สำหรับการประเมินโดยมีค่ากลางของแต่ละหน่วยบริการ มาเปรียบเทียบกับค่ากลางของอุตสาหกรรม ดังนี้
*โดยให้น้ำหนักของ NWC/ANI ระยะเวลาทุนหมุนเวียนหมด < 3 เดือน มากกว่าตัวแปรอื่น 2 เท่า ทั้งนี้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้นำเงื่อนไข มาใช้ในการจัดกลุ่มโรงพยาบาลที่ประสบวิกฤตทางการเงินเป็น 7 ระดับ ดังนี้
การประเมินหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะประเมินทุกสิ้นไตรมาส โดยกำหนดให้หน่วยบริการที่ได้ระดับ 7 ซึ่งมีภาวะวิกฤตทางการเงินขั้นรุนแรง และระดับ 6 ที่คาดว่าจะประสบปัญหาภายใน 3 เดือน ทั้งนี้ ระบบข้อมูลบัญชีของหน่วยบริการที่ดีมีคุณภาพมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผลการประเมินสถานะทางการเงินที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นได้
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มงานประกันสุขภาพ ได้กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้ ปีงบประมาณ 2565 ในวันที่ 20-22 เมษายน 2565 เวลา 08.30-16.30 น. โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าจากโรงพยาบาลทุกขนาด/สสอ./รพ.สต. ในเขตสุขภาพที่ 7 ผ่านระบบ Video Conference ระบบ Cisco WebEX เพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บรายได้ของหน่วยบริการ ในการนี้จึงขอเชิญเจ้าหน้าที่กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม โดยสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมได้ที่ลิงค์ https://moph.cc/cmzKumPY5
วัน-เวลา | วาระ |
---|---|
20เม.ย.65-เช้า | -ระบบจัดเก็บรายได้โดยการใช้ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์สำหรับหน่วยบริการ -สิทธิการรักษา การให้สิทธิ การ MAP สิทธิการรักษาตามผังบัญชี -การตรวจสอบสิทธิการรักษาแบบ REAL TIME จาก DATA AUDIT -การติดตั้งโปรแกรม DataAudit และการใช้งานเบื้องต้น |
20เม.ย.65-บ่าย | -การใช้โปรแกรมเพื่อตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น -การตั้งค่าหมวดค่าใช้จ่ายให้ถูกต้อง (20 หมวดล่าสุด) และ Map รหัส ADP CODEให้ตรงตามหมวดต่างๆ -ปรับฐานข้อมูลเพื่อการส่งออก -การตั้งค่าต่างๆ ตามมาตรฐาน สกส. (CSOP,COPD,CIPN,SSOP,SIP09M) |
21เม.ย.65-เช้า | -การตั้งค่าข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้รองรับการส่งข้อมูลเบิกชดเชย กองทุนต่างๆ -การตั้งค่าสิทธิ์การรักษาให้ครบ ถูกต้องและง่ายต่อระบบเคลมต่างๆ -Drug Catalog / Lab Catalog -การกำหนดค่า X-ray ให้ถูกต้อง -การกำหนดค่าใช้จ่ายหลายราคา ตามสิทธิ์ที่ต้องการ -การตั้งค่าต่างๆ ตามมาตรฐาน สกส. (CSOP,COPD,CIPN,SSOP,SIP09M) -การส่งออก/แก้ไข ระบบ SSOP ประกันสังคมผู้ป่วยนอก -การส่งออก/แก้ไข ระบบ COPD กทม. พัทยา ผู้ป่วยนอก -การส่งออก/แก้ไข ระบบ CSOP จ่ายตรง ผู้ป่วยนอก -การส่งออก/แก้ไข ระบบ CIPN เบิกจ่ายตรง ผู้ป่วยใน |
21เม.ย.65-บ่าย | -การส่งออก/แก้ไข ระบบ SIP09M ประกันสังคม ผู้ป่วยใน/ Covid -การส่งเบิกค่ารถ AMBTR กทม./ประกันสังคม Covid -การขอ Authen Code / การทำ QR Code ให้รองรับระบบเคลมปี 2565 -ระบบส่งออกรองรับ Eclaim2008 / การส่งออกแบบ 16 แฟ้ม -ระบบเคลม UCS -ระบบเคลม อปท. -ระบบเคลม เบิกจ่ายตรง -ระบบเคลม UCAE -ระบบเคลม OP-Refer (รับ Refer) -ระบบเคลม UCS WALKIN ทั่วประเทศ -ระบบเคลม ย้ายหน่วยบริการเกิดสิทธิ์ทันที -ระบบเคลม COVID2019 , ATK และอื่นๆ -ระบบเคลม พรบ. -ระบบมีปัญหาสถานะสิทธิ์ -ระบบสิทธิ์ต่างด้าว -ระบบเคลมฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม -ระบบเบิกฟอกไตทางหน้าท้อง |
22เม.ย.65-เช้า | -ระบบเคลม ฝังเข็ม IMC -ระบบเคลม Instrument -ระบบเคลม คุมกำเนิดกึ่งถาวร <=20 ปี และ >=20 ปี -ระบบเคลม ยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย -ระบบเคลม ODS/MIS -ระบบเคลม มะเร็งทั่วไป -ระบบเคลม ยา Clopidogrel ยา STROKE ยา STEMI -ระบบเคลม Palliative Care |
22เม.ย.65-บ่าย | -ระบบเคลม ทันตกรรมในวัยเรียน -ระบบเคลม ทันตรรม ANC / Ultra Sound / PAP ปี 2565 -ระบบนำเข้า REP และ STATEMENT จาก สปสช. และ สกส. เพื่อปรับปรุงบัญชีลูกหนี้ -การกระทบยอดลูกหนี้ด้วย REP และ STATEMENT จาก สปสช. และ สกส. และ การ Keyin |
ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดมีกลไกของการตรวจสอบภายในทุกระดับ เพื่อพัฒนาคุณภาพกระบวนการปฏิบัติงาน ข้อมูสรายงานทางการเงินน่าเชื่อถือ สามารถเพิ่มคุณค่าการดำเนินงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดการดูแลตนเองที่ดีอย่างเป็นระบบ ตามพระราขบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๙ ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสียง โดยให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด และตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๓ มาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ ส่วนที่ ๒ มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน รหัส ๒๐๐๐ การบริหารงานตรวจสอบภายใน และหลักกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ ข้อ ๑ ให้หน่วยงานของรัฐบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง จึงให้ผู้ตรวจสอบภายในที่ได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการ ให้ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราขการและเพื่อกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจงานตรวจสอบภายใน
ลำดับ | วัน เดือน ปี | หน่วยรับตรวจ |
---|---|---|
1 | ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลแวงใหญ่ |
2 | ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลชนบท |
3 | ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลโนนศิลา |
4 | ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลเปือยน้อย |
5 | ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลบ้านไผ่ |
6 | ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น |
7 | ๕ เมษายน ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลโคกโพธิ์ไชย |
8 | ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลมัญจาคีรี |
9 | ๒๑ เมษายน ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลพระยืน |
10 | ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลสีชมพู |
11 | ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลหนองนาคำ |
12 | ด๒ พฤษภาคม ๒๕๖๕ | โรงพยาบาลภูเวียง |
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มงานประกันสุขภาพ จัดการประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น เพื่อหารือแนวทางบริหารจัดการงบประมาณที่โรงพยาบาล (CUP) ต้องสนับสนุนงบค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เพื่อใช้ในการดำเนินงานกำกับติดตามประเมินผล และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการบริการสาธารณสุข ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ตามนโยบายและตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 14 ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา 13.3๐-๑6.๓๐ น. ณ ห้องประชุมก่องข้าว (ห้องประชุม VDO Conference ตึกใหม่ ชั้น 3) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
แจ้งแนวทางการจัดสรรเงินค่าบริการสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ 2565 จังหวัดขอนแก่น