1. นายสมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการ
  2. นายอดุลย์ บำรุง นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองประธานกรรมการ
  3. นายไพรัชฌ์ สงคราม นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองประธานกรรมการ
  4. นายชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น กรรมการ
  5. นายวีระศักดิ์ อนุตรอังกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิริธร จังหวัดขอนแก่น กรรมการ
  6. นางดวงพร อัศวราชันย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมแพ กรรมการ
  7. นางกมลา วัฒนายิ่งเจริญชัย นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านส่งเสริมพัฒนา) กรรมการ
  8. นายมุนี เหมือนชาติ ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ(ด้านทันตสาธารณสุข) กรรมการ
  9. นายเชิดชัย อริยานุชิตกุล เภสัชกรเชี่ยวชาญ(ด้านเภสัชสาธารณสุข) กรรมการ
  10. นายวิชัย อัศวภาคย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลน้ำพอง กรรมการ
  11. นายพิภพ สิริเพาประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูเวียง กรรมการ
  12. นายเกษม ภัทรฤทธิกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองสองห้อง กรรมการ
  13. นายวิโรจน์ เลิศพงศ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน กรรมการ
  14. นายประวีร์ คำศรีสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพล กรรมการ
  15. นายจักรพบ ป้อมนภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเขาสวนกวาง กรรมการ
  16. นางสุมาลี วนาทรัพย์ดำรง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเปือยน้อย กรรมการ
  17. นายทิว อุดชาชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโคกโพธิ์ไชย กรรมการ
  18. นายประจักษ์ จันทะราช สาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น กรรมการ
  19. นายวงษ์เสน่ห์ เครื่องฉาย สาธารณสุขอำเภอน้ำพอง กรรมการ
  20. นางพชรพร ครองยุทธ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ กรรมการ
  21. นางวีรวรรณ รุจิจนากุล เภสัชกรชำนาญการพิเศษ กรรมการ
  22. นางสุจรรยา ทั่งทอง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กรรมการและเลขาฯ
  23. นางสุมาลี บุญญรัตน์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ กรรมการและเลขาฯ ร่วม
  24. นางธัญญา อุพลเถียร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ
  25. นางมลิวรรณ มะลิต้น เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน กรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ

บทบาทหน้าที่ ดังนี้

  1. กำหนดนโยบาย แนวทางการบริหารด้านการเงินการคลังในระดับจังหวัด ให้เกิดความเชื่อมโยงจากนโยบายระดับเขตสุขภาพไปสู่การดำเนินงาน การจัดบริการ และการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยบริการให้มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม
  2. ติดตาม และสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังในระดับจังหวัด และหน่วยบริการที่มีปัญหาวิกฤติทางการเงินอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรมและสามารถดำเนินการได้กำกับ ติดตาม ผลการดำเนินงานด้านการบริหารการเงินการคลังในระดับหน่วยบริการและระดับจังหวัด
    • ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังสามารถควบคุมปัญหาการเงินระดับ 7 ไม่ให้เกินเกณฑ์ที่กำหนด
    • การลดต้นทุนของยา เวชภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ไม่ใช่ยา ตามนโยบายเขตสุขภาพ/กระทรวง
    • หน่วยบริการมีต้นทุนต่อหน่วยไม่เกินเกณฑ์เฉลี่ยกลุ่มระดับบริการเดียวกัน
    • การกำหนดมาตรการควบคุมค่าใช้จ่าย-เพิ่มรายได้หน่วยบริการ และติดตามควบคุมกำกับแผนทางการเงิน (Planfin management)
    • ติดตามการตรวจประเมินระบบควบคุมภายใน การพัฒนาคุณภาพบัญชี/ตรวจสอบรายงานทางการเงิน ระบบบริหารโรงพยาบาล และเครือข่าย
    • การพัฒนาศูนย์ต้นทุนและด้านฐานข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลบริการ ข้อมูลทางบัญชี และข้อมูล Fixed Cost ของหน่วยบริการ
    • การพัฒนาบุคลากรและสร้างโรงพยาบาลต้นแบบด้านการบริหารการเงินการคลัง
  3. สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการเงินการคลัง รวมทั้งความต้องการการสนับสนุนเพิ่ม เติมต่อคณะกรรมการวางแผนและประเมินผล (กวป.)
  4. หน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย