แนวทางการส่งต่อ
ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
จังหวัดขอนแก่น

ตามหนังสือ ที่ ขก.0032.005/ว2927

แนวทางส่งต่อกรณีผู้ป่วยนอก

การเข้ารับบริการของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจังหวัดขอนแก่น กรณีผู้ป่วยนอกจังหวัดขอนแก่นเป็นกองทุนระดับจังหวัด มีแนวทางในการส่งต่อและจ่ายชดเขยค่าบริการ รายละเอียดดังนี้

  1. กรณีให้บริการรักษาแก่ผู้มีสิทธิฯ กรณีส่งต่อข้ามจังหวัด หน่วยบริการที่รับส่งต่อในสังกัด สป.สธ./ รัฐนอกสังกัด สป. และหน่วยบริการอื่นที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเมื่อให้บริการผู้มีสิทธิเรียบร้อยแล้ว ให้บันทึกข้อมูลการให้บริการในระบบโปรแกรม e-Claim โดย สปสช.ทำหน้าที่หักชำระบัญชีระหว่างกัน (Clearing house) แทนจังหวัด ดังนี้
    • 1.1 ใช้เงินเหมาจ่ายรายหัวผู้ป่วยนอก (OP) ตามจ่ายค่ารักษาอื่นๆ และรายการชดเชยค่าบริการสำหรับผู้ป่วยนอกส่งต่อ ตามค่าใช้จ่ายจริงไม่เกิน 1,600.-บาทVisit
    • 1.2 ใช้เงินกองทุน Central reimbursement ตามจ่ายค่ารักษาอื่นๆ และรายการชดเชยค่าบริการสำหรับผู้ป่วยนอกส่งต่อ ในส่วนที่เกิน 1,600.- บาท/Visit
      • สปสช.ได้เพิ่มหลักเกณฑ์เงื่อนไขกรณีรับส่งต่อผู้ป่วยนอกข้ามจังหวัด กำหนดให้การส่งต่อไปยังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในจังหวัดเป็นการส่งต่อข้ามจังหวัด ดังนั้น การส่งต่อไปยัง รพ.ศรีนครินทร์ให้ถือว่าเป็นการส่งต่อข้ามจังหวัด โดยรับส่งต่อจากโรงพยาบาลขอนแก่น/รพ.ทั่วไป เท่านั้น
  2. กรณ์ให้บริการรักษาแก่ผู้มีสิทธิฯ กรณีส่งต่อระหว่างหน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น หน่วยบริการที่ให้บริการใช้หลักเกณฑ์และอัตราตามที่คณะกรรมการบริหารและพัฒนาในระบบหลักประกันสุขภาพจังหวัดขอนแก่นกำหนด โดยกองทุนจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ตามข้อตกลงของจังหวัด ตามเอกสารแนบทั้ง 2 กรณี ดังกล่าว หน่วยบริการในจังหวัดขอนแก่น จะต้องมีการส่งต่อผู้ป่ วยสิทธิฯ รายละเอียดตามผังการส่งต่อ ดังนี้

แนวทางส่งต่อกรณีผู้ป่วยใน

การส่งต่อผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจังหวัดขอนแก่น มีการส่งต่อเช่นเดียวกันกับกรณีผู้ป่วยนอกหรือตามมติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกำหนด โดยการขอรับค่าใช้จ่าย บันทึกข้อมูลการให้บริการในระบบ E-Claim ตามหลักเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนด ซึ่งมีการบริหารกองทุนผู้ป่วยในระดับเขต

รายละเอียดเพิ่มเติม…

  1. การส่งต่อผู้ป่วยนอก กรณีส่งต่อ กำหนดให้
    • รพ.สิรินธรฯ รพ.ชุมแพ ส่งต่อไปยัง รพ.ศรีนครินทร์ มข. ได้โดยตรง ตามรายการโรคหรือกลุ่มอาการที่โรงพยาบาลขอนแก่นไม่สามารถรักษา/ตรวจวินิจฉัยได้ โดยต้องการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง หรือผ่านการพิจารณาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือมีใบนัดจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตามรายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • รพ.สิรินธรฯ รพ.ชุมแพ และรพช.ทุกแห่ง ส่งต่อไปยังศูนย์วิชาการได้โดยตรง ได้แก่ รพ.จิตเวชขอนแก่นฯ รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กฯ ตามข้อตกลงที่คณะกรรมการพัฒนาระบบส่งต่อ จังหวัดขอนแก่น/ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกำหนด และตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลเห็นสมควร
  2. การกำหนดอายุใบส่งต่อระหว่างหน่วยบริการภายในจังหวัดขอนแก่น
    • กรณี รพ.สิรินธร/รพ.ชุมแพ และรพช.ทุกแห่ง ส่งไปยัง รพ.ขอนแก่น หรือระหว่างกัน
    • กรณี รพ.ขอนแก่นส่งต่อไปยัง รพ.ศรีนครินทร์ มข.
    • กรณี รพ.ขอนแก่น/รพ.สิรินธร/รพ. ชุมแพ และรพช.ทุกแห่ง ส่งไปยังศูนย์วิชาการต่างๆ เช่นรพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    • กรณี รพ.ศรีนครินทร์ มข. ศูนย์วิชาการต่างๆ หรือรพ.ขอนแก่น (พิจารณาตามความจำเป็นเป็นรายๆไป)ส่งต่อไปยังหน่วยบริการต่างจังหวัด ได้แก่ รพ.รามาธิบดี รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.ศิริราช
    • ทั้ง 4 กรณี ใบส่งต่อ (ใบ Refer) ผู้ป่วยจังหวัดขอนแก่น ใบส่งต่อสามารถใช้ได้จนกว่าจะสิ้นสุดการรักษาในโรคนั้นๆ การนัดผู้ป่วยเพื่อการรักษาต่อเนื่องจึงไม่ต้องแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปพบแพทย์เพื่อขอใบส่งต่อจากหน่วยบริการประจำ ให้ใช้ใบส่งต่อเดิม ได้เลย

การสิ้นสุดการรักษาโรคนั้นๆ ได้แก่

  • ผู้ป่วยหาย
  • ผู้ป่วยเสียชีวิต
  • แพทย์ Refer กลับไปให้หน่วยบริการประจำดูแลรักษาต่อเนื่อง
  • ไม่มีใบนัดรักษาต่อเนื่อง
Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Previous post อัตราค่าบริการผู้ป่วยนอก ในจังหวัดปี65
Next post แนวทางการเรียกเก็บผู้ป่วยนอก ปี2565