Read Time:4 Second
สถานการณ์การเงินภาพรวม หน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น ไตรมาส2 ปี 2564
Read Time:4 Second
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓ วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ และวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๓ เรื่อง การให้สิทธิ (คืนสิทธิ ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีมีปัญหาสถานะและสิทธิ
แนวทางการดำเนินงานกองทุนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ(stateless) บริหารจัดการโดยกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามมติคณะกรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อการจัดบริการขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้แก่บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ
ดังรายละเอียด
สืบเมื่องจาก พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งก็คือโครงการ30บาทรักษาทุกโรค สำหรับประชาชนคนไทยที่มีสัญชาติไทยทุกคน ต่อมารัฐบาลได้บูรณาการการจัดการแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยดำเนินการพิสูจน์สัญชาติ จดทะเบียนแรงงานและประกันสุขภาพ ซึ่งการประกันสุขภาพนี้เป็นบทบาทของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ประกันสุขภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้าวดังกล่าว เพื่อให้แรงงานและผู้ติดตามได้รับการรักษาพยาบาลจากหน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐและมีงบประมาณสำหรับส่งเสริมสุขภาพและควบคุมโรคโดยไม่เป็นภาระของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จนเกินไปนัก
ซึ่งจากการดำเนินการทั้งสองโครงการนี้ ทำให้กลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างบุคคล2สองกลุ่มนี้ คืออาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยหรือรอการได้รับสัญชาติไทย ทั่วประเทศมีบุคคลกลุ่มนี้กว่า 600,000 คน กลายเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพใดๆของรัฐเลย ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2553 จึงมีมติเรื่องการให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ เพื่อให้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพและการควบคุมป้องกันโรค โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 เมษายน 2553 เป็นต้นมา โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบไปด้วย
เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงบบริการทางแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับบริการระดับปฐมภูมิ เป็นการสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 258 ข้อ ช.(5) “ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม” และตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 โดยจะทำให้เกิดการเข้าถึงบริการปฐมภูมิเพิ่มมากขึ้นในหน่วยบริการและในชุมชน ทั้งในเขตและนอกเขตกรุงเทพมหานคร จากหน่วยบริการและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ร่วมกับคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสนับสนุนการจัดบริการให้สอดคล้องกับนโยบายการรักษาระยะห่างทางสังคม(Social distancing) และลดความแออัดในหน่วยบริการ
ในปีงบประมาณ 2564 วงเงินงบประมาณจำนวน 421.6400 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมบริการปฐมภูมิทั้งในเขตและนอกเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงการนำร่องบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ บริการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน บริการ Telehealth/Telemedicine บริการด้านการพยาบาล หรือบริการกายภาพบำบัดที่บ้านหรือในชุมชน
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย
เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ
การกำกับ ติดตาม ประเมินผล
จากนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการลดความแออัด ลดระยะเวลาการรอคอยรับยาของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล โดยให้มารับยาที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบโครงการดังกล่าว ตามข้อเสนอดำเนินงานเพื่อรองรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมครั้งที่ 9/2562 วันที่ 2 ก.ย. 2562 ครอบคลุมค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาและค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการร่วมกับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านเภสัชกรรม สำหรับหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 126.7700 ล้านบาท
วัตถุประสงค์
แนวทางการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ อัตราการจ่ายค่ายาและเวชภัณฑ์ที่ร้านยาเป็นผู้รับผิดชอบจัดหาและดูแลเพื่อให้บริการกับผู้ป่วยในโครงการเป็นไปตามที่ สปสช.กำหนด
การกำกับ ติดตาม ประเมินผล
เพื่อลดความแออัดในหน่วยบริการ และลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากโรงพยาบาลของผู้ป่วยกำหนดให้หน่วยบริการ และหน่วยบริการอื่นมีสิทธิได้รับค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ โดยจ่ายเพิ่มเติมสำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยรายเก่าที่บ้าน ตามจำนวนผลงานบริการในอัตราไม่เกิน 50 บาท ต่อครั้งบริการ รายละเอียดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ อัตรา และเงื่อนไขที่ สปสช.กำหนด
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
ขอบเขตบริการ
เป็นบริการสาธารณสุขระบบทางไกลจากผู้ประกอบวิชาชีพในหน่วยบริการกับผู้รับบริการสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นผู้ป่วยรายเก่าในหน่วยบริการมีอาการคงที่และควบคุมโรคได้ดี โดยการให้บริการต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่สภาวิชาชีพประกาศกำหนด
คุณสมบัติหน่วยบริการที่ให้บริการ
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย
จ่ายให้หน่วยบริการ เป็นค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) โดยจ่ายตามรายการบริการ ตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการที่ สปสช.กำหนด รายละเอียดตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564
การกำกับ ติดตาม ประเมินผล
วัตถุประสงค์
เป้าหมาย
ขอบเขตบริการ และคุณสมบัติหน่วยบริการ
คุณสมบัติของหน่วยบริการร่วมให้บริการ ด้านกายภาพบำบัด มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย
จ่ายเป็นค่าบริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาลและผดุงครรภ์ หรือด้านกายภาพบำบัด โดยจ่ายตามรายการบริการตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการที่ สปสช.กำหนด รายละเอียดตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564
การกำกับ ติดตาม ประเมินผล
ตามแผนและวงเงินการจัดหาฯ
ให้เครือข่ายหน่วยบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ รายงานผลการดำเนินการและบริหารจัดการคลังยาและเวชภัณฑ์ต่อคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมอบหมาย อย่างน้อยทุกไตรมาส
ตามนโยบาย การพิสูจน์ตัวตน ด้วยบัตรประชาชนของผู้รับบริการ (Authen Code) เจ้าหน้าที่ผู้บันทึกข้อมูลของหน่วยบริการ (การขอ Authen Code) มีหน้าที่ในการพิสูจน์ตัวตนของประชาชนที่เข้ารับบริการ ณ หน่วยบริการ ดังนี้
(** ข้อ 1.3 และข้อ 1.4 ระบบจดจำและแสดงอัตโนมัติเมื่อขอ Authen Code ในรายเดียวกันอีกในครั้งถัดไป)
(** ข้อ 1.4 กรณี เข้ารับบริการด้านสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PP) แนะนำให้คีย์เพื่อใช้ในการติดตามผลการเข้ารับบริการ PP ของประชาชน)
เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (คะแนนประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน) ที่เป็นประชาชนไทยทุกคนได้รับบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตามชุดสิทธิประโยชน์ ที่บ้านหรือในชุมชนโดยหน่วยบริการ สถานบริการ หรือศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เชื่อมโยงบริการทางสังคมและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ
ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน เป็นงบประมาณที่ได้รับแยกจากงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ในปีงบประมาณ 2564 วงเงินงบประมาณจำนวน 838.0260 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับดูแลสุขภาพผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่เป็นประชาชนไทยทุกสิทธิประกันสุขภาพ
การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีแนวทางการบริหารจัดการ โดย จ่ายแบบเหมาจ่ายให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ที่เข้าร่วมดำเนินการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ในอัตรา 6,000 บาทต่อคนต่อปี ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องและตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไ
ขที่ สปสช.กำหนด สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564
2.การกำกับ ติดตาม และประเมินผล