เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายฯที่เปลี่ยนแปลงในปี65

0 0
Read Time:9 Minute, 35 Second

หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2565 (บริการเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลง และบริการใหม่)

หมวด 2 บริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว

  1. บริการผู้ป่วยนอก
    • 1.1 การบริหารกองทุนผู้ป่วยนอก เขต 13 กรุงเทพมหานคร
      • 1) ปรับระบบการส่งข้อมูลจาก โปรแกรม OP BKK Claim ให้ส่งผ่านโปรแกรม e-Claim ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป
      • 2) การบริหารจัดการงบบริการผู้ป่วยนอก (Global budget) กรณี model 5 เป็นกองทุนภาพรวมทุกเครือข่าย
  2. บริการผู้ป่วยในทั่วไป
    • 2.1 บริการผู้ป่วยใน การรับบริการผู้ป่วยในทั้งในเขตและข้ามเขต โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
    • 2.2 เด็กแรกเกิดที่น้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม เพิ่มอัตราจ่าย กรณีเด็กแรกเกิดที่น้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม หรือเด็กแรกเกิดที่ป่วยตามเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด หากได้รับหัตถการเพื่อการรักษาที่จำเป็นและราคาแพงตามเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนดเพิ่มเติม จ่ายในอัตรา 12,000 บาทต่อ adjRW
    • 2.3 บริการรักษาด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule : ORS) เพิ่มรายการบริการ กรณีการใช้บริการรักษาด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินปกติ (Outlier Reimbursement Schedule: ORS)เพื่อสะท้อนต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาตรฐานการจัดกลุ่มวินิจโรคร่วมของระบบ DRGs version 5 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด โดยรายละเอียดแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายฯ จะปรากฎในคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายฯ ปีงบประมาณ 2565
    • 2.5 บริการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืน (One Day Surgery)/ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ เพิ่มรายการบริการใหม่ จำนวน 19 รายการ ดังนี้
      • 1) การส่องกล้องใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy: PEG)
      • 2) EUS-FNB (endoscopic ultrasound-guided fine needle biopsy) pancreas
      • 3) EUS-FNB (endoscopic ultrasound-guided fine needle biopsy) liver
      • 4) การฉีดสารฟิลเลอร์ที่เส้นเสียงการฉีดสารฟิลเลอร์ที่เส้นเสียง (Injection laryngoplasty)
      • 5) การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อรักษาพยาธิสภาพที่กล่องเสียง (Endoscopic laryngeal surgery)
      • 6) การผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู (Tympanoplasty)
      • 7) การวางสาย Tenckhoff catheter
      • 8) การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ในผู้ป่วย Fit test positive
      • 9) การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า
      • 10) การผ่าตัดโรคจอตาและวุ้นตา (Vitreoretinal surgery)
      • 11) การผ่าตัดเพื่อเปิดทางระบายน้ำจากช่องหน้าลูกตาไปใต้เยื่อบุตา (Trabeculectomy)
      • 12) การผ่าตัดเพื่อใส่ท่อระบายน้ำจากช่องหน้าม่านตาไปใต้เยื่อบุตา (Tube shunt surgery)
      • 13) การผ่าตัดเบ้าตา (Orbital surgery)
      • 14) การผ่าตัดเปลือกตา (Eyelid surgery)
      • 15) การผ่าตัดระบบน้ำตา (Lacrimal surgery)
      • 16) การผ่าตัดแก้ไขหนังตาหย่อน (Rhytidectomy/Blepharoplasty)
      • 17) การผ่าตัดโดยวิธีการฉายแสงเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระจกตา (Corneal Collagen Cross Linking)
      • 18) การยิงเลเซอร์ทำลายซิลิอารีบอดี (Cyclophotocoagulation)
      • 19) ผ่าตัดทำลายเยื่อบุตาและผ่าตัดตัดแต่งเยื่อบุตา
    • ปรับการจ่ายรายการบริการผ่าตัดผ่านกล้อง ที่สามารถให้บริการแบบวันเดียวกลับได้ ได้แก่ การบริการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง เฉพาะกลุ่ม DRGs 07100 Laparoscopic cholecystectomy, no CC โดยจ่ายในลักษณะบริการ MIS ที่ให้บริการเป็น ODS (จ่าย RW+K ของ MIS)
    • 2.6 บริการผ่าตัดผ่านกล้องแบบ Minimally Invasive Surgery (MIS)เพิ่มรายการบริการ จำนวน 6 รายการ ดังนี้
      • 1) Laparoscopic Nephrectomy
      • 2) การระบายน้ำดี (biliary drainage) ผ่านการส่องกล้องทางเดินน้ำดี (endoscopic retrograde cholangiopancreatography, ERCP)
      • 3) การผ่าตัดผ่านกล้องการวินิจฉัยและตัดชิ้นเนื้อในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งทางนรีเวช
      • 4) Endoscopic sinus surgery using microdebrider
      • 5) Laparoscopic adrenalectomy
      • 6) Laparoscopic appendectomy
    • มีระบบการขออนุมัติก่อนผ่าตัด (Pre Authorized) กรณีการผ่าตัดภาวะอ้วนที่เป็นโรค/โรคอ้วนทุพพลภาพ (Morbid obesity)
  3. บริการกรณีเฉพาะ
    • 3.1 กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินผู้ป่วยนอกข้ามจังหวัด (OPAE) ปรับรูปแบบการจ่าย เป็นการจ่ายตามรายการบริการ (Fee schedule) และรายการที่ยังไม่กำหนดจะจ่ายตามอัตราที่เรียกเก็บโดยเริ่มดำเนินการ 1 มกราคม 2565 (Service Date)
    • 3.2 การเข้ารับบริการในหน่วยบริการอื่น กรณีเหตุสมควร กรณีประชาชนไปรับบริการในหน่วยบริการอื่นกรณีที่มีเหตุสมควร นอกจากการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง จ่ายให้หน่วยบริการด้วยระบบ Point system ของราคาตามรายการที่กำหนด (Fee schedule) หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สปสช. กำหนด
    • 3.3 การลงทะเบียนตามมติบอร์ด เป็นการจ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัว โดยคำนวณ point ประชากรรายวัน
    • 3.4 รายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดโรค (Instrument)
      • 1) ประกาศรายการอุปกรณ์ อวัยวะเทียม ในการบำบัดรักษาโรค และข้อบ่งชี้ พ.ศ.2564 โดยรวมประกาศรายการอุปกรณ์ฯ พ.ศ.2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2-4) พ.ศ.2564
      • 2) เพิ่มรายการอุปกรณ์ฯ จำนวน 2 รหัส ได้แก่
        • รหัส 4810 ชุดอุปกรณ์สลายลิ่มเลือดหลอดเลือดในสมอง (Thrombectomy Device)
        • รหัส 4817 ขดลวดพร้อมอุปกรณ์สำหรับปล่อย ชนิดปลดได้ (Detachable coil delivery system)
    • 3.5 การสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography-CAG) กำหนดให้มีการบันทึกข้อมูลมาตรฐานประกอบการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีให้บริการสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography-CAG) ตามแบบฟอร์มที่กำหนด (one page) ในโปรแกรม e-Claim
    • 3.6 บริการผ่าตัดข้อเข่าเทียม การขออนุมัติก่อนผ่าตัด (Pre Authorized) กรณีผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Arthroplasty, TKA) ในผู้ป่วยอายุไม่เกิน 55 ปี ที่วินิจฉัยเป็นข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ หรือข้อเข่าเสื่อมไม่ทราบสาเหตุ (Primary or Unspecified Knee OA) ดำเนินการโดย สปสช.ส่วนกลาง
    • 3.7 ยาจำเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึง ได้แก่ ยาบัญชี จ (2) เพิ่มสิทธิประโยชน์ยาบัญชี จ (2) โดยขยายข้อบ่งใช้ยา จำนวน 2 รายการ และเพิ่มรายการยา จำนวน 2 รายการ ได้แก่
      • 1) ขยายข้อบ่งใช้ยา Imatinib และยา Dasatinib ในกรณีรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ ALL ที่มี Ph+ (รายการยาในระบบเดิม)
      • 2) เพิ่มยา Tocilizumab เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ ชนิด Systemic (Systemic Juvenile Idiopathic Arthritis: SJIA) ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน
      • 3) เพิ่มยา Ceftazidime/avibactam เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae ที่ไวต่อยา Ceftazidime/avibactam ในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้ Colistin
  4. บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
    • .4.1 บริการแพทย์แผนไทย ปรับการจ่ายจากจ่ายตามรายการบริการ (Fee Schedule) เป็นจ่ายแบบเหมาจ่าย ตามจำนวนผลงานบริการการแพทย์แผนไทย โดยใช้ผลงานบริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – พฤษภาคม 2565
    • 4.2 การใช้น้ำมันกัญชาและสารสกัดกัญชา
      • 1) เพิ่มรายการบริการกัญชาทางการแพทย์ ได้แก่ น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน และสารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย
      • 2) เบิกจ่ายผ่านระบบโปรแกรมการเบิกชดเชยยา หัวข้อ ยากัญชา
      • 3) อัตราจ่าย ดังนี้
        • 3.1) น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน (ตารางที่1)
        • 3.2) สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย (ตารางที่2)
  5. การปรับเกลี่ยรายรับเงิน Basic payment หน่วยบริการสังกัด สป.สธ.
    1. 1) ผ่านความเห็นชอบจาก 5×5 (ยกเว้น PPnon UC ผ่านความเห็นชอบจาก อปสข)
    2. 2) การปรับเกลี่ย
      • 2.1) เขตสุขภาพนำร่อง ได้แก่ เขต 1,4,9,12 ปรับเกลี่ย Step/K ยอดประกันรายรับขั้นต่ำให้สามารถประกันรายรับได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 87 ของรายรับภาพรวมขั้นต่ำ ปีงบประมาณ 2564
      • 2.2) เขตอื่นๆ ปรับเกลี่ยค่า K
ตารางที่1 อัตราจ่าย น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน และไมเกรน
ตารางที่2 อัตราจ่าย สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยโรคลมชักที่รักษายากในเด็ก และโรคมะเร็งระยะท้าย

หมวด 3 บริการผู้ติดเชื้อเอช ไอวี และผู้ป่วยเอดส์

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

  1. บริการเชิงรุก RRTTR
    • จ่ายตามรายการ Fee schedule ตามผลงานบริการรายเดือน ผ่านโปรแกรม NAP สำหรับหน่วยบริการ สสจ. และ CBO ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ
    • จ่ายแบบโครงการ สำหรับ CBO ที่ยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ โดยทำนิติกรรมสัญญาผ่าน สปสช. เขต
    • บริการทางคลินิก (STI) จ่ายตามผลงานบริการรายเดือนให้กับหน่วยบริการ ผ่านโปรแกรม NAP
  2. ยกเลิกการจ่ายกรณีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ (QI)

หมวด 4 บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

การบริการล้างไต การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ ปรับประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนหน่วยเป็นหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ.2564 เพื่อให้สามารถเพิ่มจำนวนหน่วยบริการ ให้ผู้มีสิทธิเข้าถึงบริการได้ตามความจำเป็น

หมวด 5 บริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง

  1. ค่าบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยเบาหวาน
    1) การจ่ายภาพรวมระดับประเทศ จ่ายในลักษณะเหมาจ่าย สำหรับการบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และหญิงตั้งครรภ์
    ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน (GDM)
    2) การจ่ายอุปกรณ์ SMBG (Strip test) ผ่านระบบ VMI เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
  2. บริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน จ่ายตามจำนวนผู้ป่วยที่ลงทะเบียนบันทึกข้อมูลในระบบ Care transition

หมวด 8 ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ

ร้านยาคุณภาพ เพิ่มการจ่ายอุปกรณ์ Urostomy bag , Colostomy bag , ถุงยางอนามัยและยาเม็ดคุมกำเนิด โดยให้ผู้มีสิทธิรับอุปกรณ์ได้ที่ร้านยา

หมวด 10 ค่ายาวัคซีน เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม อุปกรณ์ทางการแพทย์ และชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ

การตรวจรักษาและอัตราการชดเชยค่าบริการ โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง จ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการ จากเดิมเบิกจ่ายจากโปรแกรมระบบบัญชียา จ(2) เป็น เบิกจ่ายจากโปรแกรม e-Claim

หมวด 13 บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

  1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับประเทศ (P&P National priority program and central procurement) เพิ่มรายการจ่ายจากเดิม 6 รายการ เป็น 7 รายการ โดยรายการเพิ่มเติมได้แก่ ถุงยางอนามัยและยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน ซึ่งจะจัดหาเป็นอุปกรณ์ผ่านระบบ VMI และกำหนดให้ผู้มีสิทธิรับอุปกรณ์ได้ที่ร้านยาในโครงการ
  2. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐาน (P&P basic services)
    • 1) การจ่ายแบบเหมาจ่าย รวมบริการทันตกรรมป้องกันในเด็กวัยเรียน (เคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอายุ 4-12 ปี และเคลือบหลุมร่องฟันถาวรในเด็กอายุ 6-12 ปี)
    • 2) กรณีการจ่ายแบบ Fee schedule มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
      • 2.1) ปรับการจ่ายรายการทันตกรรมป้องกันในเด็กวัยเรียนโดยจ่ายแบบเหมาจ่าย และรายการที่เหลือยังคงจ่ายแบบ Fee schedule เช่นเดิม
      • 2.2) เพิ่มรายการแว่นตาเด็ก สำหรับเด็กไทย อายุ 6-12 ปี หรือเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
      • 2.3) บริการตรวจคัดกรองภาวะพร่อง TSH และ PKU ในเด็กแรกเกิด เพิ่มค่าตรวจและการติดตามเพื่อตรวจยืนยันในรายที่ผิดปกติ ในอัตรา 350 บาท/ราย โดยบันทึกผ่านโปรแกรม NPRP
      • 2.4) ปรับอัตราจ่ายค่าบริการตรวจยืนยันโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์และสามี กรณีค่าตรวจ Alpha thalassemia อัตรา 800 บาท/ครั้ง และ Beta thalassemia อัตรา 3,000 บาท/ครั้ง
      • 2.5) ปรับการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายกรณีการฝากครรภ์และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) โดยจะเปลี่ยนการบันทึกข้อมูลจากระบบ 43 แฟ้ม เป็นการบันทึกในโปรแกรม e-Claim เริ่มดำเนินการ 1 มกราคม 2565

หมายเหตุ รายละเอียดการเบิกจ่ายฯ ตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565

Happy
8 62 %
Sad
2 15 %
Excited
2 15 %
Sleepy
0 0 %
Angry
1 8 %
Surprise
0 0 %

แนวทางเบิกค่าใช้จ่ายการรักษาCovid19-คนไร้สิทธิ

0 0
Read Time:11 Minute, 40 Second

แนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำหรับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ ๐๒๑๐.๐๕/ว๓๐๐๐ ลงวันที่ ๒๐ ก.ค. ๒๕๖๔ และหนังสือด่วนที่สุด ที่ สธ ๐๒๑๐.๐๕/ว๔๒๓๙ ลงวันที่ ๑ ต.ค.๒๕๖๔

เพื่อให้การขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ของหน่วยบริการหรือโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดำเนินไป ด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด สอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ที่เห็นชอบให้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และให้สถานพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาภาครัฐ สภากาชาดไทยปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว รวมทั้งฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ในฐานะหน่วยงานที่ต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและขออนุมัติเบิกจ่ายการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย (ที่ไร้สิทธิการรักษาพยาบาล) ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ที่เกิดขึ้น ของหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาล ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐนอกสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

นิยาม

“ผู้ป่วย” หมายถึง ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และให้หมายความรวมถึงบุคคลกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (CoronavirusDisease 2019 (COVID-19)) โดยการฉีดวัคซีนจากสถานพยาบาล ที่ภาครัฐกำหนดและเกิดอาการแพ้วัคซีน หรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีน

“ผู้ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล” หมายถึง คนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือผู้ไร้สัญชาติ หรือ ผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าวเนื่องจากสิทธิประโยชน์ไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

“โรงพยาบาล” หมายถึง หน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาภาครัฐ สภากาชาดไทย

๑. เงื่อนไขการให้การรักษาพยาบาลและการขอรับค่าใช้จ่าย

  • ๑.๑ การแบ่งกลุ่มการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สำหรับผู้ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ดังนี้
    • ๑.๑.๑ กลุ่มคนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือ ผู้ไร้สัญชาติ เป็นผู้ป่วยที่จำหน่าย ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ และจำหน่ายภายใน ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • ๑.๑.๒ กลุ่มผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าว เป็นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๔ และจำหน่ายภายใน ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • ๑.๑.๓ กลุ่มคนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือ ผู้ไร้สัญชาติ หรือกลุ่มผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าวหรือแรงงานต่างด้าว เป็นผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔
  • ๑.๒ การรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ให้ดำเนินการตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  • ๑.๓ เมื่อสิ้นสุดการรักษาพยาบาลผู้ป่วยแล้ว โรงพยาบาลสามารถขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไปที่กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยมิให้เรียกเก็บจากผู้ป่วยเพิ่มเติม
    • (๑) ยา Favipiravir หรือ ยา remdesivir ให้เบิกจากกระทรวงสาธารณสุข
    • (๒) ค่าชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE ) หากเบิกจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว มิให้นำมาเบิกซ้ำซ้อน หากตรวจพบภายหลังจะดำเนินการเรียกเงินคืน
  • ๑.๔ กรณีส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาพยาบาลยังโรงพยาบาลอื่น โรงพยาบาลต้องจัดการให้มีการจัดส่งต่อตามความเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วย และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยอาจส่งต่อได้ในกรณี ดังนี้
    • ๑.๔.๑ โรงพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาตัวในเครือข่ายโรงพยาบาลที่จัดส่งไว้สำหรับผู้ป่วย
    • ๑.๔.๒ โรงพยาบาลมีศักยภาพไม่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วย
    • ๑.๔.๓ ผู้ป่วยหรือญาติมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่นกรณีโรงพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยไปรับการดูแลรักษายังโรงพยาบาลอื่นตามข้อ ๑.๔.๑ หากผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยปฏิเสธไม่ขอให้ส่งต่อ หรือ กรณีผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยประสงค์จะไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นตามข้อ ๑.๔.๓. ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง
  • ๑.๕ การขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ช่วงเวลานับตั้งแต่รับผู้ป่วยตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่นให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
    • ๑.๕.๑ ครอบคลุมการเข้ารับการรักษาพยาบาลทั้งประเภทผู้ป่วยนอก และประเภทผู้ป่วยใน
    • ๑.๕.๒ กรณีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการระบุว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (ผลเป็นบวก) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะครอบคลุมตั้งแต่วันที่โรงพยาบาลรับเข้ามาเป็นผู้ป่วยใน จนสิ้นสุดการรักษาพยาบาลตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและให้หมายความรวมถึงกรณีที่โรงพยาบาลส่งตัวผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งอื่นด้วย ทั้งนี้ เกณฑ์การตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    • ๑.๕.๓ กรณีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการระบุว่าผู้ป่วยไม่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (กรณีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient under investigation: PUI) แต่พบว่าผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นลบ) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะครอบคลุมตั้งแต่วันที่โรงพยาบาลรับเข้ามาเป็นผู้ป่วยในเพื่อตรวจจนถึงวันที่ผู้ป่วยได้รับแจ้งผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ เกณฑ์การตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  • ๑.๖ อัตราค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเป็นไปตามบัญชี และอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  • ๑.๗ ข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายที่อยู่ในช่วงการรักษาเดียวกัน สามารถขอรับค่าใช้จ่ายได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และมิให้ขอรับค่าใช้จ่ายในรายการที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งอื่นแล้ว
  • ๑.๘ โรงพยาบาลต้องเก็บรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไว้เป็นหลักฐานเพื่อการตรวจสอบต่อไป

๒. เอกสารประกอบการพิจารณาในการขอรับค่าใช้จ่าย

  • ๒.๑ เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล (ทั้งนี้ กรณีเป็นสำเนาเอกสาร ทุกฉบับต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ) ได้แก่
    • ๒.๑.๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย (Patient’s profile)
    • ๒.๑.๒ ภาพถ่ายผู้ป่วย
      • (๑) กรณีจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ (ถ้ามี)
      • (๒) กรณีจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลภายหลังวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ (ต้องมี)
    • ๒.๑.๓ สำเนาเอกสารแสดงตัวบุคคลที่ออกโดยทางราชการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น บัตรประจำตัวคนต่างด้าว หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นต้น (ถ้ามี)
    • ๒.๑.๔ เอกสารผลตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) ด้วยวิธี RT-PCR หรือ วิธีอื่น ๆ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    • ๒.๑.๕ รหัสสงสัยผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) (SAT CODE) (ถ้ามี)
    • ๒.๑.๖ แบบสอบสวนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบติดเชื้อ (Novel Coronavirus 2019) (ถ้ามี)
    • ๒.๑.๗ แบบสรุปเวชระเบียนผู้ป่วย
  • ๒.๒ เอกสารสรุปข้อมูลค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยรายบุคคล ให้ใช้ตามแบบใบสรุปค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย กรณีรับการรักษา COVID–19 ของผู้ป่วยที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล รายบุคคล สำหรับโรงพยาบาล ซึ่งลงนามรับรองโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล
  • ๒.๓ เอกสารสรุปข้อมูลใบสรุปค่ารักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)) ให้ใช้ตามแบบรายงานสรุปค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย กรณีรับการรักษา COVID–19 ของผู้ป่วยที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล รายโรงพยาบาล สำหรับโรงพยาบาล ซึ่งลงนามรับรองโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล
  • ๒.๔. โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้เก็บเอกสาร/หลักฐานการให้การรักษาพยาบาลตามข้อ ๒.๑ ไว้ที่โรงพยาบาลเพื่อการตรวจสอบภายหลัง ยกเว้น การขอตรวจสอบเป็นกรณีเฉพาะราย

๓. วิธีการขอรับค่าใช้จ่าย

  • ๓.๑ โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการดังนี้
    • ๓.๑.๑ การส่งข้อมูลเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง สำหรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔ ให้ส่งในรูปแบบเอกสาร
    • ๓.๑.๒ การส่งข้อมูลเพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง สำหรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ให้ส่งผ่านโปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์เว็บไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิhttps://state.cfo.in.th/ ตามวิธีการ และขั้นตอนการส่งข้อมูลที่กำ หนดตามเอกสารแนบ “ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนบุคคลไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (COVID-19) สำหรับหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข”
    • ๓.๑.๓ การเลือกส่งข้อมูล ให้เลือกส่งข้อมูลตามประเภทผู้ป่วยที่สอดคล้องกับการให้บริการที่ระบุรหัสโรค (ICD10) สอดคล้องกับการรักษา ภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ให้บริการกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) หรือ วันที่จำหน่ายผู้ป่วย (Discharge) กรณีผู้ป่วยใน (IPD) และจะสิ้นสุดการส่งข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย โดยถือวันส่งข้อมูล (Sent date) ภายในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ และจะทำการปิดรับข้อมูลในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔
    • ๓.๑.๔ การตรวจสอบผลการจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีโรงพยาบาลที่ส่งข้อมูลเข้าระบบแล้ว สามารถตรวจสอบผลการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และดาวน์โหลดหนังสือแจ้งการโอนเงินทางเวบไซต์กองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ http://state.cfo.in.th/ หน้าหลัก ข้อ ๕ แจ้งผลการโอนเงินค่ารักษาพยาบาล บุคคลที่ไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (COVID – 19)
    • ๓.๑.๕ การกำหนดจ่ายค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล กำหนดจ่ายเป็นรายเดือนตามเดือนที่ส่งข้อมูล หรือเมื่องบประมาณหมดสิ้น โดยจะตัดยอดข้อมูลเพื่อประมวลผลจ่ายทุกวันสิ้นเดือน โดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะดำเนินการขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน และส่งให้กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โอนเงินให้กับโรงพยาบาลต่อไป
  • ๓.๒ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการดังนี้
    • ๓.๒.๑ การส่งข้อมูลเพื่อขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ได้ให้บริการตามจริง ให้ส่งข้อมูลในรูปแบบเอกสารภายใน ๓๐ วัน หลังการจำหน่ายผู้ป่วยแล้ว ไปยังกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตำบล ตลาดขวัญ อำเภอ เมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โดยแบ่งข้อมูลดำเนินการเป็น ๒ ช่วงเวลา ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้
      • (๑) ผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
      • (๒) ผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
    • ๓.๒.๒ การดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และสรุปค่าใช้จ่าย เมื่อกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพได้รับข้อมูลจากโรงพยาบาลถูกต้อง ครบถ้วนตามที่กำหนดแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง สรุปค่าใช้จ่าย และขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน และส่งให้กองบริหารการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โอนเงินให้กับโรงพยาบาลต่อไป ภายในระยะเวลา ๑๕ วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ เวลา ที่ได้รับข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน ตามที่กำหนด

๔. การขอทบทวนผลการพิจารณาการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาการขอรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย หรือเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้โรงพยาบาลดำเนินการดังนี้

  • ๔.๑ โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สามารถขอทบทวน เป็นหนังสือภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการโอนเงิน
  • ๔.๒ หน่วยบริการหรือโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขสามารถขอทบทวนเข้ามาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากทราบผลการพิจารณาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใน ๕ วันทำการ

ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นที่สุด

Happy
0 0 %
Sad
1 100 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

การจัดทำแผนทางการเงิน ปี 2565

0 0
Read Time:2 Minute, 9 Second

การจัดทำแผนทางการเงิน (Planfin 2565)
และแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง
หน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

ด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดตัวชี้วัดด้านการเงินการคลัง คือ ร้อยละของหน่วยบริการที่ประสบภาวะวิกฤตการเงิน ระดับ ๗ เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๔ และระดับ ๖ เป้าหมายไม่เกินร้อยละ ๖ จึงมีนโยบายให้หน่วยบริการจัดทำแผนทางการเงิน (Planfin) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบกับผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ รอบที่ ๑ ประเด็นที่ ๖ ระบบธรรมาภิบาล ตรวจสอบภายใน (แผนเงินบำรุงในโรงพยาบาล) พบว่าหน่วยบริการส่วนใหญ่มีแนวทางการจัดทำแผนรายรับ-รายจ่ายเงินบำรุงแต่ยังไม่ครอบคลุม ครบถ้วน เพื่อให้การจัดทำแผนทางการเงิน (Planin) และแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ของหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีความเชื่อมโยง สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเกิดประสิทธิภาพ จึงขอให้หน่วยบริการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  1. แผนทางการเงิน (Planfin) ปีงบประมาณ พ.ศ, ๒๕๖๕ หน่วยงานที่จัดทำ ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน
    • ๑.๑ ดำเนินการจัดทำแผนทางการเงิน (Planin) ตามคู่มือการจัดทำแผนทางการเงิน (Planfin2565) และส่งผ่านเว็บไซต์ http://planfin.cfo.in.th ภายในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔
    • ๑.๒ เสนอนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด อนุมัติแผนทางการเงิน (Planfin)
    • ๑.๓ เสนอผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็นชอบภายในวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔
  2. แผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ หน่วยงานที่จัดทำ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
    • ๒.๑ ดำเนินการจัดทำแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ภายในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔
    • ๒.๒ เสนอนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด อนุมัติแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ภายในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๔
    • ๒.๓ หน่วยบริการจัดเก็บแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไว้ที่หน่วยบริการเพื่อการกำกับและติดตามการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผน ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการจัดทำแผนทางการเงิน (Planfin)/ และแผนรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุง ได้ที่เว็บไซต์ https://hfo64.cfo.in.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ขอให้หน่วยบริการในสังกัด ดำเนินการจัดทำแผนทางการเงินทั้ง ๒ แผน

ส่งให้งานการเงินและบัญชี กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น เป็นไฟล์ Excel ทาง E-Mail: K.thammapon@gmail.com พร้อมด้วยหนังสือนำส่ง ภายในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
1 100 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการเรียกเก็บผู้ป่วยนอก ปี2565

0 0
Read Time:4 Minute, 26 Second

แนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ในจังหวัดขอนแก่น ปี ๒๕๖๕

แนวทางการเรียกเก็บ/ชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ (UC) ประเภทผู้ป่วยนอก ภายในจังหวัดขอนแก่น

กรณีเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์จากงบ OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น

(เริ่มเดือน 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป)
(ยกเลิกหนังสือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0032.005/ว 1430 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2563)
  1. หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลชุมแพ และโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ในจังหวัดขอนแก่น ลงบันทึกข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยเป็นรายเดือน (ตัดยอดข้อมูล 1-30 ของเดือน) และต้องเป็นผู้ป่วยที่ไม่เบิกค่าบริการฯ ซ้ำซ้อนกับกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบ นค.1 ขอนแก่น เป็น Electronic File โปรแกรม Exce โดยใช้อัตราค่าบริการของกรมบัญชีกลาง ตามประกาศระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาในสถานพยาบาลของทางราชการ
  2. หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป เอกสาร/ข้อมูลประกอบการเรียกเก็บ มีดังนี้
    • 2.1 หนังสือราชการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล
      • ระบุการให้บริการประจำเดือน ทีให้บริการ
      • จำนวนครั้ง (Visit) ที่ผู้ป่วยเข้ารับบริการ
      • จำนวนเงินค่าใช้จ่ายจริงทั้งสิ้น
      • จำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่เรียกเก็บ (ตรวจสอบให้สอดคล้องกับข้อมูลด้วย)
      • หมายเลขบัญชี และสาขา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อรับเงินโอน
    • 2.2 แบบแสดงรายการค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก นค.1 ขอนแก่น ที่มีการลงนามรับรองจากเจ้าหน้าที่การเงิน และหัวหน้าหน่วยบริการที่ให้การรักษา
    • 2.3 ข้อมูลตามแบบ นค.1 ขอนแก่น ที่เป็น Electronic File โปรแกรม Excel ส่งไปที่ E-mail address : tanya.maksong@gmail.com ทั้งนี้ สามารถ Download แบบ นค.1 ขอนแก่น ได้ที่ไฟล์แนบด้านล่าง
    • 2.4 กรณีเรียกเก็บค่า MRI&CT เพิ่มเติมของโรงพยาบาลขอนแก่น สิรินธรฯ ชุมแพ น้ำพอง พล และ กระนวน ให้จัดส่งสำเนาเอกสารใบสั่งตรวจ (Recuest For X-Ray) รพ.ขอนแก่น และใบสั่งตรวจพิเศษฯ ของบริษัท และผลตรวจฯ ในรูปแบบเอกสาร และอิเลคทรอนิคส์ไฟล์ ตามแบบ นค. 1 ให้กองทุนจังหวัดตรวจสอบ/พิจารณาจ่ายค่าตรวจฯ เพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยใบสั่งตรวจ (Request For X- Ray) ของ รw.ขอนแก่น ต้องระบุรพ. ที่จะให้ไปตรวจ CT พร้อมทั้งให้กำหนดวันนัดฟังผลตรวจ CT ดังกล่าวไว้ด้วย
    • 2.5 กรณีเรียกเก็บประเภทผู้ป่วยนอก ที่เข้ารับบริการที่หน่วยบริการระดับปฐมภูมินอกเครือข่ายหน่วยบริการประจำภายในจังหวัดขอนแก่น กรณีที่มีเหตุสมควร โดยไม่มีใบส่งต่อ อ้างอิงตามหนังสือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ที่ ขก 0032.005/ ว 2112 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 เรื่อง แนวทางการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประเภทผู้ป่วยนอกในจังหวัดขอนแก่น (เพิ่มเติม)
      • หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) รวบรวมข้อมูลตามแบบ นค.1 (สำหรับหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ)สรุปรวมเป็นภาพรวม CUP ที่มีการลงนามรับรองจากผู้รับผิดชอบงาน และหัวหน้าหน่วยบริการที่ให้การรักษา
      • ส่งไปยังกลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ภายในวันที่ 20 ของเดือน ไปยัง E-mail.: tanya.maksong@gmail.com โดยจัดทำหนังสือราชการเรียกเก็บแยกส่งจากข้อมูลตามแบบ นค.1 ที่โรงพยาบาลให้บริการผู้ป่วยนอก สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีส่งต่ออุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ในจังหวัดรายเดือน
      • กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และจ่ายเงินชุดเชยค่าบริการทางการแพทย์ โดยแจ้งผลการตรวจสอบ และแจ้ง สปสช.โอนเงินให้หน่วยบริการประจำ (แม่ข่าย) เพื่อพิจารณาจัดสรรค่าบริการทางแพทย์ให้หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ในลำดับต่อไป
  3. กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสารารณสุขจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และจ่ายเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ โดยแจ้งผลการตรวจสอบ และแจ้ง สปสช.โอนเงินให้หน่วยบริการที่เรียกเก็บๆ เป็นรายเดือน หน่วยบริการสามารถตรวจสอบรายละเอียดการโอนเงินได้ที่ http://www.nhso.go.th/เลือก เมนู -→ หน่วยบริการ > NHSO Budget →> รายงานการจ่ายเงินกองทุน

หมายเหตุ

  1. ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผู้ประกันตนคนพิการ ขอให้หน่วยบริการที่ให้บริการผู้ป่วยเรียกเก็บไปยังหน่วยบริการที่ผู้ป่วยลงทะเบียนสิทธิตามหน้าเว็ปไซต์ตรวจสอบสิทธิของ สปสช.
  2. ผู้ป่วยที่ลงทะเบียนสิทธิโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร ขอให้หน่วยบริการ ที่ให้บริการผู้ป่วย ส่งเอกสารไปเรียกเก็บที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร โดยตรงเนื่องจากไม่ได้กันเงินไว้จังหวัด ทั้งนี้ อัตราชดเชยค่าบริการกำหนดจ่ายตามข้อตกลงของกองทุนจังหวัดขอนแก่นหรือตามข้อตกลงเฉพาะระหว่างกันเอง

เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปมติและข้อสั่งการCFO-9ก.ย.64

0 0
Read Time:8 Minute, 39 Second

สรุปมติ และข้อสั่งการ
ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO)
หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2/2564
วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น.

(ภาพและวาระการประชุม)

ประเด็น :

สรุปสถานการณ์การเงินการคลังหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ณ เดือนสิงหาคม 2564

แนวทางการบริหารกองทุน UC และการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565 และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการปรับเกลี่ย….

  • การปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด
  • กันเงินไว้บริหารระดับเขต เพื่อปรับเกลี่ยภายใน ไตรมาส 3/65 จำนวน 42,000,000 บาท
  • จังหวัดขอนแก่น ได้รับจัดสรรรวมทั้งสิ้น 94,024,615.87 บาท

แนวทางการปรับเกลี่ย ระดับจังหวัด ให้กับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น

  • จัดสรรตามสัดส่วน NWC ที่ติดลบ
  • จัดสรรตามสัดส่วนจำนวน รพ. M1, M2, F1
  • จัดสรรตามส่วนต่าง เงิน OP PP IP ปี 2564 และ 2565 ที่ลดลง
  • จัดสรรตามประมาณการรายรับเงิน OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปี 2565
  • กันเงิน CF ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 14,000,000 บาท
    1. ไว้จัดสรรเพื่อช่วยโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในไตรมาส 3/2565 จำนวน 9,000,000 บาท
    2. จัดสรรเพื่อให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ใช้ในการดำเนินงานขับเคลื่อนตามนโยบายด้านสาธารณสุข ปี 2565 จำนวน 5,000,000 บาท

จัดสรรเงินสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ปีงบประมาณ 2565

วงเงิน 52,427,222.19 บาท ตามจัดสรรตามสัดส่วนประชากรสิทธิอื่น (Non UC) ณ 1 เมษายน 2564 โดยจัดสรรให้หน่วยบริการนอกสังกัด จำนวน 2 แห่ง คือ รพ.ศรีนครินทร์ มข. และ รพ.ค่ายศรีพัชรินทร รวม 1,573,432.61 บาท คงเหลือจัดสรรให้หน่วยบริการในสังกัด สป.สธ. จำนวน 50,853,789.58 บาท

การกันเงิน OP Virtual Account เพื่อตามจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แทน CUP กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉินในจังหวัด และส่งต่อนอกจังหวัด ปีงบประมาณ 2565

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตามจ่าย OP Refer นอกจังหวัด 20 ล้านบาท และ ตามจ่าย OP Refer/OP AE ในจังหวัด 120 ล้านบาท

จัดสรรค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร และพื้นที่เสี่ยงภัย ประเภท รพท./รพศ.ระดับ ก (งบ Hardship) ปีงบประมาณ 2565

โรงพยาบาลชุมแพ ได้รับจัดสรรงบ จำนวน 5,178,140.02 บาท

สรุปแผนการโอนเงินเหมาจ่ายรายหัว ปีงบประมาณ 2565

การปรับเกลี่ยเงินกัน UC ที่บริหารระดับประเทศ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

  • จังหวัดขอนแก่นได้รับการจัดสรรเงิน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,653,879.20 บาท ผลการจัดสรร…
    • ครั้งที่ 1 จำนวน 3,777,400 บาท พิจารณาจัดสรรให้หน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ทุกแห่ง ตามสัดส่วนประมาณการรายรับงบ OP PP IP หลังปรับลดค่าแรง ปีงบประมาณ 2564
    • ครั้งที่ 2 จำนวน 1,876,479.20 บาท พิจารณาจัดสรรให้ รพ.พล เต็มจำนวน เพื่อสนับสนุนชดเชยค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย ที่โรงพยาบาลในโซนใต้ค้างชำระ จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,969,180 บาท ณ 31 สิงหาคม 2564 สรุปค่าใช้จ่ายตามรายการ ดังนี้
      • ค่าเวชภัณฑ์สมุนไพร จำนวน 840,215 บาท
      • ค่าสิ่งส่งตรวจ จำนวน 1,128,965 บาท
  • * รพ.ชนบท ได้รับจัดสรรตามเกณฑ์ กรณีช่วยหน่วยบริการที่มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในไตรมาส 4/2564 จำนวน 1,457,900 บาท (สป.แจ้งโอนตรงให้หน่วยบริการ)

การปรับเกลี่ยงบ OP Virtual Account จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564 ที่เหลือจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ คงเหลือเงินกันผู้ป่วยนอกในจังหวัด จำนวน 34,057,364.57 บาท

  1. จัดสรรให้กับโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงทางการเงิน โรงพยาบาลที่มีการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลังดีเด่น และพัฒนางานที่เกี่ยวข้องตามนโยบาย จำนวน 9,000,000 บาท เงื่อนไขจัดสรร ดังนี้ เอกสารหมายเลข 4
    • การพัฒนาตามเกณฑ์ TPS V.3 ไตรมาส 3 ปี 2564
    • TPS เกรด A และ B
    • ข้อมูลโรงพยาบาลที่มี NWC ติดลบ ณ สิงหาคม 2564
    • ข้อมูลสถานการณ์ทางการเงินสิ้นเดือนกรกฎาคม 2564
    • จัดสรรตามสัดส่วนประมาณการรายรับหลังหักเงินค่าแรง OP PP IP ปี 2564
  2. จัดสรรเพื่อบริหารจัดการภาระค่าใช้จ่ายค่ายา (ยาที่ รพ.ขอนแก่นผลิต และยาสำเร็จรูปไม่รวมยา Refer) ค่าเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา ค่า lab และค่าจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระหว่าง รพช./ รพท. ในจังหวัดขอนแก่น กับ รพ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นข้อมูลขอรับการสนับสนุนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 – 2564 (1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2564) จำนวน 25,057,364.57 บาท

แนวทางการบริหารจัดการขอรับการสนับสนุนยา/ วชย./ Lab ที่ รพท./รพช.ในจังหวัดขอนแก่น จากโรงพยาบาลขอนแก่น

  • แต่งตั้งคณะทำงานย่อย (พบส.ที่เกี่ยวข้อง) กำหนดหน้าที่และบทบาท
  • ให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบรายการยา/วชย./lab ที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่น
  • กำหนดหลักการ/เงื่อนไข กรอบรายการประเภทวัสดุที่จะขอรับการสนับสนุน และจ่ายคืนอย่างไร ?
  • พบส. ที่เกี่ยวข้องทบทวน&เสนอกรอบรายการที่จะขอรับการสนับสนุนจาก รพ.ขอนแก่นได้/ เงื่อนไขที่จะตามจ่าย ภายในต้นปีงบประมาณ 2565 ได้แก่
    • ระบุรายการที่จะให้เบิก/จ่ายได้
  • เงื่อนไขการสั่งจ่ายของผู้สั่งจ่าย รพ.ขอนแก่น
  • กรอบปริมาณที่จะจ่ายแต่ละคราว

การกำกับติดตามและเฝ้าระวังทางการเงินการคลังของหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ในจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2565

ขอให้หน่วยบริการทุกแห่ง ให้ความสำคัญในการกำกับติดตามในเรื่องของสถานการณ์การเงินการคลังของหน่วยบริการ และงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ดังนี้

  1. สรุปวิเคราะห์เสนอในที่ประชุม กวป. โดยมีการวิเคราะห์เป็นรายหน่วยบริการ
    • หน่วยบริการมีปัญหาประเด็นปัญหาในเรื่องใด โดยเฉพาะตามดัชนีชี้วัด จากผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังเกณฑ์ Total Performance Score
  2. ขับเคลื่อนการดำเนินการโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง (Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น และคณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการเงินการคลัง (พปง.) ซึ่งจะให้เน้นย้ำประเด็นดังต่อไปนี้
    • แผนเงินบำรุงสำหรับในทุกหน่วยบริการ (รพ./รพ.สต.) ซึ่งต้องวางแผนการทำแผนบำรุงให้สอดคล้องกับการดำเนินจริง สามารถปรับแผนได้ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่หน่วยบริการไม่มีแผนที่ทันสมัย และมีการใช้จ่ายเกินกว่าแผนเงินบำรุงที่ขออนุมัติไว้
    • หน่วยบริการต้องดำเนินการตามระบบควบคุมภายใน ซึ่งงานตรวจสอบภายใน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะเป็นผู้ประเมินโดยใช้เครื่องมือการตรวจประเมินภายใน 5 มิติ (EIA) ขอให้หน่วยบริการให้ความสำคัญ และดำเนินการตามเกณฑ์การตรวจประเมินผลที่กำหนด
  3. งบค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (ค่าเสื่อม) ของ สปสช. ให้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และกำกับติดตามหน่วยบริการที่ได้รับสนับสนุนงบดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จตามกรอบและห้วงเวลาที่กำหนด เนื่องจาก สปสช.จะให้คืนงบประมาณที่ได้รับจัดสรรหากไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการเงินของหน่วยบริการนั้นๆ

โรงพยาบาลพล เสนอขออนุมัติใช้เงินกองทุน OP Virtual จังหวัดขอนแก่น เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์พิเศษ (CT Scan) กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น

  • ด้วย โรงพยาบาลพล ได้พัฒนาศักยภาพการในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Service Plan Stroke จังหวัดขอนแก่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการด้านโรคหลอดเลือดสมอง ของ Node Stroke Fast Track จังหวัดขอนแก่น คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอพล และอำเภอใกล้เคียง ได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ทั้งนี้ โรงพยาบาลพลได้ดำเนินการเปิดศูนย์ CT Scan และเริ่มให้บริการตรวจพิเศษ CT Scan แล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เป็นต้นมา
  • เสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติใช้เงินกองทุนผู้ป่วยนอก จังหวัดขอนแก่น (OP Virtual Account) เพื่อจ่ายชดเชยค่าตรวจพิเศษ CT Scan กรณี เป็นหน่วยรับตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น สำหรับผู้ป่วยสิทธิบัตรประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการประจำ สังกัด สป.สธ. ในจังหวัดขอนแก่น ตามที่แพทย์ของโรงพยาบาลขอนแก่นสั่งตรวจวินิจฉัย และมีนัดติดตามผลการรักษา เพื่อลดการรอคอยคิวในการตรวจ CT โดยขอรับชดเชยค่าบริการตรวจในอัตราจ่ายค่าตรวจ CT ตามแนวทางข้อตกลงของจังหวัดที่กำหนด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

แนวทางการสนับสนุนงบ Fixed Cost สำหรับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2565

คณะกรรมการ CFO จังหวัดขอนแก่น เสนอขอให้ดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. ขอให้แจ้งวงเงินจัดสรรรายปี งบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่จะต้องใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และงบประมาณงบดำเนินงาน (หมวด 300) ที่ สสอ.ได้รับจัดสรร ประจำปี เพื่อโรงพยาบาลจะได้ทราบจำนวนเงินส่วนต่างที่ต้องโอนเงินเพิ่มเติมให้กับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
  2. ขอให้ทบทวนวงเงินจัดสรรงบ Fixed Cost สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอใหม่ สืบเนื่องจากมีการกำหนดวงเงินจัดสรรในภาพรวม 7,800,000 บาท นี้ มาเป็นเวลา 3 ปี แล้ว
  3. ขอให้แจ้งแนวทางการการสนับสนุนงบ Fixed Cost ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไขแนวทางใดๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดความสับสนในการปฏิบัติ
  • มอบกลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข แจ้งจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ สสอ. ประจำปีงบประมาณ 2565 และให้ทบทวนปรับปรุงวงเงินสนับสนุน Fixed Cost
  • มอบกลุ่มงานประกันสุขภาพ แจ้งแนวทางการจัดสรรงบ Fixed Cost สำหรับ รพ.สต.ให้โรงพยาบาลทราบ และดำเนินการเป็นปีๆ ไป
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สรุปผลการประเมินEIA จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564

0 0
Read Time:5 Minute, 54 Second

บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)

รายงานผลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : ElA)

ตามแผนการตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้กำหนดแผนการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ทุกหน่วย บริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นั้น
การปฏิบัติงานกลุ่มตรวจสอบภายใน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการ
ตรวจสอบและประเมินผลข้อมูลการตรวจสอบภายในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) ตามแนวทางที่กำหนด ซึ่งสรุปผลการตรวจสอบภายในภาพรวมจังหวัดขอนแก่น ดังนี้

เชิงปริมาณ

ผลการประเมินการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังโดยระบบ (Electronics Internal Audit : EIA)จังหวัดขอนแก่น จำนวน ๒๖ แห่ง

สรุปผลการประเมินภาพรวม ผลการดำเนินงานในภาพรวมของระดับจังหวัด ผลคะแนนร้อยละ ๘๐.๓๕ อยู่ในเกณฑ์ดี จากการตรวจสอบในด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Internal Audit : EIA) พบว่าในแต่ละมิติมีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ ดังนี้ มิติด้านการเงิน ร้อยละ ๘๓.๕๓ มิติด้านจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ ๘๐.๕๒ มิติด้านงบการเงิน ร้อยละ ๗๗.๓๘ มิติด้านบริหารพัสดุ ร้อยละ ๗๔.๐๒ และมิติด้านระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ร้อยละ ๘๕.๖๘

เชิงคุณภาพ

ประเด็นความเสี่ยงที่ตรวจพบ (condition) ดังนี้

  • ๑) มิติด้านการเงิน จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ มีการเก็บรักษาเงินโดยทั่วไปหน่วยงานมีวงเงินเก็บรักษาเกินกว่าที่กำหนดตามประกาศสำนักงานบ่ลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๐๒๐๗/ว๖๓ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจการนำเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์กลับเข้าฝากคลังและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS หน่วยบริการไม่ได้นำเงินฝากคลังและไม่ได้จัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากคลัง การเบิกจ่ายค่าตอนแทนนอกเวลาราชการ (ฉ๕) และการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเสี่ยงภัยของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมและรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่ได้แนบคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน หน่วยบริการไม่ได้จัดทำรายงานความก้าวหน้าของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรายงานรับ – จ่ายเงินบริจาคของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อส่งรายงานให้หน่วยงานคลังของส่วนราชการต้นสังกัดภายใน ๖0 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
  • ๒) มิติด้านจัดเก็บรายได้ค่ารักษาพยาบาล จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่มีการนำส่งสำเนาใบเสร็จรับเงินเมื่อได้รับการโอนเงินจากหน่วยงานหรือกองทุนต่าง ๆ ระหว่างงานการเงินกับงานประกันสุขภาพไม่มีการเซ็นรับ – ส่งเอกสารระหว่างกัน การเร่รัดติดตามการชำระหนี้หน่วยงานมีเพียงหนังสือแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล แต่ไม่มีหนังสือเร่งรัดติดตามการชำระหนี้ (หนังสือฉบับที่ ๒ ติดตามการจ่ายชำระหนี้กรณียังไม่ได้รับชำระเงินหลังจากแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาลครั้งที่ ๑ แล้ว) กระบวนการสังคมสงเคราะห์/อนุเคราะห์ไม่มีทะเบียนคุมข้อมูลการสังคมสงเคราะห์ และหลักฐานเอกสารเสนอผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการสังคมสงเคราะห์/อนุเคราะห์ และหน่วยบริการไม่ได้สอบทานยืนยันยอดความมีอยู่จริงของลูกหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นปีงบประมาณกับกองทุนต่าง ๆ หรือส่วนราชการ
  • ๓) มิติด้านงบการเงิน จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่จัดทำทะเบียนคุมบัญชีเงินฝากคลังและบัญชีเงินหลักประกันสัญญา การบันทึกบัญชีด้านรับ ด้านจ่าย และด้านทั่วไปหน่วยบริการไม่แนบหลักฐานประกอบการบันทึกบัญที ไม่มีการสอบทานยืนยันยอดคงเหลือระหว่างทะเบียนคุมหรือรายงานกับงบทดลอง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่ไม่ปรับปรุงรายการรายได้ค้างรับ รายได้รับล่วงหน้าและค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ณ วันสิ้นปีงบประมาณตามนโยบายปัญชีที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและหน่วยบริการไม่แนบหนังสือนำส่งรายงานการรับ – จ่ายเงินบำรุง ที่หัวหน้าหน่วยงานรับรอง
  • ๔) มิติด้านบริหารพัสดุ จากการตรวจสอบพบว่า หน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่จัดทำโครงสร้างสายการบังคับบัญชางานพัสดุ หรือบางแห่งมีการจัดทำแต่สายการบังคับบัญชายังไม่ถูกต้อง การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เอกสารประกอบในแต่ละชุดไม่มีเอกสารมอบหมายหรือแต่งตั้งให้มีผู้รับผิดชอบกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะของพัสดุ (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒๑) รายละเอียดคุณสักษณะเฉพาะของหัสดุ และรายงานผลการตรวจรับให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบ ซึ่งบางแห่งมีการจัดทำรายงานการตรวจรับพัสดุจากระบบ e – GP กับรายงานผลการตรวจรับให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบเป็นฉบับเดียวกัน แต่ไม่ได้แจ้งให้ผู้ตรวจสอบทราบ บัญชีวัสดุและทะเบียนคุมทรัพย์สินรายละเอียดและแนวทางไม่เป็นไข่ตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด และใบเบิกพัสดุผู้อนุมัติสั่งจ่ายไม่ใช่หัวหน้าหน่วยพัสดุตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย
  • ๕) มิติด้านระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง จากการตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการส่วนใหญ่ไม่มีการเซ็นรับรองรายงานการประชุมจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล รายงานการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปค.๔) และรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน(แบบ ปค.๕) ระดับส่วนงานย่อยไม่มีการเซ็นรับรองจากหัวหน้าส่วนงานย่อย ไม่จัดทำร้ายงานการติดตามผลการปรับปรุงการควบคุมภายใน และแผนบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะแผนความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (S) หน่วยงานแนบหนังสือนำส่งแผนแต่ไม่มีรายละเอียดของความเสี่ยงผู้ตรวจสอบจึงไม่สามารถประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานในแต่ละด้านได้

สาเหตุ (Cause)

เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานขาดความเข้าใจในกฏ ระเบียบ และแนวทางในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงทักษะในการปฏิบัติงานไม่ซัดเจนเพียงพอ ส่งผลให้เข้าใจคลาดเคลื่อนในบางประเด็นทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งไม่มีการสอบทานยืนยันยอดระหว่างกัน และขาดความระมัดระวังรอบคอบในการปฏิบัติงาน หน่วยบริการไม่มีการจัดวางระบบในการส่งต่อข้อมูลระหว่างกัน และไม่มีการตรวจสอบชุดเอกสารก่อนจัดส่งไปยังส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

ผลกระทบ (Effect)

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด หากเกิดข้อผิดพลาดหรือเอกสารสูญหายหน่วยงานจะไม่สามารถตรวจสอบติดตามเอกสารนั้นได้ เพราะไม่มีข้อมูลการส่งต่อเอกสารระหว่างกัน ขาดการกำกับ ติดตาม อาจส่งผลให้ความเสี่ยงของหน่วยงานไม่ได้รับการแก้ไขส่งผลกระทบต่อกระบวนการปฏิบัติงาน หน่วยงานต้องรับภาระความเสี่ยงจากระบบการควบคุมภายในที่ไม่รัดกุม และการเบิกจ่ายที่ชุดเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ และไม่ถูกต้องตามระเบียบ เนื่องจากขาดเอกสารในบางส่วน อาจส่งผลให้การเบิกจ่ายไม่ถูกต้องตามระเบียบด้วยเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ (Recommendation)

  1. การเก็บรักษาเงินโดยทั่วไปหน่วยงานจะต้องมีวงเงินเก็บรักษาตามประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0๒๐๗/ว๖๓ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๐ เรื่อง ชักซ้อมความเข้าใจการนำเงินนอกงบประมาณฝากธนาคารพาณิชย์กลับเข้าฝากคลังและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS
  2. ผู้รับผิดชอบตามคำสั่งมอบหมายงานและบุคลากรทุกส่วนงานจะต้องศึกษากระบวนการทำงานของตนเองให้มีความแม่นยำในการปฏิบัติงาน
  3. หน่วยบริการควรกำกับ ดูแล และกำชับเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้องก่อนจัดส่งเอกสารไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
  4. ควรทบทวนกระบวนการทำงานของแต่ละส่วนงานเพื่อให้ระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และควรแยกความรับผิดชอบในการทำงานของแต่ละส่วนงานให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการปฏิบัติงานช้ำซ้อน
  5. การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของหน่วยงานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ อย่างเคร่งครัด
ผู้ประเมิน
นางสาวสุชานาถ ทินวงศ์
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
นางสาวชวัลลักษณ์ ทองบ่อ
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
ผู้ตรวจสอบประจำเขตสุขภาพที่ ๗
Happy
1 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางจัดทำแผนทางการเงินปีงบ65

0 0
Read Time:1 Minute, 6 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

กลุ่มงานประกันสุขภาพ ร่วมกับงานการเงิน งานตรวจสอบภายใน กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ ร่วมประชุมเพื่อรับฟังการชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยมีนายแพทย์อุรส สิงห์งาม ผอ.รพ.น้ำพอง ในนามตัวแทนคณะกรรมการ CFO จังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในการร่วมรับฟัง

ตามที่กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และร่างแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง เสร็จเรียบร้อยจึงมีความประสงค์ จะจัดประชุมขี้แจงแนวทางการจัดทำรายงานดังกล่าวในการนี้ เพื่อให้การจัดทำแผนประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย (Planfin) ปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๕ และร่างจัดทำแผนการรับ – จ่ายเงินบำรุง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงขอเชิญคณะกรรมการบริหารการเงินการคลัง (CFO) จำนวน ๑ ท่าน เข้าร่วมประชุมในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๒ กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ชั้น ๔ อาคาร ๗ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือสามารถเข้าร่วมประชุมผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference)

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

สถานการณ์ทางการเงิน กรกฎาคม 2564

0 0
Read Time:1 Minute, 26 Second

นำเสนอคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น

ประจำเดือนสิงหาคม 2564

ภาพรวมวิกฤติทางการเงินในเขตสุขภาพที่ 7

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564 ประมวลผลโดยสำนักงานเขตสุขภาพที่ 7 พบว่าจังหวัดขอนแก่น มีหน่วยบริการที่อยู่ในวิกฤติระดับ 4-7 จำนวน 2 แห่งโดยเป็นระดับ 4 คือ รพ.พระยืนและรพ.ภูผาม่าน โดยข้อมูลรายแห่งตามตารางด้านล่าง

ข้อมูลวิเคราะห์วิกฤติทางการเงินระดับ 7 จังหวัดขอนแก่น*

*ข้อมูลจาก กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ประมวลผลโดย กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564

การควบคุมกำกับแผนทางการเงิน จังหวัดขอนแก่น ปี 2564

แบบรายได้(ไม่รวมงบลงทุนและรายได้อื่น(ระบบบัญชีบันทึกอัตโนมัติ)และไม่รวมรายได้ UC)
และค่าใช้จ่าย(ไม่รวมค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย)

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป.สธ. (ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564)

แบบรวมรายได้และรายจ่ายทุกประเภท

ข้อมูลจากกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป.สธ. (ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564)

รายงานการโอนงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น ปี 2564

1.งบเหมาจ่ายรายหัว

2.งบกองทุนอื่นๆ

ที่มา : จากระบบรายงานการโอนเงิน ( NHSO Budget) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://ucapps1.nhso.go.th/budgetreport/
ข้อมูล ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2564 

คะแนนตรวจสอบงบทดลอง

สถานการณ์ทางการเงิน รพ.สต.ในจังหวัดขอนแก่น

*ข้อมูลจาก กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สป. สธ. ประมวลผลโดย กลุ่มงานประกันสุขภาพ สสจ.ขอนแก่น ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมสรุปตรวจราชการปีงบ2564 รอบที่ 2

0 0
Read Time:1 Minute, 25 Second

การประชุมสรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รอบที่ 2 ผ่าน Application CiscoWebX วันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 1 โครงการราชทัณฑ์ ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดย แพทย์หญิงวิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 3 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 1
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 2 กัญชาทางการแพทย์และสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ โดย นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 9 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 2
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 3 ระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดย นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 12 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 3
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 4 สุขภาพกลุ่มวัย สุขภาพจิต โดย นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 10 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 4
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 5 ลดแออัด ลดรอคอย ลดป่วย ลดตาย โดย นายแพทย์พิทักษ์พล บุณยมาลิก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 11 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 5
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 6 ระบบธรรมาภิบาล โดย นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 2 ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 6
  • ผลการตรวจราชการประเด็นที่ 7 การตรวจราชการแบบบูรณาการ โดย นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 1 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการกำหนดประเด็นและติดตามผลการตรวจราชการประเด็นที่ 7
  • ผลการตรวจราชการประเด็น Area based และประเด็นนวัตกรรมการจัดการบริการสุขภาพ (Innovative Healthcare Management) เขตสุขภาพที่ 1-12 โดย ผู้อำนวยการกองตรวจราชการ
  • แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดย นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 1 หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข

เอกสารประกอบการประชุม

http://planfda.fda.moph.go.th/newplan/meetrh1/training_description.php?agenda_description=93

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมCFOครั้งที่2/2564

0 0
Read Time:1 Minute, 37 Second

การประชุมประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง
(Chief Financial Officer : CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น
ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.30-16.30 น.
ณ ห้องประชุมก่องข้าว ชั้น 3 อาคารใหม่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

  • ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 
    • ด้วย คณะกรรมการ CFO เขตสุขภาพที่ 7 ได้แจ้งการจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2565 และสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จะต้องดําเนินจัดสรรปรับเกลี่ยเงินดังกล่าวให้แก่หน่วยบริการในสังกัดให้แล้วเสร็จ และแจ้งผลการปรับเกลี่ยให้เขตสุขภาพดำเนินการภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2564 รวมทั้งหารือการบริหารจัดการการเงินการคลังในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เงินกัน Virtual account จังหวัดขอนแก่น เพื่อตามจ่ายแทน CUP กรณี ส่งต่อ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ในจังหวัด จึงเห็นควรจัดประชุม CFO จังหวัดขอนแก่น ขึ้นในวันนี้
  • ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
    • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นได้สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารการเงินการคลัง (CFO) หน่วยบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564
  • ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง
    •  3.1 …………………………………………………………………………………………………………………………………
    •  3.2 …………………………………………………………………………………………………………………………………
  • ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเพื่อทราบ
    • 4.1 สรุปสถานการณ์การเงินการคลังหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ณ เดือนกรกฎาคม 2564
    • 4.2 แนวทางการบริหารกองทุน UC และการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565 และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา
    • ­5.1  แนวทางการปรับเกลี่ยเงินกันบริหารระดับเขต/จังหวัด และงบกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2565
    • 5.2  แนวทางการบริหารจัดการค่ายาที่โรงพยาบาลชุมชนสั่งซื้อยาจากโรงพยาบาลขอนแก่น

สรุปมติและข้อสั่งการจากการประชุม

ที่ลิงค์นี้
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version