วัตถุประสงค์

  1. ลดอัตราการป่วยและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค
  2. เพิ่มความครอบคลุมในการค้นหาและการเข้าถึงบริการดูแลรักษาของผู้ป่วยวัณโรค
  3. สนับสนุนการจัดบริการการดูแลรักษาวัณโรคและวัณโรคดื้อยา (RR-TB/MDR-TB) และวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (Pre-XDR-TB/XDR-TB) การตรวจวินิจฉัยและ การติดตามการรักษาวัณโรคและวัณโรคดื้อยาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

ขอบเขตบริการ

ผู้มีสิทธิขอรับบริการสามารถลงทะเบียนเพื่อรับบริการได้ ณ หน่วยบริการประจำ ของตนเอง แต่หากมีความจำเป็นก็สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่นในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ สปสช.จ่ายชดเชยบริการตามสิทธิประโยชน์แก่หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยตามผลงาน ส่วนค่าชดเชยบริการอื่นที่อยู่นอกเหนือจากขอบเขตบริการรวมอยู่ในเงินเหมาจ่ายรายหัว หรือเป็นไปตามประกาศของ สปสช.หน่วยบริการที่สามารถขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขได้ ต้องเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านการขึ้นทะเบียนหรือผ่านการประเมินศักยภาพตามที่ สปสช.กำหนด

แนวทางการบริการจัดการค่าใช้จ่ายบริการ

กรอบการบริหารจัดการ

บริการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค เป็นไปตามแนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561 (National Tuberculosis control Program Guideline, Thailand 2018: NTP 2018) และที่ปรับปรุงเพิ่มเติม ประกอบด้วย

  1. บริการดูแลรักษาด้วยยาวัณโรคและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ทั้งนี้ การพิจารณาเลือกการรักษาด้วยยารักษาวัณโรค เป็นไปตามรายการที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ)
    • 1.1. บริการดูแลรักษาด้วยยารักษาวัณโรค
      • 1.1.1 บริการดูแลรักษาด้วยยารักษาวัณโรคสูตรพื้นฐาน
      • 1.1.2 บริการดูแลรักษาด้วยยารักษาวัณโรคสูตรดื้อยา
        • 1) ยารักษาวัณโรคดื้อยา (RR-TB/MDR-TB)
        • 2) ยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (Pre-XDR-TB/XDR-TB)
    • 1.2. บริการตรวจและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง
      • 1.2.1 บริการตรวจการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงสำหรับผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรคปอดที่อายุ ≤ 18 ปี
      • 1.2.2 บริการยารักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงสำหรับผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคปอดที่อายุ ≤ 18 ปี
    • 1.3. บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยหรือติดตามการรักษา
      • 1.3.1 บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยวัณโรค
      • 1.3.2 บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานเพื่อการติดตามการรักษาวัณโรค
      • 1.3.3 บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยวัณโรคดื้อยา (First line drugs และ Second line drugs)
      • 1.3.4 บริการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อการติดตามการรักษาวัณโรคดื้อยา
    • 1.4. บริการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่มารับการรักษาและติดตาม ครอบคลุมกิจกรรมบริการ ได้แก่ บริการดูแลรักษา การติดตามการรักษา บริการให้คำปรึกษาและให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค บันทึกข้อมูล และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. บริการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค สนับสนุนบริการที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และนำเข้าสู่ระบบการดูแล รักษาแต่เนิ่นๆ โดยการค้นหาวัณโรคในกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อวัณโรค และการค้นหาแบบเข้มข้น ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อวัณโรค เน้นดำเนินการค้นหาแบบเข้มข้น โดยคัดกรองหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้ต้องขัง และกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค
  3. บริการกำกับการกินยา ครอบคลุมกิจกรรมบริการติดตามการรักษาผู้ป่วยวัณโรคอย่างต่อเนื่อง การกำกับการกินยาของผู้ป่วย (Directly Observed Treatment: DOT) เพื่อให้กินยาครบถ้วนต่อเนื่อง เพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีของผู้ป่วยวัณโรค
    ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล
ระดับเขตผ่านกลไกคณะทำงานวิชาการด้านเอดส์และวัณโรคระดับเขต โดยมีตัวชี้วัดที่ใช้กำกับติดตาม ดังนี้

  1. อัตราผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา (RR-TB/MDR-TB)
  2. อัตราผู้ต้องขังได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรคในเรือนจำ
  3. อัตราผลสำเร็จของการรักษา (Sucess rate)
  4. อัตราการขาดการรักษา (Default rate)
  5. อัตราเสียชีวิต (Death rate)
Happy
Happy
50 %
Sad
Sad
50 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Previous post การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย
Next post การบริการแบบประคับประคอง และการดูแลผู้ป่วยโรคหายาก