ที่มาของโครงการ รพ.เอกชนเกิดขึ้นภายใต้การผลักดันของนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน จะต้องเป็น "โรคที่ต้องมีการนัดผ่าตัดล่วงหน้า" (ELECTIVE SURGERY) หรือเป็นผู้ป่วยในเท่านั้น เช่น คลอดบุตร ผ่าตัดหัวใจ หรือสมอง ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น ยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีผู้ป่วยนอก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว 

ส่วนระบบการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้กับโรงพยาบาลเอกชนนั้น จะเป็นระบบเหมาจ่ายตามกลุ่มโรค (DRGs) โดยกรมบัญชีกลางจะโอนเงินเข้าบัญชีโรงพยาบาลโดยตรง หรือที่เรียกว่า "เบิกจ่ายตรง" และหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว (กลับบ้าน) โรงพยาบาลเอกชนจะต้องส่งบัญชีค่ารักษาพยาบาลและข้อมูลส่วนที่เบิกได้มาที่กรมบัญชีกลาง โดยกรมบัญชีกลางจะโอนเงินเข้าบัญชีของโรงพยาบาลภายใน 5 วัน 

 

สำหรับผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยจะต้องมีส่วนร่วมในการชำระค่าใช้จ่ายบางส่วน (CO-PAYMENT) เช่น ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์ และค่าธรรมเนียมแพทย์พิเศษ เป็นต้น โดยแพทย์หรือโรงพยาบาลจะต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบก่อนล่วงหน้าว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องชำระเงินเพิ่มเติม หลังจากนั้น โรงพยาบาลจึงจะส่งข้อมูลการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือ PIOR AUTHORIZED ADMISSION : PAA มาให้กรมบัญชีกลางอนุมัติภายใน 24 ชั่วโมง ผ่านระบบ ONLINE