กองทุนประกันสังคมนั้นสามารถแบ่งผู้ประกันตนออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. พนักงานเอกชนทั่วไป (มาตรา 33) เงื่อนไขคือ
    • เป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่สถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
    • มีอายุ ตั้งแต่ 15-60 ปีบริบูรณ์
    • โดยจะต้องสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือนตามสัดส่วนดังนี้ ลูกจ้าง 5% + นายจ้าง 5% + รัฐบาล 2.75% ของฐานเงินเดือนลูกจ้างและจะต้องไม่ต่ำกว่า 1,650 บาทและไม่สูงกว่า 15,000 บาทต่อเดือน
    • ได้รับสิทธิคุ้มครองทั้งสิ้น 7 กรณี ได้แก่
      • 1.1 กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
        • เงื่อนไขการใช้สิทธิ ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ≥ 3 เดือน
        • สิทธิประโยชน์
          • เจ็บป่วย/อุบัติเหตุ = เข้ารักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ยกเว้น 13 กลุ่มโรค ตาม link นี้ (https://bit.ly/2vEGD6b) ในกรณีที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นและได้สำรองจ่ายไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมได้ในอัตราดังต่อไปนี้
          • เข้ารักษาที่โรงพยาบาลของรัฐ = การรักษาทั้งอุบัติเหตุ/เจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งและเบิกได้ตามที่จ่ายจริงตามความจำเป็นทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แต่ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ ≤ 700 บาทต่อวัน
          • เข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชน = ผู้ป่วยนอกเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ≤ 1,000 บาท, ผู้ป่วยในกรณีไม่ใช่ ICU เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ≤ 2,000 บาท และค่าห้องค่าอาหาร ≤ 700 บาทต่อวัน ค่าห้องกรณีรักษาในห้อง ICU เบิกได้ ≤ 4,500 บาทต่อวัน กรณีต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ ≤ 8,000-16,000 บาทต่อครั้งตามระยะเวลาผ่าตัด
          • กรณีทันตกรรม = เข้ารับการบริการที่สถานพยาบาลที่ตกลงไว้กับสำนักงานประกันสังคม และเบิกค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง ≤ 900 บาทต่อปี.
      • 1.2 กรณีคลอดบุตร
        • เงื่อนไขการใช้สิทธิ ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ≥ 15 เดือน
        • สิทธิประโยชน์
          • สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง
          • ผู้ประกันตนหญิงได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดจ่ายเพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน (เฉพาะบุตรคนที่ 1 และ 2)
          • กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
      • 1.3 กรณีทุพพลภาพ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2OIT8Iu
        • เงื่อนไขการใช้สิทธิ ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ≥ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนทุพพลภาพ
        • สิทธิประโยชน์
          • ได้รับเงินทดแทนรายได้ = กรณีทุพพลภาพรุนแรงได้รับอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือนตลอดชีวิต กรณีทุพพลภาพไม่รุนแรงได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศฯกำหนด 
      • 1.4 กรณีเสียชีวิต อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2ODCIky
        • เงื่อนไขการใช้สิทธิ ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ≥ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนเสียชีวิตและต้องไม่ใช่สาเหตุจากการทำงาน
        • สิทธิประโยชน์
          • ค่าทำศพ 40,000 บาทโดยจ่ายให้กับผู้จัดการศ
          • เงินสงเคราะห์ = กองทุนประกันสังคมจะจ่ายให้แก่บุคคลที่มีชื่อระบุอยู่ในหนังสือระบุให้เป็นผู้รับเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต หากไม่มีหนังสือระบุไว้ต้องนำมาเฉลี่ยให้ บิดามารดา หรือ สามีหรือภรรยา หรือบุตร ในจำนวนที่เท่ากันตามรายละเอียดใน link ด้านล่าง 
      • 1.5 กรณีสงเคราะห์บุตร อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2FJEwnf
        • เงื่อนไขการใช้สิทธิ
          • ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ≥ 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ทดแทน
          • ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น
          • เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
        • สิทธิประโยชน์
          • ได้รับเงินค่าสงเคราะห์บุตร ≤ 600 บาทต่อบุตร 1 คน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
      • 1.6 กรณีชราภาพ อ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2sXFTqF
        • เงื่อนไขการใช้สิทธิกรณีบำนาญชราภาพ
          • ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ≥ 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดกันหรือไม่ก็ตาม
          • ผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
        • สิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพ
          • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า180 เดือน ได้รังเงินบำนาญเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉ,ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
          • กรณีจ่ายเงินสมทบ เกิน 180 เดือน จะได้รับการปรับเพิ่มบำนาญชราภาพอีกร้อยละ 1.5 สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนทุกๆ 12 เดือนที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน
        • เงื่อนไขการใช้สิทธิกรณีบำเหน็จชราภาพ
          • จ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ไม่ครบ 180 เดือน
          • ผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตายและความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
        • สิทธิประโยชน์บำเหน็จชราภาพ
          • กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบ ≤ 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ
          • กรณีจ่ายเงินสมทบ > 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ
          • กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับตั้งแต่ได้สิทธิบำนาญชราภาพจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย 
      • 1.7 กรณีว่างงาน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/2FBUjBP
        • เงื่อนไขการใช้สิทธิ
          • ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ≥ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย หรือกรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
          • มีระยะเวลาว่างงาน ≥ 8 วัน
          • ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th/) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันว่างงาน
          • รายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th/) ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
          • ไม่ปฏิเสธการฝึกงานและพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้
          • ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างอันเนื่องมาจากทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือทำผิดกฎหมายกรณีร้ายแรงหรือละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควรหรือได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาหรือไม่ใช่ผู้ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
        • สิทธิประโยชน์
          • กรณีถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย (ในช่วงระหว่าง 1,650-15,000 บาทต่อเดือน)
          • กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามสัญญาจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย (ในช่วงระหว่าง 1,650-15,000 บาทต่อเดือน)
          • กรณีว่างงานเพราะถูกเลิกจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน
          • กรณีว่างงานเพราะลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 90 วัน

  2. ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39)
    • เงื่อนไข
      • เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ≥ 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน
      • ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
      • ผู้ประกันตนต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน
    • สิทธิประโยชน์
      • ได้รับสิทธิประโยชน์ 6 กรณี (เจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, ตาย, สงเคราะห์บุตร, และชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
        .
  3. ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 40)
    • เงื่อนไข
      • สัญชาติไทย
      • มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบุูรณ์
      • ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39
      • อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/2NHvCsF
    • สิทธิประโยชน์
      • ผู้ประกันตนจ่ายเอง 70 บาทต่อเดือน รัฐจ่าย 30 บาทต่อเดือน รวมจ่าย 100 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครอง 3 กรณี คือ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต
      • ผู้ประกันตนจ่ายเอง 100 บาทต่อเดือน รัฐจ่าย 50 บาทต่อเดือน รวมจ่าย 150 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี คือ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, ชราภาพ
      • ผู้ประกันตนจ่ายเอง 300 บาทต่อเดือน รัฐจ่าย 150 บาทต่อเดือน รวมจ่าย 450 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครอง 5 กรณี คือ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, ชราภาพ
        , สงเคราะห์บุตร
      • อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2C3d6Gy

ถ้าใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมเลยครับ https://www.sso.go.th/wpr/main

Cr. https://www.facebook.com/ShareOurLifestories/