ชี้แจงแนวทางการขอทักท้วงผลการตรวจสอบก่อนจ่าย กรณีการให้บริการ Home isolation และ Community isolation

0 0
Read Time:20 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางการขอทักท้วงผลการตรวจสอบก่อนจ่าย กรณีการให้บริการ Home isolation และ Community isolation ของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00-16.30 น.

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ขั้นตอนขอรับ ATK ตรวจโควิดด้วยตนเองผ่านแอปเป๋าตัง

0 0
Read Time:1 Second
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางแจกชุดตรวจ ATK ฟรี

0 0
Read Time:3 Minute, 35 Second

ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แจกชุดตรวจ ATK ฟรี กระจาย 8.5 ล้านชิ้น ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษา (สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ) ตรวจโควิดด้วยตนเอง เพื่อป้องกันควบคุมโรค รู้เร็ว รักษาเร็ว ลดการระบาดโควิด-19 แจกคนละ 2 ชุด ห่างกัน 5 วัน ดีเดย์ 16 ก.ย.2564 เป็นต้นไป

การแจกชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 2 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 แจก ATK ณ ชุมชนแออัดและตลาด รวมถึง ขนส่งสาธารณะ ร้านเสริมสวย ร้านนวด สปา ผู้ประสานงานที่ชุมชนกำหนด หรือ อสม., อสส. ลงทะเบียนรับ ATK กับศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) กรณีอยู่ในพื้นที่ กทม. ส่วนต่างจังหวัด ผู้นำชุมชนลงทะเบียนรับ ATK กับหน่วยบริการในพื้นที่ เช่น รพ.สต. หรือ รพ.ใกล้ชุมชน

ใครบ้างที่จะได้รับชุดตรวจ ATK ฟรี

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรค (ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด)
  2. ผู้ที่สงสัยว่ามีอาการติดเชื้อ (มีไข้ ไอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจหอบ หายใจลำบาก)
  3. ผู้ที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ติดเชื้อโควิด
  4. ผู้ที่ทำงานประสานงานในชุมชน

ขั้นตอน

  1. ผู้ประสานงานที่ชุมชนกำหนดฯ แจก ATK ให้กลุ่มเป้าหมายคนละ 2 ชุด
  2. ประชาชนที่ได้รับแจก ยืนยันตัวตนผ่านแอปเป๋าตัง กรณีไม่มีสมาร์ทโฟน ทางผู้ประสานงานฯ จะยืนยันตัวตนให้
  3. กลับไปตรวจโควิดด้วยตนเองที่บ้าน
  4. แจ้งผลตรวจให้ผู้ประสานงานฯ รับทราบ หากผลเป็นลบ แนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 และตรวจซ้ำอีกครั้งห่างกันครั้งละ 5 วัน
  5. หากผลเป็นบวก (ติดเชื้อโควิด-19) ผู้ประสานงานจะลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชน ผู้ติดเชื้อจะได้รับการจับคู่กับหน่วยบริการใกล้บ้านเพื่อดูแลรักษาที่บ้านตามมาตรฐาน กรณีจังหวัดนั้นยังไม่มีระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชน จะเข้าสู่ระบบการรักษากับหน่วยบริการต่อไป
  6. กรณีมีอาการ แพทย์พิจารณาสั่งจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ให้ผู้ติดเชื้อ ผู้ประสานงานฯ นำไปส่งให้ผู้ติดเชื้อในชุมชน

รูปแบบที่ 2 แจกที่หน่วยบริการ (รพ. รพ.สต. รวมถึง คลินิก และร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ) ในพื้นที่สีแดง

ขั้นตอน

  1. ประชาชนที่ต้องการได้รับแจกชุดตรวจ ต้องกรอกแบบคัดกรองในแอปเป๋าตัง โดยเข้าไปที่เมนู รับชุดตรวจโควิด-19 ฟรี
  2. ทำแบบประเมินก่อนรับชุดตรวจโควิด-19 ตอบคำถาม 3 ข้อ
    • มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว
    • มีประวัติพักอาศัยหรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาดหรือสถานที่ที่พบผู้ติดเชื้อในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
    • มีสมาชิกในครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือเดินทางร่วมยานพาหนะกับผู้ติดเชื้อโควิด
  3. หากผลประเมินพบว่า คุณสามารถรับชุดตรวจโควิด-19 ได้ ให้คลิกที่เมนู หน่วยบริการใกล้ฉัน เลือกหน่วยบริการที่จะไปรับชุดตรวจ โทรประสานเพื่อไปขอรับหรือให้ผู้อื่นไปรับที่หน่วยบริการ หน่วยบริการจะจ่ายชุดตรวจ ATK ให้จำนวน 2 ชุด สำหรับการตรวจ 2 ครั้ง กรณีผลเป็นลบ ตรวจซ้ำอีกครั้งห่างกันครั้งละ 5 วัน
  4. ก่อนรับชุดตรวจ ATK ต้องยืนยันตัวตนด้วยการสแกน QR Code ที่หน่วยบริการส่งให้ ผ่านแอปเป๋าตัง เมนู สแกน QR เพื่อรับชุดตรวจ
  5. ตรวจโควิดด้วยตนเองที่บ้าน พร้อมบันทึกผลตรวจผ่านแอปเป๋าตัง เลือกเมนูบันทึกผลตรวจ หากผลเป็นบวก เลือกเมนูลงทะเบียนเข้ารับการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชนต่อไป กรณีจังหวัดนั้นยังไม่มีระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชน จะเข้าสู่ระบบการรักษากับหน่วยบริการต่อไป

กรณีไม่มีมือถือสมาร์ทโฟน สามารถไปขอรับได้ที่ รพ., รพ.สต. ทางเจ้าหน้าที่จะทำการคัดกรองและยืนยันตัวตนให้
กรณีไปขอรับที่คลินิกและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับผู้ที่มีมือถือสมาร์ทโฟนเท่านั้น

วิธีการใช้ATKด้วยตนเอง
เมื่อตรวจATKแล้วผลเป็นบวก-ติดเชื่อต้องทำอย่างไร
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ประชุมชี้แจงแนวทางกระจายชุดตรวจ Antigen test kit (ATK)

0 0
Read Time:1 Minute, 20 Second

ประชุมชี้แจงแนวทางกระจายชุดตรวจ Antigen test kit (ATK) และการจ่ายชดเชยค่าบริการ สำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เพื่อสร้างความเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของหน่วยบริการที่เข้าร่วมดำเนินการแจกชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้กับประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง สปสช. จึงขอเชิญ ท่าน และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางกระจายชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เพื่อแจกประชาชน และการจ่ายชดเชยค่าบริการ สำหรับ หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ของ สปสช.

  • กล่าวเปิดการประชุม และให้นโยบายการดำเนินการ โดย นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • นโยบายการจัดระบบบริการ สำหรับรองรับการให้บริการกรณีประชาชนเมื่อผลตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เป็นผลบวก โดย นายแพทย์สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • แนวทางกระจายชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) และรูปแบบการดำเนินการเพื่อแจกสำหรับประชาชน โดย นายแพทย์อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการ สปสช.
  • ภาพรวมระบบพิสูจน์การรับชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ของประชาชนผ่าน Application เป๋าตัง และระบบรายงานสำหรับหน่วยบริการ โดย ธนาคารกรุงไทย
  • เงื่อนไขการจ่ายชดเชยค่าบริการแจกชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) สำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย สายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • หลักเกณฑ์ และแนวทางการตรวจสอบก่อนจ่าย สำหรับการแจกชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) โดย สายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

รวมแบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น

0 0
Read Time:3 Minute, 24 Second

แบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41.

ผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ทายาท หรือผู้อุปการะ หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สามารถยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบความเสียหาย

แบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการได้รับความเสียหายจากการให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตาม ม.18(4)

การช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการในระบบหลักประกันสขภาพถ้วนหน้าตามมาตรา ม.18(4)

  • ความเสียหายที่เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับการพิจารณาช่วยเหลือเบื้องต้น ต้องเป็นความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข หรือจากการช่วยเหลือสนับสนุนการให้บริการสาธารณสุข
  • การพิจารณาความเสียหายและอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือ ตามกำหนดในข้อ 29 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
    1. กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร จ่ายตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท
    2. กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการ จ่ายตั้งแต่ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท
    3. กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ระยะเวลาการยื่นคำร้อง ยื่นภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ทราบความเสียหาย

แบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19(Coronavirus Disease 2019(COVID-19))

คำแนะนำ

  1. ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง ได้แก่ ผู้รับบริการ หรือ ทายาท ผู้อุปการะ(กรณีไม่มีทายาท)ที่ให้การช่วยเหลือเกื้อกูลหรือดูแลผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ
  2. สถานที่ยื่นคำร้อง ได้แก่ รพ.สต. โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาเขตพื้นที่
  3. ระยะเวลาในการยื่นคำร้อง ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบความเสียหาย
  4. หน่วยงานที่แจ้งผลการพิจารณา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขตพื้นที่ ที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดที่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

แนวทางการดำเนินการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2562)

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุงแนวทางการดำเนินการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยปรับลดขั้นตอนให้มีความกระชับมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น มีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ตามเจตนารมณ์ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข พ.ศ. 2561 และจัดทำเป็น แนวทางการดำเนินการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2562)

ทั้งนี้ ได้แจ้งเวียนส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบและแจ้งผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไปตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0208.07/ว 2462 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 รวมทั้งได้เผยแพร่เอกสารไว้บนเว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (https://hr.moph.go.th)

Happy
6 100 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แจ้งปรับอัตราการสำหรับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation

0 0
Read Time:1 Minute, 15 Second

แจ้งปรับอัตราHICI หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช. ๖.๗๐ / ว.๕๓๐๕ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๔

สปสช.ขอแจ้งปรับปรุงอัตราจ่ายการให้บริการผู้ป่วยโควิด 19 โดยขอยกเลิกอัตราจ่าย ค่าดูแลรักษาแบบ Home Isolation และการแยกกักในชุมชน Community Isolation (ตามหนังสือที่อ้างถึง ๑.หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช. ๒.๕๗ /ว.๓๘๗๖ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ และ๒.หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช. ๖.๗๐ /ว.๔๓๒๒ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔) โดยอัตราจ่าย ดังต่อไปนี้แทน

  • ๑) ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา ๖๐๐ บาทต่อวัน (ไม่รวมค่าอาหาร ๓ มื้อ) จำนวนไม่เกิน ๑๔ วัน
  • ๒) ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย สำหรับค่าติดตามประเมินอาการ ให้คำปรึกษา ค่ายาพื้นฐาน รวมค่าอาหาร ๓ มื้อ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา ๑,๐๐๐ บาทต่อวัน จำนวนไม่เกิน ๑๔ วัน

ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่บริการวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป สำหรับวิธีการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายฯ กรณีดังกล่าวสามารถศึกษา ได้จาก https://eclaim.nhso.go.th หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดได้เพิ่มเติมที่เบอร์โทรศัพท์ ๐๒-๕๕๔-๐๕๐๕

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

เอกสารประกอบการชี้แจงแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายกรณี Hi Ci วันที่20ส.ค.64

0 0
Read Time:56 Second

เอกสารประกอบการชี้แจงแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายกรณี Hi Ci

วาระประกอบการประชุมชี้แจงแนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายกรณีบริการ Home Isolationและ Community Isolation
สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

  • กล่าวเปิด และแจ้งวัตถุประสงค์การประชุมโดย ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • Update แนวทางจ่ายชดเชยบริการ Home Isolation และCommunity Isolation สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย สายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • การพิสูจน์ตัวตนในการขอ Authentication Code และการบันทึกขอรับค่าใช้จ่ายผ่านโปรแกรม e Claim ทำอย่างไรให้ถูกต้อง รวดเร็ว โดย สายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • แนวทางการตรวจสอบการให้บริการ Home Isolation และประเด็น ปัญหาาที่ตรวจพบโดย ฝ่ายตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ สายงานบริหารกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • อภิปราย ซักถาม ปิดการประชุม
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

ซักซ้อมการขอรับค่าใช้จ่าย Home Isolation และ Community Isolation

0 0
Read Time:1 Minute, 36 Second

วิธีการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation ตามหนังสือที่ สปสช ๖.๗๐ / ว.๑๖๖๘๙ ลงวันที่ 6ส.ค.64

ตามที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปรับวิธีการจ่ายชดเชยค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 กรณีดูแลใน Home Isolation และ Community Isolation ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ตามหนังสือ ที่ สปสช ๖.๗๐/ว.๔๖๑๕ ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยจ่ายชดเชยงวดแรก แบบเหมาจ่าย ในอัตรา ๓,๐๐๐ บาทต่อราย เมื่อหน่วยบริการรับดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 และทำ Authentication ด้วยบัตรประชาชนแบบ Smart card หรือตามแนวทางที่ สปสช.กำหนด สปสช.ขอซักซ้อมแนวทางการจ่ายกรณีบริการ Home Isolation และ Community Isolation เมื่อหน่วยบริการรับผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 ไว้ในการดูแล มีแนวทางดำเนินการ ดังนี้

  • ๑) หน่วยบริการพิสูจน์การเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิ โดยการขอ Authentication Code ตามแนวทางที่ สปสช.กำหนด
  • ๒) สปสช.นำข้อมูลการขอ Authentication Code สำหรับบริการ Home Isolation และ Community Isolation มาประมวลผลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนด เพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในอัตราเหมาจ่าย ๓,๐๐๐ บาทต่อราย ให้กับหน่วยบริการ
  • ๓) สปสช.จะมีระบบติดตามการให้บริการภายหลังการจ่ายตามอัตราเหมาจ่าย
  • ๔) เมื่อสิ้นสุดการดูแลตามระยะเวลาที่กำหนด หน่วยบริการต้องส่งข้อมูลการขอรับค่าใช้จ่ายผ่านโปรแกรม e-Claim มายัง สปสช. ภายใน ๓๐ วันหลังให้บริการ
  • ๕) สปสช.ประมวลผลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนด หากพบว่า ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข สปสช.จะปฏิเสธการจ่าย หากหน่วยบริการไม่เห็นด้วยสามารถขออุทธรณ์ พร้อมส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมายัง สปสช.เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
  • ๖) กรณีที่มีการขอ Authentication Code และได้รับการจ่ายในอัตราเหมาจ่าย ๓,๐๐๐ บาทต่อราย แล้วหน่วยบริการไม่มีการส่งข้อมูลขอรับค่าใช้จ่ายมาในโปรแกรม e-Claim ภายในระยะเวลา ๙๐ วัน หากไม่พบการให้บริการ จะเรียกเงินคืนค่าใช้จ่ายเหมาจ่าย ๓,๐๐๐ บาท
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม วันที่ 6 ส.ค.2564

0 0
Read Time:3 Minute, 37 Second

ตามหนังสือที่ สปสช ๖.๗๐ / ว.๑๖๖๘๙

หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่กำหนดเพิ่มเติม โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอแจ้งแนวทางปฏิบัติการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกรณีโรคโควิด 19 ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพิ่มเติม ดังนี้

๑. ค่าออกซิเจน สำหรับการดูแลรักษาใน Home Isolation หรือ Community Isolation

  • ๑.๑ นิยาม “ค่าออกซิเจน” หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการให้ออกซิเจนแก่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับการดูแลแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation ที่มีอาการเปลี่ยนแปลง หรือที่มีความจำเป็นต้องให้ออกซิเจนตามดุลยพินิจของแพทย์
  • ๑.๒ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย
    • ๑) เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ให้บริการแก่ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    • ๒) สำหรับบริการตั้งแต่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
  • ๑.๓ อัตราจ่าย จ่ายตามจริงไม่เกิน ๔๕๐ บาทต่อวัน

๒. ค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19

  • ๒.๑ นิยาม “ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด-19 สำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิต” หมายถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด-19 ไปยังบุคลากรทางการแพทย์ บุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยถือว่าเป็นบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19
  • ๒.๒ หลักเกณฑ์เงื่อนไขการจ่าย
    • ๑) เป็นค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิต เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด-19 ไปยังบุคลากรทางการแพทย์ บุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    • ๒) สำหรับบริการตั้งแต่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
  • ๒.๓ อัตราจ่าย จ่ายในอัตราเหมาจ่าย ๒,๕๐๐ บาทต่อผู้เสียชีวิต

๓. ค่าห้องรวมค่าอาหาร กรณีรับไว้เป็นผู้ป่วยใน สำหรับวันรับบริการตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔

  • ๓.๑ ค่าห้องดูแลรักษารวมค่าอาหาร สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการเล็กน้อย (สีเขียว) จ่ายตามจริงไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาทต่อวัน
  • ๓.๒ ค่าห้องดูแลรักษารวมค่าอาหาร สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการปานกลาง (สีเหลือง) จ่ายตามจริงไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาทต่อวัน
  • ๓.๓ ค่าห้องดูแลรักษารวมค่าอาหาร สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง (สีแดง) จ่ายตามจริงไม่เกิน ๗,๕๐๐ บาทต่อวัน

๔. ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE) หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ กรณีรับไว้เป็นผู้ป่วยใน สำหรับวันรับบริการตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๔

  • ๔.๑ ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE) หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการเล็กน้อย (สีเขียว) จ่ายตามจริงไม่เกิน ๓๐๐ บาทต่อวัน
  • ๔.๒ ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE) หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการปานกลาง (สีเหลือง) จ่ายในอัตราชุดละ ๗๔๐ บาท ตามจริงไม่เกิน ๑๕ ชุดต่อวัน หรือไม่เกิน ๑๑,๑๐๐ บาทต่อวัน
  • ๔.๓ ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE) หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง (สีแดง) จ่ายในอัตราชุดละ ๗๔๐ บาท ตามจริงไม่เกิน ๓๐ ชุดต่อวัน หรือไม่เกิน ๒๒,๒๐๐ บาทต่อวัน

วิธีการบันทึกข้อมูลขอรับค่าใช้จ่าย สามารถดาวน์โหลดได้จาก

https://eclaim.nhso.go.th/ เมนูดาวน์โหลด
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %

แนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายฯ เพิ่มเติม6 ส.ค.2564

0 0
Read Time:1 Minute, 57 Second

ตามหนังสือที่ สปสช ๖.๗๐ / ว.๑๖๖๘๙

สิ่งที่ส่งมาด้วย

๑. หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคโควิด-19ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ที่กำหนดรายการจ่ายเพิ่มเติม และรายการจ่ายที่ปรับอัตรา
๒. วิธีการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation

ตามที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้แจ้งแนวทางขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ตามรายละเอียดที่ทราบแล้วนั้น ในการนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขอแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้

  • ๑) ปรับแนวทางการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขอยกเลิกข้อความตามหนังสือ สปสช ๖.๗๐/ว.๔๗๕๙ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ข้อ ๑ และ ข้อ ๒ โดยใช้ข้อความตามนี้แทน
    • ๑.๑ กรณีการออกตรวจนอกพื้นที่ Active Case Finding (ACF) ให้ใช้ ATK ในการตรวจเป็นหลัก เนื่องจากทราบผลได้ทันที หากจำเป็นต้องใช้การตรวจด้วยวิธี RT-PCR ให้เป็นไปตามแนวทางของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
    • ๑.๒ กรณีการมาขอรับบริการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ในสถานพยาบาล/หน่วยบริการ สามารถใช้ดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลรักษาตรวจด้วยวิธี RT-PCR ได้ และขอรับค่าใช้จ่ายมายัง สปสช.
  • ๒) หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคโควิด-19 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ที่กำหนดเพิ่มเติม มีรายการดังนี้
    • ๒.๑ ค่าออกซิเจน สำหรับการดูแลแบบ Home Isolation และ Community Isolation
    • ๒.๒ ค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับบุคลากรที่จัดการศพผู้เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19
    • ๒.๓ ค่าห้องรวมค่าอาหาร สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 กรณีรับไว้เป็นผู้ป่วยใน
    • ๒.๔ ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE) หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 กรณีรับไว้เป็นผู้ป่วยใน
  • ๓. วิธีการขอรับค่าใช้จ่ายค่าบริการดูแลรักษาแบบ Home Isolation และ Community Isolation สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
Exit mobile version