คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ w.ศ. 2566

การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ (Primary care service)มีความสำคัญกับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมมากขึ้นรวมทั้งสามารถลดความแออัดในโรงพยาบาลลงได้ ประเทศไทยมีนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการกำหนดสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 ช (5) ให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสารารณสุขที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย และกำหนดให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม ปัจจุบันพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิพุทธศักราช 2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562

เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ จึงได้จัดทำคู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดสุขภาวะแก่ประชาชน ผ่านกระบวนการพัฒนาและประเมินคุณภาพ มีแนวปฏิบัติในการดำเนินงานและจัดการคุณภาพบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่หน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ตลอดจนส่งผลให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้รับบริการได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีคุณภาพต่อไป

เอกสารจากงานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 23 วันที่ 15มีนาคม2566 : ห้องปฐมภูมิ Sapphire 105-107 A3-105 มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิประเทศไทย นำเสนอโดย อ.หมอนิ่ม : พญ.ณภัทร สิทธิศักดิ์ (รพ.เซกา จ.บึงกาฬ)

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
100 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

2 thoughts on “คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ w.ศ. 2566

  1. รบกวนถามว่า ในหมวดที่ 7 เรื่องบัญชียา มีการกำหนดกรอบบัญชีว่าจำนวนรายการยาใน PCU หรือ PCC จะต้องไม่เกินกี่รายการ และกำหนดอัตราส่วนยา ED:NED หรือไม่ อย่างไร

  2. กรณีรพ.สต.ที่ถ่ายโอนไปแล้ว จะได้รับสนับสนุนงบประมาณจากทีมพี่เลี้ยงด้วยหรือไม่ เพราะทางอบจ.ต้นสังกัด ยังไม่มีความชัดเจนอะไรให้เลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Previous post ชี้แจงแนวทางเบิกจ่ายสำหรับรพ.สต.ถ่ายโอน
Next post นโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล