การบริหารค่าใช้จ่ายบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง ปี 2564

2.บริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน

เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงบบริการทางแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังตามที่ สปสช.กำหนด สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจำเป็นต้องดูแลใกล้ชิด เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องในชุมชน

วัตถุประสงค์/ขอบเขตบริการ/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์
1 สนับสนุนให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ได้รับการบริการต่อเนื่องที่บ้าน/ในชุมชนอย่างมีคุณภาพ
2 ลดอัตราการกลับเป็นซ้ำ/การรับเข้ารักษาซ้ำใน รพ.ของผู้ป่วยเป้าหมาย

เป้าหมาย
สำหรับผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จำเป็นต้องดูแลอย่างต่อเนื่องในชุมชน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยรหัสโรค F20-F29 และมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ดังนี้
1 เป็นผู้ป่วยที่เคยหรือมีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (Serious Mental illness with High risk to Violence: SMI – V) ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสุขภาพจิตกำหนด หรือ
2 เป็นผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนในการจัดการ เช่น ในครอบครัวเดียวกันมีผู้ป่วยจิตเวชหลายคน ผู้ป่วยไม่ยอมรับการเจ็บป่วยของตัวเอง ผู้ป่วยไม่ร่วมมือในการรักษา ขาดยา ขาดผู้ดูแลหรือผู้ดูแลไม่มีศักยภาพเพียงพอ อาจถูกล่ามขัง จำเป็นต้องสนับสนุนการดูแลโดยชุมชน และหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องร่วมด้วย

วงเงินงบที่ได้รับ

งบบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน เป็นงบประมาณที่ได้รับเพิ่มเติมแยกจากงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ในปีงบประมาณ 2564 วงเงินงบประมาจำนวน 72 ล้านบาท

กรอบแนวทางการบริหารจัดการค่าบริการ

การบริหารจัดการ

เป็นการบริหารจัดการในระดับประเทศ โดยมีแนวทางการบริหารจัดการดังนี้

  1. สปสช.ส่วนกลาง ดำเนินการคำนวณประมาณการผู้ป่วย และจัดสรรจำนวนเป้าหมายให้ สปสช.เขตจากจำนวนผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในปีที่ผ่านมา
  2. สปสช.เขต ประสานหน่วยบริการ เพื่อกระจายจำนวนเป้าหมายดำเนินการเบื้องต้น
  3. หน่วยบริการ ดำเนินการลงทะเบียนผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามจำนวน
    ที่จัดสรรให้หน่วยบริการดำเนินการดูแลในพื้นที่ หากมีจำนวนเป้าหมายเหลือสามารถปรับเกลี่ยได้ภายในเขตหรือระดับประเทศ

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน แบ่งเป็น 2 ระดับ ดังนี้

  1. จ่ายแบบเหมาจ่ายให้หน่วยบริการที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการพี่เลี้ยงตามจำนวนผู้ป่วยจิตเวชเป้าหมายที่ได้รับการลงทะเบียนในเครือข่ายของหน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิที่อยู่ในเครือข่ายความรับผิดชอบของหน่วยบริการที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยงในพื้นที่หรือชุมชนนั้น
  2. จ่ายแบบเหมาจ่ายให้หน่วยบริการประจำที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในพื้นที่หรือชุมชนนั้นตามจำนวนผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการลงทะเบียน ภายใต้จำนวนเป้าหมายที่ได้รับการจัดสรร

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่าย เป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564

การกำกับ ติดตาม ประเมินผล

  1. การจัดสรรผู้ป่วยเป้าหมายของ สปสช.เขต
  2. ผลการดำเนินงาน ดังนี้
    • 2.1 จำนวนผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเป้าหมายเข้าถึงบริการ
    • 2.2 อัตราผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาซ้ำจากอาการกำเริบ (Relapse) ในโรงพยาบาล (Readmission rate) ลดลง
    • 2.3 อัตราผู้ป่วยที่มีผลการประเมินสภาวะสุขภาพ 10 ด้าน ดีขึ้น
Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
100 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Previous post บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
Next post การบริหารค่าใช้จ่ายบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง