หนังสือชุด “ประสบการณ์คนทำงานด้านการบริหารจัดการบริการปฐมภูมิ” ประกอบด้วย

เล่ม 1 “การบริหารจัดการเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (CUP Management)”

หน่วยบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิซึ่งเดิมเป็นบทบาทที่ใช้ในนามของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) ฐานะที่เป็นองค์กรบริหารจัดการและพัฒนาระบบสาธารณสุขอำเภอ ซึ่งปัจจุบันมีการใช้คำใหม่ในความหมายของหน่วยคู่สัญญาที่ทำหน้าที่รับจัดบริการสุขภาพด้านปฐมภูมิตามเงื่อนไขของการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่าเป็น Contracted unit of primary care (CUP) ซึ่งสามารถขึ้นทะเบียนได้ทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับกระทรวงสาธารณสุขที่มีโครงสร้างหน่วยงานภายใต้ระบบราชการอยู่แล้ว CUP จึงเป็นกลไกที่เกิดขึ้นท่ามกลางโครงสร้างงาน วัฒนธรรมการทำงานการบริหารจัดการที่มีอยู่เดิม และด้วยข้อจำกัดมากมาย การบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในพื้นที่จึงเป็นความท้าทายและความพยายามในการพัฒนาของผู้เกี่ยวข้อง

เล่ม 2 “ประสบการณ์การบริหารจัดการหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (PCU Management)”

ประสบการณ์และบทเรียนที่เกิดขึ้นเรื่อง การบริหารจัดการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ(Primary Care Unit: PCU) หรือ สถานีอนามัย หรือ ศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นผลที่มาจากการแลกเปลี่ยนระหว่างคนทำงานที่PCU เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานว่าตรงไหนทำแล้วว่าดี ทำแล้วสำเร็จ ทำแล้วเห็นผล ไม่เฉพาะเรื่องบริการ แต่เป็นเรื่องการทำงานเป็นทีมที่ดี ทำงานบริการกับประชากรเป้าหมายได้ดีทำงานไปแล้วมีผลลัพธ์ มีการติดตามและเกิดผลที่ดีด้วย นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังเป็นสื่อที่สะท้อนการทบทวนตนเองของคนทำงาน เรื่องกระบวนการทำงานที่เป็นจุดเด่นและอยากถ่ายทอด อยากแลกเปลี่ยนด้วยความภาคภูมิใจ ส่วนแรกของหนังสือเป็นรายละเอียดของความคิด รูปธรรม นวตกรรมการบริการและ การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาสุขภาพประชาชนจากมุมมองจากคนทำงานปฐมภูมิในบริบทการทำงานที่หลากหลาย ทั้งนี้ได้มาจากการประชุม “การจัดการความรู้การบริหารจัดการระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ” ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน(สพช.) และส่วนที่สองเป็นตัวอย่างเรื่องเล่าการทำงานจากคนทำงานที่PCU ซึ่งเข้าร่วมกระบวนการประชุมและได้เขียนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวบางส่วนของงานที่ทำ

เล่ม 3 “ประสบการณ์การบริหารจัดการเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (CUP) ในเขตเมือง”

สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) ได้จัดเวทีจัดการความรู้ในเรื่อง “การบริหารจัดการระดับ CUP ในบริบทโรงพยาบาลใหญ่ เขตเมือง และ PCU ในเครือข่าย” โดยมีผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหรือวางระบบกลไกของ CUP และเครือข่าย PCU ในเขตเมืองจาก 14 พื้นที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และได้ถอดบทเรียนของการแลกเปลี่ยนจัดการความรู้อย่างน่าสนใจ ซึ่งควรค่าแก่การถ่ายทอดประสบการณ์ในการบริหารจัดการเพื่อเป็นกรณีศึกษาแก่ CUP ต่างๆ ได้นำไปปรับประยุกต์ใช้ต่อไป

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Previous post แนวทางบันทึกบัญชีกรณีสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ให้รพ.สต.ที่ถ่ายโอนฯ
Next post ชี้แจงแนวทางเบิกจ่ายสำหรับรพ.สต.ถ่ายโอน