1. ผู้ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามนโยบาย 
    • เป็นผู้มีสิทธิประกันสุขภาพในการดูแลของ 3 กองทุน คือ สปสช. ,สำนักงานประกันสังคม, กรมบัญชีกลาง (ในอนาคตต้องเข้าทุกกองทุน ตามมติครม.)
    • เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ ที่อยู่ใกล้ และเป็นโรงพยาบาลนอกคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ
    • เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ กพฉ. กำหนดประกาศ และ รายละเอียดเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ สพฉ.ได้จัดทำไว้
    • กรณีเข้ารับการรักษาในรพ.ของรัฐหรือรพ.เอกชนที่ป็นคู่สัญญากับกองทุนหลักประกันสุขภาพ ทั้ง 3แห่งนี้ก็ให้ใช้ระบบปกติของกองทุนนั้นๆ
  2. ขั้นตอนการปฏิบัติ
    1. รพ. เอกชนคัดแยกผู้ป่วยตามแนวทางที่ สพฉ.กำหนด(Preauthorization)ในกรณีมีปัญหาในการคัดแยกให้ปรึกษาศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ของ สพฉ.ได้ตลอด 24 ชั่วโมง (02-8721669) 
    2. เมื่อ รพ.ใดพบมีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามนโยบายฯ ให้แจ้งศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต เพื่อแจ้งต่อให้กองทุนเจ้าของสิทธิทราบโดยเร็ว เพื่อเตรียมการรับย้ายผู้ป่วยกลับ 
    3. รพ. ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยจนจำหน่าย หรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่นได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานวิชาชีพ
    4. รพ. จะได้รับชดเชยค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานับตั้งแต่รับผู้ป่วยจนถึง 72 ชั่วโมง ในอัตราที่ สพฉ. กำหนดประกาศอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Fee schedule)
    5. ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นหลัง 72 ชั่วโมง นับตั้งแต่รับผู้ป่วย ให้โรงพยาบาลเรียกเก็บไปที่กองทุนเจ้าของสิทธิ ในอัตราปกติหรือตามข้อตกลงระหว่าง โรงพยาบาลกับกองทุนเจ้าของสิทธิ
    6. โรงพยาบาลเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง ไปที่ สปสช.  (Data clearing house) ตามแนวทางการเรียกเก็บที่ สปสช.กำหนด
    7. สปสช.ตรวจสอบความถูกต้อง และสรุปค่าใช้จ่ายแจ้งให้กองทุนเจ้าของสิทธิทราบภายใน 30 วัน นับจากได้รับเอกสารครบถ้วน
    8. กองทุนเจ้าของสิทธิ จ่ายค่ารักษาพยาบาลในอัตราที่ สพฉ. กำหนดประกาศอัตราค่าบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Fee schedule) ให้แก่โรงพยาบาลภายใน 15 วัน
    9. ในกรณีที่มีการส่งต่อผู้ป่วยจาก รพ.เอกชนแห่งที่หนึ่งไป รพ.เอกชนแห่งที่สอง ภายในเวลาก่อนครบ 72 ชั่วโมง นับตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ รพ.เอกชนแห่งที่หนึ่ง  รพ.เอกชนแห่งที่สองจะได้รับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยจนครบ 72 ชั่วโมง (โดยนับเวลาต่อเนื่องจาก รพ.เอกชนแห่งที่หนึ่งรับ) ในอัตราที่ สพฉ.กำหนด จากกองทุนเจ้าของสิทธิผู้ป่วย โดยให้เรียกเก็บตามข้อ 6 เว้นแต่
      1. • กรณี รพ.เอกชนคู่สัญญาของสำนักงานประกันสังคม รับย้ายผู้ป่วยในสังกัดของตนให้ปฏิบัติตามระบบของสำนักงานประกันสังคม
      2. • กรณี รพ.เอกชนคู่สัญญาของ สปสช.รับย้ายผู้ป่วยที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนให้ปฏิบัติตามระบบของ สปสช.
      3. • ในอนาคตหาก รพ.เอกชนใด มีข้อตกลงเป็นการเฉพาะกับกองทุนใดให้ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น
    10. ในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถย้ายโรงพยาบาลได้ แต่ปฏิเสธไม่ขอย้าย ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อไปเอง

หมายเหตุ  

แนวทางนี้กำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการและลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตโดยเป็นไปตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ”  เท่านั้นไม่สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาของโรงพยาบาลและบุคลากรการแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้

แนวทางรับย้ายกลับ รพ. รัฐ

  • สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและประกันสังคม --- ตามระบบกองทุน
  • รพ.รัฐทุกแห่ง รับย้ายผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและประกันสังคมที่ขึ้นทะเบียนกับรพ. 
  • สิทธิข้าราชการในหน่วยงานที่มีรพ.ในสังกัด
  • กรณีรักษาที่รพ.เอกชนในจังหวัดที่ตั้งของรพ.ในสังกัดของหน่วยงาน --- ย้ายไปรพ.ในสังกัดของหน่วยงานนั้น 
  • กรณีรักษาที่รพ.เอกชนนอกจังหวัดที่ตั้งของรพ.ในสังกัดของหน่วยงาน --- ย้ายไปรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  • สิทธิข้าราชการในหน่วยงานที่ไม่มีรพ.ในสังกัด
  • กรณีรักษาที่รพ.เอกชนในต่างจังหวัด --- ย้ายกลับรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  • กรณีรักษาที่รพ.เอกชนในกทม. ---- ย้ายกลับรพ.รัฐตามคิวที่กำหนด

กลุ่มที่ 1 รพ.รัฐขนาดใหญ่ในกทม.ที่สามารถรับผู้ป่วยได้ทุกสาขา 15 แห่ง

กลุ่มที่ 2 รพ.รัฐใน กทม.ที่รับผู้ป่วยเฉพาะด้าน 6 แห่ง

กลุ่มที่ 3 รพท.ใน เขตปริมณฑล 7 แห่ง