• กรณีที่ ๑ ลงทะเบียนตรงตามที่อยู่หน้าบัตรประจำตัวประชาชน ให้แสดงพยานหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
    1. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตร หรือเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ ซึ่งมีเลขประจำตัวประชาชน
    2. กรณีเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ให้แสดงสูติบัตรพร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
    3. กรณีไม่เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนและไม่มีเอกสารอื่นใดและอายุเกิน ๑๕ ปีแล้ว เช่นกรณีบุคคลที่อยู่ในทะเบียนบ้านกลาง ให้แสดงใบคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎร จากฐานข้อมูลการทะเบียนสำนักทะเบียนกลาง (ท.ร. ๑๔/๑) โดยผู้นั้นขอคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎรนี้ได้จากสำนักทะเบียนราษฎรทุกแห่งทั่วประเทศด้วยตนเอง ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ (ข้อ ๔๘)
    4. กรณีเคยทำบัตรประจำตัวประชาชน แต่ปัจจุบันบัตรหายและไม่มีพยานหลักฐานอื่นใด หรือบุคคลที่อยู่ในทะเบียนบ้านกลาง และบัตรประจำตัวประชาชนสูญหาย ให้แสดงใบคัดทะเบียนประวัติบุคคล (ท.ร. ๑๒) โดยผู้นั้นขอคัดสำเนาทะเบียนประวัติบุคคลนี้ได้จากสำนักทะเบียนราษฎรทุกแห่งทั่วประเทศด้วยตนเอง ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ (ข้อ ๔๘)
    5. กรณีผู้มีสิทธิทราบเพียงหมายเลขประจำตัวประชาชน แต่ไม่มีบัตรประชาชนหรือบัตรเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ และไม่สามารถไปคัดสำเนารายการตาม ข้อ 3 และข้อ 4 ได้ และมีเหตุจำเป็นต้องเข้ารับบริการขอให้หน่วยบริการ ดำเนินการดังนี้
      • ก.ให้บริการในครั้งนั้นโดยถือเป็นเหตุสมควร หรือฉุกเฉิน
      • ข.หากผู้มีสิทธิประสงค์จะลงทะเบียน ณ หน่วยบริการที่รับบริการ ขอให้หน่วยบริการจัดให้ผู้มีสิทธิลงทะเบียนโดย
        • ลงทะเบียนผ่านระบบ E-form ของ สปสช. (เจ้าหน้าที่หน่วยบริการแสดงสิทธิการเป็นเจ้าหน้าที่ (Authen Smart Card) เข้าผ่านระบบ Enrollment : ERM ) (right)ลงทะเบียนด้วยเลข ๑๓ หลัก ของผู้มีสิทธินั้นคู่กับบัตรประจำตัวประชาชนของพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือนั้นให้คำนึงถึงความเป็นไปได้และความสามารถที่ผู้นั้นจะแสวงหาพยานบุคคลได้
        • ถ่ายรูปผู้มีสิทธิและพยานบุคคลแนบไฟล์ในระบบลงทะเบียน
      • ค.แนะนำผู้มีสิทธิและพยานบุคคลให้ไปดำเนินการตามข้อ 3 หรือ ข้อ 4 ก่อนเข้ารับบริการครั้งต่อไป
  • กรณีที่ ๒ ลงทะเบียนไม่ตรงกับที่อยู่หน้าบัตรประชาชน หรือบัตรหรือเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ ให้แสดงเอกสารตามกรณีที่ ๑ พร้อมกับแสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งที่แสดงว่าตนมีถิ่นที่อยู่หรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น เช่น
    • หนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
    • หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน
    • หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
    • เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พักสัญญาเช่าที่พัก แผนที่พักอาศัยของบุคคลนั้น เป็นต้น
  • ทั้งนี้ ลักษณะของพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือตามที่กรมการปกครอง และสำนักทะเบียนกลางได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้แก่
  • (๑) ต้องเป็นผู้ที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน
  • (๒) มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่งในท้องที่ที่ผู้นั้นอาศัยอยู่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
  • (๓) เป็นบุคคลที่ขุมชนให้การยอมรับนับถือหรือให้การยกย่องศรัทธา
  • (๔) มีความประพฤติดีและต้องรู้จักคุ้นเคยกับผู้ร้องหรือครอบครัวของผู้ร้องเป็นอย่างดี ทั้งนี้ พยานบุคคลอาจเป็นพระภิกษุ คหบดี หรือผู้ประกอบอาชีพสุจริต โดยไม่จำเป็นต้องเป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน และผู้ที่เป็นพยานบุคคลไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น ผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น เว้นแต่กฎหมายหรือระเบียบกำหนดว่าต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Previous post กรอบเวลาขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ปี2565
Next post ปฏิทินการออก statement และบัญชีโรคเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยนอกประกันสังคม ปี พ.ศ. 2564 ssop